นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กำชับทุกอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลอง คือ อำเภอเมือง ไชโย และป่าโมก เตรียมรับน้ำท่วมเพิ่มขึ้น และให้ประสานการทำงาน เพื่อเตรียมเข้าช่วยเหลือพื้นที่ เพราะระดับน้ำจะสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนถึงปริมาณ 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเช้าวันนี้ (9 ต.ค.) ปริมาณการระบายน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 2,196 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้น 198 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอยู่ที่ 7.85 เมตรต่อระดับทะเลปานกลาง เหลือเพียง 1.47 เมตร จะถึงจุดวิกฤติที่ 9.32 เมตร ส่วนอำเภอป่าโมกยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำสุด บางจุดน้ำล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนแล้ว โดยเฉพาะตำบลโผงเผงเดือดร้อนหนักต้องเผชิญน้ำท่วมมาแล้ว 3 สัปดาห์ และน้ำยังคงสูงขึ้น
ทั้งนี้ กรมชลประทานมีหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 3 ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำอำเภอเมืองนครสวรรค์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าสูงสุดในวันที่ 9 ตุลาคม 2559 ประมาณ 2,350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังสูงสุดประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมที่จะเข้าเขื่อนเจ้าพระยา 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาจึงต้องเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านจากเดิมในอัตรา 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น และรักษาสมดุลระหว่างน้ำเหนือเขื่อนและน้ำระบบท้ายเขื่อน โดยจะทยอยปรับเพิ่มเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณตั้งแต่ 25-75 เซนติเมตร
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอยู่ที่ 7.85 เมตรต่อระดับทะเลปานกลาง เหลือเพียง 1.47 เมตร จะถึงจุดวิกฤติที่ 9.32 เมตร ส่วนอำเภอป่าโมกยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำสุด บางจุดน้ำล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนแล้ว โดยเฉพาะตำบลโผงเผงเดือดร้อนหนักต้องเผชิญน้ำท่วมมาแล้ว 3 สัปดาห์ และน้ำยังคงสูงขึ้น
ทั้งนี้ กรมชลประทานมีหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 3 ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำอำเภอเมืองนครสวรรค์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าสูงสุดในวันที่ 9 ตุลาคม 2559 ประมาณ 2,350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังสูงสุดประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมที่จะเข้าเขื่อนเจ้าพระยา 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาจึงต้องเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านจากเดิมในอัตรา 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น และรักษาสมดุลระหว่างน้ำเหนือเขื่อนและน้ำระบบท้ายเขื่อน โดยจะทยอยปรับเพิ่มเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณตั้งแต่ 25-75 เซนติเมตร