** เป็นไปตามคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เคยระบุล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ทึ่ผ่านมา ว่าจะงดให้สัมภาษณ์ระยะหนึ่ง หลังจากที่ตั้ง 4 คำถามให้ประชาชนตอบจนเกิดเสียงวิจารณ์ตามมามากมาย โดยเฉพาะจากพวกนักการเมืองในพรรคการเมืองต่างๆโดยกล่าวสรุปในทำนองเดียวกันว่า เขามีเจตนาเพื่อ "สืบทอดอำนาจ" หรือต้องการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อไป
ขณะเดียวกันหลายคนก็วิจารณ์ว่า คำถามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีเจตนา "โยนหินถามทาง" แบบหยั่งท่าที และความรู้สึกของชาวบ้านที่มีต่อพวกนักการเมืองที่จะมาเสนอหน้าลงสมัครรับเลือกตั้งตามโรดแมปที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกปีกว่าข้างหน้า ทางหนึ่งก็เหมือนกับการ "สะกิด" อารมณ์ความรู้สึกที่เคยมีแต่เดิมกับพวกคนเหล่านั้น โดยอาจต้องการให้ย้อนกลับไปคิดถึงพฤติกรรมเก่า ว่าโดยรวมๆแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณา 4 คำถามดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
1. ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
2. หากไม่ได้ จะทำอย่างไร
3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ และเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์ และการปฏิรูปหรือไม่นั้น ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง และ
4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีก เกิดปัญหาซ้ำอีก แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร
โดยให้ส่งคำตอบ และความคิดเห็น มาทางศูนย์ดำรงธรรมในทุกจังหวัด แล้วให้กระทรวงมหาดไทย รวบรวมส่งมาที่ส่วนกลาง
ที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงวิจารณ์แบบตอบโต้รุนแรงจากฝั่งนักการเมืองที่รวมหัวมาแบบรวมการเฉพาะกิจ จวก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันอย่างรุนแรงในแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นปรากฎการณ์แบบนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา
แต่ขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์กันถึงเจตนาในการตั้งคำถามครั้งนี้ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าน่าจะต้องการ"สะกิดความรู้สึก" ของชาวบ้านที่เคยมีต่อพวกนักการเมืองให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งก็น่าให้รับรู้ความหมายในทางลบ ซึ่งทั้ง 4 คำถาม มันก็ไม่ต่างจาก "คำถามลูกโซ่" ที่เรียงร้อยต่อเนื่องกันไป แต่อีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังของคนพูด คือ พล.อ.ประยุทธ์ และการ "รับลูก" แบบ "เอาจริง" เหมือนกันของบรรดาเครือข่ายหรือ "ลูกหาบ" โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ที่ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายตามความต้องการของผู้นำ
เริ่มจาก กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่สั่งการอย่างฉับไวไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่งต่อไปถึงนายอำเภอ ให้เตรียมรับคำตอบและความเห็นของชาวบ้านทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมมาที่ส่วนกลางในลำดับต่อไป
จากนั้นก็เป็นแอ็กชั่นของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่นัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ 2 มิถุนายน เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการรวบรวมคำถาม และความคิดเห็นของชาวบ้าน ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวที่เห็น มันก็ต้องบอกว่างานนี้ "ไม่ใช่เล่นๆ" แน่นอน
เพราะหากพิจารณาคำถาม 4 ข้อ ที่เริ่มจากคำถามที่ว่าคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ หากผลออกมาว่า "ไม่" ล่ะ ต้องทำอย่างไร จะเลือกตั้งหรือไม่ หรือเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ข้ามไปข้อ 3 ที่ถามว่า การเลือกตั้งแบบที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ (ได้นักการเมืองเลว) เข้ามานั้น ถูกต้องหรือไม่ และ สุดท้ายข้อ 4 หากพวกนักการเมืองเลวเข้ามาอีก และยังเลวแบบเดิมอีก จะทำไง และให้ใครแก้ไข (ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ) แก้ไขอีกหรือไม่
**ดังนั้น ความหมายของคำถามข้างต้นมันจึงไม่ต่างจากการทำโพลหยั่งกระแสความนิยมในตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยจะเป็นแบบที่เรียกว่าปลายเปิดปลายปิดไม่รู้ รู้แต่ว่าก่อนตอบคำถาม ได้สะกิดอารมณ์ความไม่ชอบของชาวบ้านที่มีต่อพวกนักการเมืองว่า ยังมีอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งนาทีนี้เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ น่าจะยังมั่นใจ จึงต้องการเช็กเรตติ้งกันแบบเป็นทางการในทั่วประเทศ ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในอีกราวปีเศษ อย่างน้อยก็เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนที่จะกำหนดอนาคตในวันข้างหน้า ว่าจะลงจากหลังเสือ หรือว่าจะควบไปต่อ ตามแรงยุของคนรอบข้างในเวลานี้ !!
