การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (9 ก.ย.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. เป็นประธาน เป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงหลักการว่า เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริการกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 การบริหารจัดการมีข้อจำกัด ไม่สอดคล้องกับการผลิตกำลังคน และการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการทั้ง 2 กองทุน ให้เป็นเอกภาพภายใต้กฎหมายเดียวกัน เพื่อให้บริหารกองทุนมีประสิทธิภาพ จึงต้องปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดให้มีกองทุนเพื่อการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และในสาขาวิชาที่เป็นความจำเป็น หรือความต้องการหลักของประเทศในการพัฒนาสาขาวิชาที่ขาดแคลน พร้อมกำหนดโครงสร้างให้มีคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกรอบแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงผู้จัดการกองทุน ซึ่งสามารถจ้างสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลมาบริหารจัดการกองทุนฯ และติดตามเร่งรัดเงินคืน
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงิน ต้องยินยอมให้กองทุนฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุนฯ ได้
ขณะที่สมาชิก สนช. อภิปรายเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากมีกลไกจะสามารถติดตามเงินกู้ยืมของผู้ค้างจ่ายเข้าสู่กองทุนได้มากกว่าเดิม รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียน-นักศึกษา มีวินัยในการชำระหนี้มากขึ้น แต่ยังมีข้อห่วงใยเงื่อนไข กรณีต้องเปิดเผยข้อมูลการทำสัญญากู้ยืม เพราะผู้กู้ยืมบางรายยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ หลังการอภิปราย ที่ประชุมมีมติรับหลักการวาระแรก ด้วยคะแนน 141 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 15 คน กำหนดแปรญัตติภายใน 7 วัน และมีกรอบการทำงาน 30 วัน
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงหลักการว่า เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริการกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 การบริหารจัดการมีข้อจำกัด ไม่สอดคล้องกับการผลิตกำลังคน และการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการทั้ง 2 กองทุน ให้เป็นเอกภาพภายใต้กฎหมายเดียวกัน เพื่อให้บริหารกองทุนมีประสิทธิภาพ จึงต้องปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดให้มีกองทุนเพื่อการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และในสาขาวิชาที่เป็นความจำเป็น หรือความต้องการหลักของประเทศในการพัฒนาสาขาวิชาที่ขาดแคลน พร้อมกำหนดโครงสร้างให้มีคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกรอบแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงผู้จัดการกองทุน ซึ่งสามารถจ้างสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลมาบริหารจัดการกองทุนฯ และติดตามเร่งรัดเงินคืน
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงิน ต้องยินยอมให้กองทุนฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุนฯ ได้
ขณะที่สมาชิก สนช. อภิปรายเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากมีกลไกจะสามารถติดตามเงินกู้ยืมของผู้ค้างจ่ายเข้าสู่กองทุนได้มากกว่าเดิม รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียน-นักศึกษา มีวินัยในการชำระหนี้มากขึ้น แต่ยังมีข้อห่วงใยเงื่อนไข กรณีต้องเปิดเผยข้อมูลการทำสัญญากู้ยืม เพราะผู้กู้ยืมบางรายยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ หลังการอภิปราย ที่ประชุมมีมติรับหลักการวาระแรก ด้วยคะแนน 141 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 15 คน กำหนดแปรญัตติภายใน 7 วัน และมีกรอบการทำงาน 30 วัน