นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน พ.ค.2560 อยู่ที่ระดับ 115.02 สูงสุดในรอบ 14 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.36% ส่งผลให้ดัชนีเอ็มพีไอ 5 เดือนแรกของปี 2560 ขยายตัว 0.15% สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำแท่งที่มีการขยายตัว 17.6% รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัว 15.6% และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่ไม่รวมทองคำแท่งที่ขยายตัว 21.5%
สำหรับอัตราการใช้กำลังผลิตขยายตัว 62.12% โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัว 9.17% จากการเติบโตของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.5% เนื่องจากมีการผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำยางที่เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และเป็นผลมาจากการเพิ่มทุนและขยายการผลิตของกลุ่ม ผู้ผลิตยางพารา เนื้อไก่แช่แข็ง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10.49% ด้านน้ำมันปิโตรเลียมขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.13% เนื่องจากปีที่ผ่านมาโรงกลั่นมีการหยุด เพื่อซ่อมบำรุงทั้งโรงกลั่นมากกว่าปีนี้ ทำให้ปีนี้มีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเบนซินค่าออกเทน 91 ไร้สารตะกั่ว และน้ำมันเตาชนิดที่ 5 นอกจากนี้น้ำมันพืชยังขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.05% เนื่องจากปีนี้ฝนชุกทำให้น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดภาวะภัยแล้ง
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลง 17.15% เครื่องประดับลดลง 36.53% และน้ำดื่มลดลง 14.50%
ทั้งนี้ สศอ.ประเมินทิศทางอุตสาหกรรมช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 พบว่ามี 2 อุตสาหกรรมที่จะเป็นดาวเด่น คือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพราะผู้ผลิตหลายราย เช่น ซัมซุง ตัดสินใจให้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายทั้งเอเชียและภูมิภาคอื่นมากขึ้น อีกอุตสาหกรรมคืออาหาร เพราะได้อานิสงส์จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังจากหลายประเทศเกิดปัญหาไข้หวัดนก
สำหรับอัตราการใช้กำลังผลิตขยายตัว 62.12% โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัว 9.17% จากการเติบโตของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.5% เนื่องจากมีการผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำยางที่เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และเป็นผลมาจากการเพิ่มทุนและขยายการผลิตของกลุ่ม ผู้ผลิตยางพารา เนื้อไก่แช่แข็ง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10.49% ด้านน้ำมันปิโตรเลียมขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.13% เนื่องจากปีที่ผ่านมาโรงกลั่นมีการหยุด เพื่อซ่อมบำรุงทั้งโรงกลั่นมากกว่าปีนี้ ทำให้ปีนี้มีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเบนซินค่าออกเทน 91 ไร้สารตะกั่ว และน้ำมันเตาชนิดที่ 5 นอกจากนี้น้ำมันพืชยังขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.05% เนื่องจากปีนี้ฝนชุกทำให้น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดภาวะภัยแล้ง
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลง 17.15% เครื่องประดับลดลง 36.53% และน้ำดื่มลดลง 14.50%
ทั้งนี้ สศอ.ประเมินทิศทางอุตสาหกรรมช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 พบว่ามี 2 อุตสาหกรรมที่จะเป็นดาวเด่น คือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพราะผู้ผลิตหลายราย เช่น ซัมซุง ตัดสินใจให้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายทั้งเอเชียและภูมิภาคอื่นมากขึ้น อีกอุตสาหกรรมคืออาหาร เพราะได้อานิสงส์จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังจากหลายประเทศเกิดปัญหาไข้หวัดนก