กระทรวงสาธารณสุขปรับระบบบริการด่านหน้าในโรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ให้เพิ่มการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติ พร้อมเพิ่มระบบการรักษาความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อาทิ กล้องวงจรปิด การกำหนดเป็นเขตปลอดอาวุธ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ขอประชาชนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมดูแลผู้ป่วยทุกคนตามมาตรฐานบริการ ผู้ป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตต้องได้รับบริการก่อน
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีพยาบาลวิชาชีพประจำห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถูกผู้ป่วย และเพื่อนผู้ป่วยทำร้ายร่างกายระหว่างที่ให้รอทำแผล เนื่องจากแพทย์เวรและเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉินกำลังช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยอื่นอยู่ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่พอสมควร เพราะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งของประชาชนยามเจ็บป่วย หรือต้องการบริการด้านสุขภาพทั้งหมด ทั้งฉีดวัคซีน ฝากครรภ์ ทำคลอด ตรวจรักษาโรคทั่วไป ผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วยฉุกเฉิน
โดยในการจัดระบบบริการนั้น โรงพยาบาลทุกแห่งมีมาตรฐานการจัดบริการ โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน มีการแยกกลุ่มผู้รับบริการชัดเจน ผู้ป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต เป็นกลุ่มแรกที่ต้องได้รับบริการทันที เช่นผู้อยู่ในภาวะช็อค บาดเจ็บหลายอวัยวะ หายใจหอบ เป็นต้น และกรณีที่เกิดเหตุเป็นโรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีจำนวนไม่มากเหมือนโรงพยาบาลจังหวัด เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องฟื้นคืนชีพผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันดำเนินการก่อน จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยรายอื่นๆ รอไปก่อน ซึ่งเป็นไปตามระบบที่วางไว้
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคน เพิ่มการสื่อสารกับผู้ป่วย ผู้รับบริการและญาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยสร้างความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน อาทิ กล้องวงจรปิด การกำหนดเป็นเขตปลอดอาวุธ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น สำหรับการดูแลเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเสียหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่นั้น ได้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 หมวดที 5 ข้อที่ 25 ทั้งนี้ ขอประชาชนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมดูแลผู้ป่วยทุกคน ตามมาตรฐานบริการ
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีพยาบาลวิชาชีพประจำห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถูกผู้ป่วย และเพื่อนผู้ป่วยทำร้ายร่างกายระหว่างที่ให้รอทำแผล เนื่องจากแพทย์เวรและเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉินกำลังช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยอื่นอยู่ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่พอสมควร เพราะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งของประชาชนยามเจ็บป่วย หรือต้องการบริการด้านสุขภาพทั้งหมด ทั้งฉีดวัคซีน ฝากครรภ์ ทำคลอด ตรวจรักษาโรคทั่วไป ผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วยฉุกเฉิน
โดยในการจัดระบบบริการนั้น โรงพยาบาลทุกแห่งมีมาตรฐานการจัดบริการ โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน มีการแยกกลุ่มผู้รับบริการชัดเจน ผู้ป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต เป็นกลุ่มแรกที่ต้องได้รับบริการทันที เช่นผู้อยู่ในภาวะช็อค บาดเจ็บหลายอวัยวะ หายใจหอบ เป็นต้น และกรณีที่เกิดเหตุเป็นโรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีจำนวนไม่มากเหมือนโรงพยาบาลจังหวัด เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องฟื้นคืนชีพผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันดำเนินการก่อน จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยรายอื่นๆ รอไปก่อน ซึ่งเป็นไปตามระบบที่วางไว้
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคน เพิ่มการสื่อสารกับผู้ป่วย ผู้รับบริการและญาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยสร้างความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน อาทิ กล้องวงจรปิด การกำหนดเป็นเขตปลอดอาวุธ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น สำหรับการดูแลเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเสียหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่นั้น ได้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 หมวดที 5 ข้อที่ 25 ทั้งนี้ ขอประชาชนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมดูแลผู้ป่วยทุกคน ตามมาตรฐานบริการ