นายพิชิต อัตราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับผู้แทนจากหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมเจ้าของเรือไทย และกรมเจ้าท่า เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาพาณิชยนาวี และการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยเฉพาะประเด็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ท่าเรือ B1, B3 และ B4 ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะครบสัญญาในปี 2563 ว่า ที่ประชุมโดยกระทรวงคมนาคม และภาคเอกชน เห็นตรงกันว่าควรจะเปิดประมูลหาผู้ดำเนินการรายใหม่เข้ามาบริหารจัดการท่าเรือทั้ง 3 จุด ก่อนอายุสัมปทานจะครบกำหนด 1 ปีหรือได้ผู้รับสัมปทานรายใหม่ก่อนปี 2563 เพื่อไม่ให้การดำเนินงานระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กับภาคเอกชนผู้ใช้บริการรับ-ขนส่งสินค้า ต้องติดขัดเพราะผู้ดำเนินการรายใหม่ ซึ่ง กทท. จะต้องจัดทำแนวทางการสรรหาผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาบริหารจัดการภายในท่าเรือที่จะหมดอายุสัมปทานกับรายเดิม โดยให้กลับมานำเสนอภายในสัปดาห์หน้า สำหรับรูปแบบการเปิดประมูล อาจจะมีการปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
นอกจากนี้ เอกชนยังได้มีการสอบถามความคืบหน้าการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่งทะเล ภายในท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากในอนาคตมีความต้องการใช้บริการบริเวณท่าเทียบเรือชายฝั่งในปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้ กทท. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือหากยังไม่เพียงพอ กทท. ได้เปิดให้ใช้ท่าเทียบเรือ A0 เพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เกินมาได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าบริการตู้สินค้าที่ปัจจุบันเรียกเก็บประมาณ 1,555 บาทต่อตู้ ซึ่งจะผลกระทบต่อนโยบายการขนส่งสินค้าของกระทรวงคมนาคมจากที่ต้องการผลักดันให้มีการขนส่งสินค้าทางเรือมากกว่ารถบรรทุกสินค้า จึงได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาแผนส่งเสริมการขนส่งสินค้าบริเวณท่าเทียบเรือชายฝั่งทะเล เนื่องจากการศึกษาพบว่ามีความต้องการใช้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง จะเพิ่มขึ้นถึง 400,000 ตู้ต่อปี ซึ่งจากปัจจุบันความต้องการยังไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ เอกชนยังได้มีการสอบถามความคืบหน้าการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่งทะเล ภายในท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากในอนาคตมีความต้องการใช้บริการบริเวณท่าเทียบเรือชายฝั่งในปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้ กทท. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือหากยังไม่เพียงพอ กทท. ได้เปิดให้ใช้ท่าเทียบเรือ A0 เพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เกินมาได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าบริการตู้สินค้าที่ปัจจุบันเรียกเก็บประมาณ 1,555 บาทต่อตู้ ซึ่งจะผลกระทบต่อนโยบายการขนส่งสินค้าของกระทรวงคมนาคมจากที่ต้องการผลักดันให้มีการขนส่งสินค้าทางเรือมากกว่ารถบรรทุกสินค้า จึงได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาแผนส่งเสริมการขนส่งสินค้าบริเวณท่าเทียบเรือชายฝั่งทะเล เนื่องจากการศึกษาพบว่ามีความต้องการใช้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง จะเพิ่มขึ้นถึง 400,000 ตู้ต่อปี ซึ่งจากปัจจุบันความต้องการยังไม่เพียงพอ