นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ช่วงนี้มีปริมาณน้ำเหนือไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีฝนตกหนักในพื้นที่ โดยขณะนี้ระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการ 7 จังหวัดภาคกลาง ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาแนวฝั่งซ้ายและขวาของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ 16 ตำบล 2 อำเภอของพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง อาจมีปริมาณน้ำล้นตลิ่งท่วม ได้แจ้งให้ประชาชนที่อยู่อาศัยริมน้ำขนของขึ้นที่สูง
นอกจากนี้ ได้สั่งให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่านตอนล่าง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำบางประกง จับตาสถานการณ์น้ำปลายสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงป้องกันพื้นที่เกษตรกรรมที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าว เนื่องจากจะมีร่องฝนขยับจากภาคเหนือลงมาภาคกลาง ให้รอดูปริมาณฝนตกระยะนี้ โดยได้วางแผนเร่งระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องจากข้างบนเหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีน้ำหลากจากแม่วงก์ ลุ่มน้ำสะแกกรัง เข้ามาสมบทในแม่น้ำเจ้าพระยา 100 ลบ.ม.ต่อวินาที
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ช่วงร่องฝนเคลื่อนมาภาคกลางและมีลมมรสุม ทำให้ฝนตกหนักภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง เป็นช่วงฝนตกท้ายเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ จึงต้องเฝ้าระวังทุกลำน้ำท้ายเขื่อน จะมีฝนตั้งแต่เดือนกันยายน ต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตาม ช่วงฤดูฝนเหลืออีก 30 กว่าวัน ยืนยันว่า ปลายปีนี้ไม่เสี่ยงเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่แน่นอน ทั้งพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพฯ โดยขอเอาตำแหน่งเป็นประกัน
นอกจากนี้ ได้สั่งให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่านตอนล่าง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำบางประกง จับตาสถานการณ์น้ำปลายสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงป้องกันพื้นที่เกษตรกรรมที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าว เนื่องจากจะมีร่องฝนขยับจากภาคเหนือลงมาภาคกลาง ให้รอดูปริมาณฝนตกระยะนี้ โดยได้วางแผนเร่งระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องจากข้างบนเหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีน้ำหลากจากแม่วงก์ ลุ่มน้ำสะแกกรัง เข้ามาสมบทในแม่น้ำเจ้าพระยา 100 ลบ.ม.ต่อวินาที
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ช่วงร่องฝนเคลื่อนมาภาคกลางและมีลมมรสุม ทำให้ฝนตกหนักภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง เป็นช่วงฝนตกท้ายเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ จึงต้องเฝ้าระวังทุกลำน้ำท้ายเขื่อน จะมีฝนตั้งแต่เดือนกันยายน ต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตาม ช่วงฤดูฝนเหลืออีก 30 กว่าวัน ยืนยันว่า ปลายปีนี้ไม่เสี่ยงเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่แน่นอน ทั้งพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพฯ โดยขอเอาตำแหน่งเป็นประกัน