นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคอนเฟอร์เรนกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้รับคำสั่งจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มีการประชุมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนถึงว่าการปล่อยน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา อาจจะมีผลกระทบบ้างกับประชาชนที่อยู่ตามแนวคันกั้นน้ำ บริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนนทบุรี ซึ่งทุกจังหวัดได้เตรียมแผนในการรองรับน้ำไว้แล้ว ว่าน้ำจำนวนนี้ที่มีจะไประบายไว้ที่ไหน โดยกระทรวงมหาดไทย ได้วางแนวทางตามนโยบายใหม่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกรมชลประทาน หาพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ตามจังหวัดต่างๆ หากพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีการทำเกษตรกรรม ให้จังหวัดและอำเภอ คำนวณเรื่องค่าเสียหายในพื้นที่ เบื้องต้นกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าไร่ละ 5,000 บาท โดยการเยียวยาส่วนนี้จะแยกออกมาจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั่วไป
สำหรับใจความหลักในการประชุมวันนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนที่ในเขต และนอกเขตแนวกั้นน้ำ ขณะที่การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน ขณะนี้ยังไม่มีความผิดพลาด แผนการระบายน้ำเป็นไปตามแผนปกติ ระหว่าง 1,600-1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนการผันน้ำเข้าทุ่ง กรมชลประทาน ขอประเมินสถานการณ์ฝนตกคืนนี้ก่อน ซึ่งหากฝนในคืนนี้มีปริมาณมากเกินที่กำหนดไว้ ก็จะปล่อยน้ำ ไปใน 3 ตำบล ของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ทำความเข้าใจกับประชาชนเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทย มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังมีบางจุดที่เมื่อเกิดฝนตกแล้วยังระบายไม่ทัน เช่น นนทบุรี ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ซึ่งจะมีการประสานให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม มากขึ้นเมื่อเกิดฝนตกในช่วงนี้
สำหรับใจความหลักในการประชุมวันนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนที่ในเขต และนอกเขตแนวกั้นน้ำ ขณะที่การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน ขณะนี้ยังไม่มีความผิดพลาด แผนการระบายน้ำเป็นไปตามแผนปกติ ระหว่าง 1,600-1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนการผันน้ำเข้าทุ่ง กรมชลประทาน ขอประเมินสถานการณ์ฝนตกคืนนี้ก่อน ซึ่งหากฝนในคืนนี้มีปริมาณมากเกินที่กำหนดไว้ ก็จะปล่อยน้ำ ไปใน 3 ตำบล ของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ทำความเข้าใจกับประชาชนเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทย มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังมีบางจุดที่เมื่อเกิดฝนตกแล้วยังระบายไม่ทัน เช่น นนทบุรี ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ซึ่งจะมีการประสานให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม มากขึ้นเมื่อเกิดฝนตกในช่วงนี้