นายทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก นักวิชาการพระพุทธศาสนา กล่าวว่า เห็นด้วยกับหลักการข้อเสนอของ สนช.ว่าด้วยการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆ ราชให้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เช่นในอดีต ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ.2505 มาตรา7 ซึ่งในอดีตทำเช่นนี้มาโดยตลอด พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 คือ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งยังไม่เคยถูกนำมาใช้เลยจนถึงปัจจุบัน เพราะสมัยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก การแต่งตั้งก็ใช้ฉบับปีพ.ศ.2505 เพราะแต่งตั้งไปก่อนเปลี่ยนมาเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งการแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ครั้งนี้เป็นการยึดตามธรรมเนียมที่เคยปฎิบัติมา เชื่อว่าลดปัญหาได้ แต่รัฐคงไม่ได้ไปล้วงลูกในส่วนการบริหารอื่นๆ ของมหาเถรสมาคม
ส่วนถามว่าเป็นแผนสกัดสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือไม่ คงไม่สามารถตอบได้ แต่โอกาสของท่านยังมีอยู่เช่นเดิม
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หากมองตามหลักการแล้วถือว่า การแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ครั้งนี้ เป็นการคืนพระราชอำนาจให้กับพระมหา กษัตริย์ และรัฐมาถ่วงดุลกับคณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องเพราะความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทยที่ผ่านมากว่า 2,000 ปีนั้น เกิดจากความสัมพันธ์กัน 3 ส่วน คือ ประชาชน พระสงฆ์และรัฐ พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ อบรมสั่งสอนประชา ชนเรื่องศีลธรรม ประชาชนมีส่วนอุปภัมภ์พระสงฆ์ แต่หากพระสงฆ์ปฏิบัตินอกรีต ประชาชนมีสิทธิ์ช่วยตรวจสอบเพื่อขับออกจากคณะสงฆ์ไทย เพื่อคงความบริสุทธิ์ไว้ได้ หากคงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2535 คณะสงฆ์จะเติบโตอย่างเป็นเอกเทศ ปราศจากการตรวจสอบจากภาคประชาชน อาจทำให้สถาบันสงฆ์ไทยเสื่อมถอยลงได้ การแก้ไขครั้งนี้น่าจะเป็นสัญลักษณ์ว่า รัฐบาล ช่วยเข้ามาตรวจสอบคณะสงฆ์ และหากเป็นไปได้คืออยากเห็น ภาคประชาชนเข้ามาช่วยตรวจสอบคณะสงฆ์ในเชิงวัตถุด้วยจะทำให้พระพุทธศาสนาคงความบริสุทธิ์ เป็นการคัดกรองพระที่ปฏิบัติไม่ดีออกจากคณะสงฆ์ คงไว้แต่พระที่เคร่งในพระวินัย ในกรณีการเสนอกฎหมายของคณะสงฆ์ ที่ให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมแก้กฎหมายในต่างประเทศเคยมี คือประเทศไต้หวัน คณะสงฆ์ของไต้หวันแต่เดิม มี พ.ร.บ.คล้ายๆ คณะสงฆ์ไทย และภายใต้องค์กรของมหาเถรสมาคม ทำให้พระพุทธศาสนาในไต้หวันไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกองค์กรสงฆ์ไปคืนสู่ประชาชน ทำให้คณะสงฆ์เจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นส่วนในการอุปภัมถ์ค้ำจุน หรือคัดกรองพระสงฆ์ ตัวอย่างของคณะสงฆ์ในไต้หวัน ถือเป็นบทเรียนสำคัญ แต่ถ้าบริหารจากบนลงล่าง การนำระบบราชการไปใส่ในวงการสงฆ์มองว่าไม่สมควร
ส่วนถามว่าเป็นแผนสกัดสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือไม่ คงไม่สามารถตอบได้ แต่โอกาสของท่านยังมีอยู่เช่นเดิม
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หากมองตามหลักการแล้วถือว่า การแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ครั้งนี้ เป็นการคืนพระราชอำนาจให้กับพระมหา กษัตริย์ และรัฐมาถ่วงดุลกับคณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องเพราะความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทยที่ผ่านมากว่า 2,000 ปีนั้น เกิดจากความสัมพันธ์กัน 3 ส่วน คือ ประชาชน พระสงฆ์และรัฐ พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ อบรมสั่งสอนประชา ชนเรื่องศีลธรรม ประชาชนมีส่วนอุปภัมภ์พระสงฆ์ แต่หากพระสงฆ์ปฏิบัตินอกรีต ประชาชนมีสิทธิ์ช่วยตรวจสอบเพื่อขับออกจากคณะสงฆ์ไทย เพื่อคงความบริสุทธิ์ไว้ได้ หากคงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2535 คณะสงฆ์จะเติบโตอย่างเป็นเอกเทศ ปราศจากการตรวจสอบจากภาคประชาชน อาจทำให้สถาบันสงฆ์ไทยเสื่อมถอยลงได้ การแก้ไขครั้งนี้น่าจะเป็นสัญลักษณ์ว่า รัฐบาล ช่วยเข้ามาตรวจสอบคณะสงฆ์ และหากเป็นไปได้คืออยากเห็น ภาคประชาชนเข้ามาช่วยตรวจสอบคณะสงฆ์ในเชิงวัตถุด้วยจะทำให้พระพุทธศาสนาคงความบริสุทธิ์ เป็นการคัดกรองพระที่ปฏิบัติไม่ดีออกจากคณะสงฆ์ คงไว้แต่พระที่เคร่งในพระวินัย ในกรณีการเสนอกฎหมายของคณะสงฆ์ ที่ให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมแก้กฎหมายในต่างประเทศเคยมี คือประเทศไต้หวัน คณะสงฆ์ของไต้หวันแต่เดิม มี พ.ร.บ.คล้ายๆ คณะสงฆ์ไทย และภายใต้องค์กรของมหาเถรสมาคม ทำให้พระพุทธศาสนาในไต้หวันไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกองค์กรสงฆ์ไปคืนสู่ประชาชน ทำให้คณะสงฆ์เจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นส่วนในการอุปภัมถ์ค้ำจุน หรือคัดกรองพระสงฆ์ ตัวอย่างของคณะสงฆ์ในไต้หวัน ถือเป็นบทเรียนสำคัญ แต่ถ้าบริหารจากบนลงล่าง การนำระบบราชการไปใส่ในวงการสงฆ์มองว่าไม่สมควร