นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่ แห่งประเทศไทย นำกลุ่มผู้เสียหายที่ถูกหลอกให้ร่วมลงทุนซื้อ-ขายคอร์สสัมมนา ที่มีผลตอบแทนสูง นำเอกสารของผู้เสียหายเพิ่มเติมจำนวน 800 คน เอกสารจำนวน 8 ลัง และเอกสารผู้เสียหายชาวลาวที่ถูกหลอกจากแชร์หม่อนไหม จำนวน 480 คน ผู้กระทำความผิดเป็นกลุ่มเดียวกันและมีผู้เสียหายในประเทศเพื่อนบ้าน มามอบให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขออนุมัติเป็นคดีพิเศษ ซึ่งเป็นการเข้าร้องกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นครั้งที่ 2 หลังจากยื่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา และขอให้รับเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากมีผู้เสียหายกว่า 40,000 คนทั่วประเทศ มูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ พ.ต.ท.อานนท์ อุนทริจันทร์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 1 ดีเอสไอ เป็นผู้รับเอกสาร และชี้แจงความคืบหน้าคดี ระบุว่า กรณีแชร์หลอกลงทุนคอร์สสัมมนา ดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนของการส่งเรื่องให้อธิบดีดีเอสไอพิจารณา ว่าจะเข้าหลักเกณฑ์รับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เบื้องต้นพบข้อมูลมีผู้เสียหาย 700 ราย ใน 44 จังหวัด จากการประเมินคาดว่าจะมีผู้เสียหายทั้งหมด 1,200 ราย พฤติการณ์ความผิดมีลักษณะแชร์ลูกโซ่ และคณะทำงานของดีเอสไอเชื่อว่าน่าจะสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้
ส่วนแชร์หม่อนไหม หรือแชร์คูน้ำลำชี เป็นการหลอกให้ไปลงทุนปลูกหม่อนทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสืบสวน เพราะมีการแจ้งผู้เสียหายประมาณ 1,000 ราย แต่มีข้อมูลเพียง 200 ราย ความเสียหายที่แจ้งมาประมาณ 100 ล้านบาท แต่การตรวจสอบจริงพบเพียง 37 ล้านบาท กรณีนี้มีปัญหาเรื่องการแจ้งความเสียหายไม่ตรงกับความจริง มากเกินจริง และไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ขอให้ผู้เสียหาย แจ้งความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ส่วนคดีที่มีแนวโน้มจะเป็นคดีพิเศษขอให้แจ้งครอบคลุมถึงผู้กระทำผิดด้วย เพื่อสามารถดำเนินคดีได้และติดตามทรัพย์สินได้ทันที
ทางด้านนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ครั้งนี้มาติดตามความคืบหน้าของคดี โดยได้รวบรวมหลักฐานจากผู้เสียหายและเป็นหลักฐานใหม่มาส่งมอบให้กับดีเอสไอเพิ่มเติม และยังคงมีผู้เสียหายส่งเอกสารมาให้อย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าหลักฐานหนาแน่นพอที่จะให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ และดำเนินการเอาผิดกับขบวนการนี้
ทั้งนี้ พ.ต.ท.อานนท์ อุนทริจันทร์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 1 ดีเอสไอ เป็นผู้รับเอกสาร และชี้แจงความคืบหน้าคดี ระบุว่า กรณีแชร์หลอกลงทุนคอร์สสัมมนา ดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนของการส่งเรื่องให้อธิบดีดีเอสไอพิจารณา ว่าจะเข้าหลักเกณฑ์รับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เบื้องต้นพบข้อมูลมีผู้เสียหาย 700 ราย ใน 44 จังหวัด จากการประเมินคาดว่าจะมีผู้เสียหายทั้งหมด 1,200 ราย พฤติการณ์ความผิดมีลักษณะแชร์ลูกโซ่ และคณะทำงานของดีเอสไอเชื่อว่าน่าจะสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้
ส่วนแชร์หม่อนไหม หรือแชร์คูน้ำลำชี เป็นการหลอกให้ไปลงทุนปลูกหม่อนทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสืบสวน เพราะมีการแจ้งผู้เสียหายประมาณ 1,000 ราย แต่มีข้อมูลเพียง 200 ราย ความเสียหายที่แจ้งมาประมาณ 100 ล้านบาท แต่การตรวจสอบจริงพบเพียง 37 ล้านบาท กรณีนี้มีปัญหาเรื่องการแจ้งความเสียหายไม่ตรงกับความจริง มากเกินจริง และไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ขอให้ผู้เสียหาย แจ้งความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ส่วนคดีที่มีแนวโน้มจะเป็นคดีพิเศษขอให้แจ้งครอบคลุมถึงผู้กระทำผิดด้วย เพื่อสามารถดำเนินคดีได้และติดตามทรัพย์สินได้ทันที
ทางด้านนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ครั้งนี้มาติดตามความคืบหน้าของคดี โดยได้รวบรวมหลักฐานจากผู้เสียหายและเป็นหลักฐานใหม่มาส่งมอบให้กับดีเอสไอเพิ่มเติม และยังคงมีผู้เสียหายส่งเอกสารมาให้อย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าหลักฐานหนาแน่นพอที่จะให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ และดำเนินการเอาผิดกับขบวนการนี้