พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (20 ก.ย.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยพิจาณาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็น เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อยออนไลน์ และให้เกิดความรอบคอบในการบังคับใช้ โดยให้แยกคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทั้งสองประเภทออกจากกัน
สำหรับการประกอบธุรกิจขายตรง ให้คงหลักการให้บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน จำกัด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรง และเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและไม่เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ประกอบการที่มิใช่บริษัท ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญติแห่งชาติ จึงเห็นควรให้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนธุรกิจขายตรงได้ด้วย แต่จำกัดเฉพาะห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลและห้างหุ้นสวนจำกัดเท่านั้น เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
ส่วนธรุกิจตลาดแบบตรง ได้แก้ไขคุณสมบัติ โดยเปิดกว้างให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแบบตลาดตรงได้เช่นเดียวกับกฎหมายปัจจุบัน ไม่จำกัดเฉพาะบริษัทจำกัด หรือ มหาชน จำกัด เท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย หรือ เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการโอทอป และผู้ประกอบการขนาดเล็กที่เป็นรูปแบบออนไลน์
นอกจากนี้ ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท หรือหากเป็นบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยกระบวนการหลังจากนี้จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
สำหรับบทกำหนดโทษ ในส่วนของการประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจตลาดแบบตรง มีบทกำหนดโทษเดียวกัน หากทำธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่อัตราโทษค่าปรับรายวันหากยังฝ่าฝืน กำหนดให้ธุรกิจขายตรงเสียค่าปรับไม่เกินวันละ 20,000 บาทต่อวัน ส่วนธุรกิจตลาดแบบตรงกำหนดให้มีค่าปรับวันละ 10,000 บาท และกำหนดให้การเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงไม่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจพ้นจากความรับผิด
สำหรับการประกอบธุรกิจขายตรง ให้คงหลักการให้บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน จำกัด เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรง และเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและไม่เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ประกอบการที่มิใช่บริษัท ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญติแห่งชาติ จึงเห็นควรให้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนธุรกิจขายตรงได้ด้วย แต่จำกัดเฉพาะห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลและห้างหุ้นสวนจำกัดเท่านั้น เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
ส่วนธรุกิจตลาดแบบตรง ได้แก้ไขคุณสมบัติ โดยเปิดกว้างให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแบบตลาดตรงได้เช่นเดียวกับกฎหมายปัจจุบัน ไม่จำกัดเฉพาะบริษัทจำกัด หรือ มหาชน จำกัด เท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย หรือ เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการโอทอป และผู้ประกอบการขนาดเล็กที่เป็นรูปแบบออนไลน์
นอกจากนี้ ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท หรือหากเป็นบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยกระบวนการหลังจากนี้จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
สำหรับบทกำหนดโทษ ในส่วนของการประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจตลาดแบบตรง มีบทกำหนดโทษเดียวกัน หากทำธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่อัตราโทษค่าปรับรายวันหากยังฝ่าฝืน กำหนดให้ธุรกิจขายตรงเสียค่าปรับไม่เกินวันละ 20,000 บาทต่อวัน ส่วนธุรกิจตลาดแบบตรงกำหนดให้มีค่าปรับวันละ 10,000 บาท และกำหนดให้การเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงไม่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจพ้นจากความรับผิด