สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (9 ธ.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 10.5 ดอลลาร์ หรือ 0.90% ปิดที่ 1,161.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดสกุลเงินดอลลาร์เทียบกับสกุลเงินหลักๆในตะกร้าเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.51 แตะที่ 101.61 เมื่อคืนนี้ หลังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนธ.ค. แตะระดับ 98.0 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 94.5 รวมทั้งสูงกว่าระดับ 93.8 ในเดือนพ.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นพุ่งขึ้นในเดือนธ.ค. แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2015 ได้รับปัจจัยบวกจากชัยชนะของนายโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 8 พ.ย.
โดยปกติแล้ว ราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับดอลลาร์ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดอลลาร์จะส่งผลให้ทองคำมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
ทั้งนี้ เทรดเดอร์จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ ขณะที่ นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 98% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในปีนี้ และครั้งที่ 2 ในรอบเกือบ 10 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือ WTI ตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (9 ธ.ค.) เนื่องจากตลาดคาดว่า ประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะมีมติปรับลดกำลังการผลิตลงตามข้อตกลงของโอเปก ในการประชุมร่วมกันในสัปดาห์หน้า
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 51.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 44 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 54.33 ดอลลาร์/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในวงจำกัด เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ทำให้น้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองเงินสกุลอื่นๆ
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของบริษัทเบเกอร์ ฮิวส์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมัน ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เปิดดำเนินงานในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 21 แห่ง แตะที่ 498 แห่ง ทำสถิติปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกันในสัปดาห์นี้
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 10.5 ดอลลาร์ หรือ 0.90% ปิดที่ 1,161.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดสกุลเงินดอลลาร์เทียบกับสกุลเงินหลักๆในตะกร้าเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.51 แตะที่ 101.61 เมื่อคืนนี้ หลังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนธ.ค. แตะระดับ 98.0 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 94.5 รวมทั้งสูงกว่าระดับ 93.8 ในเดือนพ.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นพุ่งขึ้นในเดือนธ.ค. แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2015 ได้รับปัจจัยบวกจากชัยชนะของนายโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 8 พ.ย.
โดยปกติแล้ว ราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับดอลลาร์ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดอลลาร์จะส่งผลให้ทองคำมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
ทั้งนี้ เทรดเดอร์จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ ขณะที่ นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 98% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในปีนี้ และครั้งที่ 2 ในรอบเกือบ 10 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือ WTI ตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (9 ธ.ค.) เนื่องจากตลาดคาดว่า ประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะมีมติปรับลดกำลังการผลิตลงตามข้อตกลงของโอเปก ในการประชุมร่วมกันในสัปดาห์หน้า
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 51.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 44 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 54.33 ดอลลาร์/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในวงจำกัด เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ทำให้น้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองเงินสกุลอื่นๆ
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของบริษัทเบเกอร์ ฮิวส์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมัน ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เปิดดำเนินงานในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 21 แห่ง แตะที่ 498 แห่ง ทำสถิติปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกันในสัปดาห์นี้