นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (27 ธ.ค.) อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับใหม่ ช่วยให้กฎหมายล้มละลายไทยได้มาตรฐานสากลสอดคล้องกับมาตรฐานของสหประชาชาติ (UN) โดยกฎหมายนี้จะจัดทำให้แล้วเสร็จ และมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มิ.ย.ปีหน้า(2560) เพื่อให้ทันเพื่อเพิ่มคะแนนในช่วงการพิจารณา Ease of doing business ประเทศไทยเพื่อให้มีอันดับที่ดีขึ้น
ร่าง พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับใหม่ มีสารสำคัญใน 5 เรื่องคือ 1.กระบวนการพิจารณาฟื้นฟูกิจการสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับหลักการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) รองรับกับ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจปี 2558
2.ปรับปรุงมติเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูจากเดิมเห็นชอบ 3 ใน 4 เหลือ 2 ใน 3
3.เพิ่มเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าถึงข้อมูลลูกหนี้สถาบันการเงิน ที่สถาบันการเงินต้องร่วมมือในการสืบหาทรัพย์
4.เพิ่มหมวดการล้มละลายเกี่ยวกับต่างประเทศ สอดรับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหประชาชาติ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสืบหาทรัพย์ในต่างประเทศได้เป็นครั้งแรก ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 4 ในเอเชีย จากที่มีการดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้วในประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยมั่นใจจะนำหน้าสิงคโปร์ที่กำลังศึกษากฎหมายนี้อยู่เช่นกัน และ 5. การเพิ่มคุณสมบัติเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ให้มีความรู้ความสามารถดีขึ้นฝ่ายการฝึกอบรมที่เหมาะสม ผลตอบแทนที่เหมาะสม
ร่าง พ.ร.บ.ล้มละลายฉบับใหม่ มีสารสำคัญใน 5 เรื่องคือ 1.กระบวนการพิจารณาฟื้นฟูกิจการสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับหลักการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) รองรับกับ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจปี 2558
2.ปรับปรุงมติเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูจากเดิมเห็นชอบ 3 ใน 4 เหลือ 2 ใน 3
3.เพิ่มเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าถึงข้อมูลลูกหนี้สถาบันการเงิน ที่สถาบันการเงินต้องร่วมมือในการสืบหาทรัพย์
4.เพิ่มหมวดการล้มละลายเกี่ยวกับต่างประเทศ สอดรับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหประชาชาติ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสืบหาทรัพย์ในต่างประเทศได้เป็นครั้งแรก ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 4 ในเอเชีย จากที่มีการดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้วในประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยมั่นใจจะนำหน้าสิงคโปร์ที่กำลังศึกษากฎหมายนี้อยู่เช่นกัน และ 5. การเพิ่มคุณสมบัติเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ให้มีความรู้ความสามารถดีขึ้นฝ่ายการฝึกอบรมที่เหมาะสม ผลตอบแทนที่เหมาะสม