ขณะเดียวกันหลายคนก็วิจารณ์ว่า คำถามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีเจตนา "โยนหินถามทาง" แบบหยั่งท่าที และความรู้สึกของชาวบ้านที่มีต่อพวกนักการเมืองที่จะมาเสนอหน้าลงสมัครรับเลือกตั้งตามโรดแมปที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกปีกว่าข้างหน้า ทางหนึ่งก็เหมือนกับการ "สะกิด" อารมณ์ความรู้สึกที่เคยมีแต่เดิมกับพวกคนเหล่านั้น โดยอาจต้องการให้ย้อนกลับไปคิดถึงพฤติกรรมเก่า ว่าโดยรวมๆแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณา 4 คำถามดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
1. ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
2. หากไม่ได้ จะทำอย่างไร
3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ และเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์ และการปฏิรูปหรือไม่นั้น ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง และ
4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีก เกิดปัญหาซ้ำอีก แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร
โดยให้ส่งคำตอบ และความคิดเห็น มาทางศูนย์ดำรงธรรมในทุกจังหวัด แล้วให้กระทรวงมหาดไทย รวบรวมส่งมาที่ส่วนกลาง
ที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงวิจารณ์แบบตอบโต้รุนแรงจากฝั่งนักการเมืองที่รวมหัวมาแบบรวมการเฉพาะกิจ จวก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันอย่างรุนแรงในแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นปรากฎการณ์แบบนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา
แต่ขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์กันถึงเจตนาในการตั้งคำถามครั้งนี้ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าน่าจะต้องการ"สะกิดความรู้สึก" ของชาวบ้านที่เคยมีต่อพวกนักการเมืองให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งก็น่าให้รับรู้ความหมายในทางลบ ซึ่งทั้ง 4 คำถาม มันก็ไม่ต่างจาก "คำถามลูกโซ่" ที่เรียงร้อยต่อเนื่องกันไป แต่อีกด้านหนึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังของคนพูด คือ พล.อ.ประยุทธ์ และการ "รับลูก" แบบ "เอาจริง" เหมือนกันของบรรดาเครือข่ายหรือ "ลูกหาบ" โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ที่ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายตามความต้องการของผู้นำ
เริ่มจาก กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่สั่งการอย่างฉับไวไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ส่งต่อไปถึงนายอำเภอ ให้เตรียมรับคำตอบและความเห็นของชาวบ้านทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมมาที่ส่วนกลางในลำดับต่อไป
จากนั้นก็เป็นแอ็กชั่นของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่นัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ 2 มิถุนายน เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการรวบรวมคำถาม และความคิดเห็นของชาวบ้าน ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวที่เห็น มันก็ต้องบอกว่างานนี้ "ไม่ใช่เล่นๆ" แน่นอน
เพราะหากพิจารณาคำถาม 4 ข้อ ที่เริ่มจากคำถามที่ว่าคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ หากผลออกมาว่า "ไม่" ล่ะ ต้องทำอย่างไร จะเลือกตั้งหรือไม่ หรือเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ข้ามไปข้อ 3 ที่ถามว่า การเลือกตั้งแบบที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ (ได้นักการเมืองเลว) เข้ามานั้น ถูกต้องหรือไม่ และ สุดท้ายข้อ 4 หากพวกนักการเมืองเลวเข้ามาอีก และยังเลวแบบเดิมอีก จะทำไง และให้ใครแก้ไข (ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ) แก้ไขอีกหรือไม่
**ดังนั้น ความหมายของคำถามข้างต้นมันจึงไม่ต่างจากการทำโพลหยั่งกระแสความนิยมในตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยจะเป็นแบบที่เรียกว่าปลายเปิดปลายปิดไม่รู้ รู้แต่ว่าก่อนตอบคำถาม ได้สะกิดอารมณ์ความไม่ชอบของชาวบ้านที่มีต่อพวกนักการเมืองว่า ยังมีอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งนาทีนี้เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ น่าจะยังมั่นใจ จึงต้องการเช็กเรตติ้งกันแบบเป็นทางการในทั่วประเทศ ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในอีกราวปีเศษ อย่างน้อยก็เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนที่จะกำหนดอนาคตในวันข้างหน้า ว่าจะลงจากหลังเสือ หรือว่าจะควบไปต่อ ตามแรงยุของคนรอบข้างในเวลานี้ !!