น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน เนื่องจากราคากลุ่มอาหารสดและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.70 รวมทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.67 ส่วนแนวโน้มครึ่งหลังปีน่าจะเร่งตัวสูงขึ้น จากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปีนี้ลง จากเดิมคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.2 ลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบปีนี้น่าจะอยู่ระหว่าง 45 - 55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 50 - 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 34 - 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยยังคงประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้เช่นเดิมที่ร้อยละ 3-4
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อขณะนี้อยู่ระดับต่ำและติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน ไม่ได้เป็นปัญหาที่น่ากังวล เพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูงจากปัญหาภัยแล้ง แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
ส่วนปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.ก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบ เชื่อว่าไม่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ แต่ต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิตมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปีนี้ลง จากเดิมคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.2 ลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบปีนี้น่าจะอยู่ระหว่าง 45 - 55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 50 - 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 34 - 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยยังคงประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้เช่นเดิมที่ร้อยละ 3-4
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อขณะนี้อยู่ระดับต่ำและติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน ไม่ได้เป็นปัญหาที่น่ากังวล เพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูงจากปัญหาภัยแล้ง แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
ส่วนปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.ก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบ เชื่อว่าไม่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ แต่ต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิตมากน้อยแค่ไหน