พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนติดตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยประจำปีงบประมาณ 2560 โดยมีว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศร่วมประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวก่อนการประชุมว่า วันนี้ (2มิ.ย.) จะทำความเข้าใจและหารือวิธีการที่ทำแล้วจะได้ข้อมูลที่สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง กรณีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อ 4 คำถามของนายกรัฐมนตรีว่า จะใช้ช่องทางใด โดยเบื้องต้นมองว่าจะให้ประชาชนให้ข้อมูลกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด อำเภอ และตำบลโดยตรง พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงตัวก่อนให้ข้อมูล เพื่อยืนยันตัวบุคคล และข้อมูลที่ได้จะไม่ผิดเพี้ยน เพราะหากใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอาจจะเกิดการสวมสิทธิ์กันได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและกรุงเทพมหานครส่งให้นายกรัฐมนตรีทุกๆ 10วัน คาดว่าจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ ในการทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน ก่อนเริ่มการรับฟังความเห็นจากประชาชนและจะไม่ชี้นำประชาชน
ส่วนกรณีที่มีข้อห่วงใยเรื่องการใช้กลไกศูนย์ดำรงธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เจตนาของนายกรัฐมนตรีคือต้องการทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน ไม่ใช่โพลหรืออะไร แต่หากจะตีความว่าเป็นเรื่องการเมืองก็ห้ามไม่ได้ เพราะคำถามเป็นเรื่องของการเลือกตั้ง แต่จะบังคับให้ใครไปเขียนไม่ได้ ประชาชนมีความเห็นอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสิ่งหนึ่งคือต้องการให้ประชาชนตระหนักถึงการเลือกตั้งว่าจะได้คนอย่างไร เพราะการเลือกตั้งจะส่งผลต่อการใช้อำนาจรัฐ หรือประเทศไทยจะไปทางไหนก็ได้
พล.อ.อนุพงษ์ ยืนยันว่า ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย คงไม่สามารถสั่งศูนย์ดำรงธรรมให้จัดทำข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่หากให้สั่งว่าให้ดำเนินการภายในระยะเวลาอย่างไรสามารถทำได้ การดำเนินการคงไม่ใช่การจัดตั้ง จึงขอให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยตัวเองแสดงบัตรประชาชน และขอสื่อช่วยพูดในทางสร้างสรรค์ด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวก่อนการประชุมว่า วันนี้ (2มิ.ย.) จะทำความเข้าใจและหารือวิธีการที่ทำแล้วจะได้ข้อมูลที่สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง กรณีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อ 4 คำถามของนายกรัฐมนตรีว่า จะใช้ช่องทางใด โดยเบื้องต้นมองว่าจะให้ประชาชนให้ข้อมูลกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด อำเภอ และตำบลโดยตรง พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงตัวก่อนให้ข้อมูล เพื่อยืนยันตัวบุคคล และข้อมูลที่ได้จะไม่ผิดเพี้ยน เพราะหากใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอาจจะเกิดการสวมสิทธิ์กันได้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและกรุงเทพมหานครส่งให้นายกรัฐมนตรีทุกๆ 10วัน คาดว่าจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ ในการทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน ก่อนเริ่มการรับฟังความเห็นจากประชาชนและจะไม่ชี้นำประชาชน
ส่วนกรณีที่มีข้อห่วงใยเรื่องการใช้กลไกศูนย์ดำรงธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เจตนาของนายกรัฐมนตรีคือต้องการทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน ไม่ใช่โพลหรืออะไร แต่หากจะตีความว่าเป็นเรื่องการเมืองก็ห้ามไม่ได้ เพราะคำถามเป็นเรื่องของการเลือกตั้ง แต่จะบังคับให้ใครไปเขียนไม่ได้ ประชาชนมีความเห็นอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสิ่งหนึ่งคือต้องการให้ประชาชนตระหนักถึงการเลือกตั้งว่าจะได้คนอย่างไร เพราะการเลือกตั้งจะส่งผลต่อการใช้อำนาจรัฐ หรือประเทศไทยจะไปทางไหนก็ได้
พล.อ.อนุพงษ์ ยืนยันว่า ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย คงไม่สามารถสั่งศูนย์ดำรงธรรมให้จัดทำข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่หากให้สั่งว่าให้ดำเนินการภายในระยะเวลาอย่างไรสามารถทำได้ การดำเนินการคงไม่ใช่การจัดตั้ง จึงขอให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยตัวเองแสดงบัตรประชาชน และขอสื่อช่วยพูดในทางสร้างสรรค์ด้วย