ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วานนี้ (15ก.ย.) ได้รับฟังคำแถลงปิดสำนวน ในคดีถอดถอนพลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกจากตำแหน่ง หลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด กรณีเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ
นางสาว สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนว่า การแต่งตั้งพลเอกทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผบ.ทบ.ขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวงกลาโหมของพลอากาศเอก สุกำพล ถือว่า ขัดกับพ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงโหม เพราะคำพูดของพลอากาศเอก สุกำพล ที่ระบุว่า "ถ้าไม่แทรกแซงล้วงลูกเลยก็ไม่ต้องเป็นรัฐมนตรีเลยดีกว่า" ถือว่า เป็นการแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมอย่างชัดเจน ยิ่งกว่าคดีที่สนช.ถอดถอนนายประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในคดีที่เข้าไปแทรกแซงการตั้งผู้อำนวยการองค์การตลาด
ด้าน พลอากาศเอก สุกำพล แถลงปิดสำนวนยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบในทุกขั้นตอน ซึ่งในการประชุมครั้งแรก ตนได้ เสนอชื่อพลเอก ทนงศักดิ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง
โดยผู้บัญชาการเหล่าทัพรวม 4 คนในขณะนั้น มีมติเลือกพลเอก ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม มีเพียงพลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมเพียงคนเดียวที่เสนอชื่อพลเอก ชาตรี ทัตติ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม อีกทั้งผบ.เหล่าทัพได้ยืนยันกับคณะกรรมการไต่สวนของป.ป.ช.เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วว่า เป็นการประชุมที่ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับทุกประการ
เมื่อคู่กรณีแถลงปิดสำนวนเสร็จ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ได้ประชุมเพื่อลงมติถอดถอนพลอากาศเอก สุกำพลหรือไม่ ในวันนี้ (16 ก.ย) เวลา 10.00 น. วันเดียวกัน ที่ประชุมสนช.ยังได้พิจารณาพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในวาระที่สาม โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ ในกรณีจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ หรือ ฎีกาได้ จำเลยต้องต้องมาแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลเท่านั้น จากเดิมที่กำหนดให้ทนายความยื่นอุทธรณ์แทนจำเลยได้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 166 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และไม่มีเสียงไม่เห็นด้วยโดยเตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
นางสาว สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนว่า การแต่งตั้งพลเอกทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผบ.ทบ.ขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวงกลาโหมของพลอากาศเอก สุกำพล ถือว่า ขัดกับพ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงโหม เพราะคำพูดของพลอากาศเอก สุกำพล ที่ระบุว่า "ถ้าไม่แทรกแซงล้วงลูกเลยก็ไม่ต้องเป็นรัฐมนตรีเลยดีกว่า" ถือว่า เป็นการแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมอย่างชัดเจน ยิ่งกว่าคดีที่สนช.ถอดถอนนายประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในคดีที่เข้าไปแทรกแซงการตั้งผู้อำนวยการองค์การตลาด
ด้าน พลอากาศเอก สุกำพล แถลงปิดสำนวนยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบในทุกขั้นตอน ซึ่งในการประชุมครั้งแรก ตนได้ เสนอชื่อพลเอก ทนงศักดิ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง
โดยผู้บัญชาการเหล่าทัพรวม 4 คนในขณะนั้น มีมติเลือกพลเอก ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม มีเพียงพลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมเพียงคนเดียวที่เสนอชื่อพลเอก ชาตรี ทัตติ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม อีกทั้งผบ.เหล่าทัพได้ยืนยันกับคณะกรรมการไต่สวนของป.ป.ช.เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วว่า เป็นการประชุมที่ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับทุกประการ
เมื่อคู่กรณีแถลงปิดสำนวนเสร็จ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ได้ประชุมเพื่อลงมติถอดถอนพลอากาศเอก สุกำพลหรือไม่ ในวันนี้ (16 ก.ย) เวลา 10.00 น. วันเดียวกัน ที่ประชุมสนช.ยังได้พิจารณาพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในวาระที่สาม โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ ในกรณีจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ หรือ ฎีกาได้ จำเลยต้องต้องมาแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลเท่านั้น จากเดิมที่กำหนดให้ทนายความยื่นอุทธรณ์แทนจำเลยได้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 166 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และไม่มีเสียงไม่เห็นด้วยโดยเตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป