นายไพฑูรย์ เจตธำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถลงผลสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง "ภาวะเศรษฐไทยกับบทบาทการทำงาน 2 ปี ของรัฐบาล" ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับภาคส่วนต่างๆ ในการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
โดยสรุปผลสำรวจพบว่าระดับเศรษฐกิจความกินดีอยู่ดีของคนไทย รอบ 2 ปี คะแนนเต็ม 10 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.65 ในขณะที่ในช่วง 1.6 ปี ที่ผ่านมามีค่าที่ 5.75 จึงถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลายดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ทั้งปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตร รวมถึงปัญหา IUU ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เหนือสิ่งอื่นใด คือราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นโดยรวม ร้อยละ 4.9 ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรกลับมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.7 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส (2 ปี 6 เดือน)
สำหรับบทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของคนไทย รอบ 2 ปี จากคะแนนเต็ม 10 มีภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.02 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล รัฐมนตรีที่มีประชาชนมองว่าช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องประชาชนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ค่าเฉลี่ย = 8.63
2) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ค่าเฉลี่ย = 8.41
3) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ค่าเฉลี่ย = 8.32
4) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ค่าเฉลี่ย = 7.94
5) นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ค่าเฉลี่ย = 7.85
อย่างไรก็ตามในการสำรวจยังพบว่าประชาชนยังมองบทบาทของรัฐมนตรีแต่ละคนแตกต่างกันจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 7.51 ขึ้นไป คือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโดยตรง ที่มีความเด่นชัดมากที่สุด ได้แก่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลละ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ร่วมกันคลี่คลายปัญหาสำคัญ อาทิ ภัยแล้ง ราคายางพารา การค้ามนุษย์ และการประมงผิดกฎหมาย
2) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ระหว่าง 6.01-7.50 จำแนกเป็น 2.1) รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ไม่มีบทบาทตามที่ประชาชนคาดหวัง คือนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจควมคิดเห็นของสถาบันอื่นๆ ในห้วงเวลาเดียวกัน และ 2.2) รัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทมากกว่าที่ประชาชนคาดหวัง อาทิ นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
3) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ระหว่าง 5.01-6.50 จำแนกเป็น 3.1)รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทน้อยกว่าที่ประชาชนคาดหวังนาง อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ 3.2) รัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้อง และไม่มีบทบาทเด่นชัดนักในภารกิจด้านนี้ อาทิ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร, พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
4) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 5.00 ลงมา จำแนกเป็น 4.1) รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทน้อยกว่าที่คาดหวัง อาทิ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ และ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพณิชย์ และ 4.2) กลุ่มรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องและมีบทบาทน้อยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ส่วนปัญหาที่ประชาชนคิดเห็นว่าส่งผลกระทบต่อความกินดีอยู่ดี และต้องการให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มการค้า/การลงทุน, ความมั่นคง/ความขัดแย้งทางการเมือง และประสิทธิภาพ/การคอร์รัปชั่นภาครัฐ เป็นสำคัญ
โดยสรุปผลสำรวจพบว่าระดับเศรษฐกิจความกินดีอยู่ดีของคนไทย รอบ 2 ปี คะแนนเต็ม 10 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.65 ในขณะที่ในช่วง 1.6 ปี ที่ผ่านมามีค่าที่ 5.75 จึงถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลายดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ทั้งปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตร รวมถึงปัญหา IUU ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เหนือสิ่งอื่นใด คือราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นโดยรวม ร้อยละ 4.9 ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรกลับมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.7 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส (2 ปี 6 เดือน)
สำหรับบทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของคนไทย รอบ 2 ปี จากคะแนนเต็ม 10 มีภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.02 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล รัฐมนตรีที่มีประชาชนมองว่าช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องประชาชนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ค่าเฉลี่ย = 8.63
2) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ค่าเฉลี่ย = 8.41
3) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ค่าเฉลี่ย = 8.32
4) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ค่าเฉลี่ย = 7.94
5) นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ค่าเฉลี่ย = 7.85
อย่างไรก็ตามในการสำรวจยังพบว่าประชาชนยังมองบทบาทของรัฐมนตรีแต่ละคนแตกต่างกันจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 7.51 ขึ้นไป คือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโดยตรง ที่มีความเด่นชัดมากที่สุด ได้แก่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลละ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ร่วมกันคลี่คลายปัญหาสำคัญ อาทิ ภัยแล้ง ราคายางพารา การค้ามนุษย์ และการประมงผิดกฎหมาย
2) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ระหว่าง 6.01-7.50 จำแนกเป็น 2.1) รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ไม่มีบทบาทตามที่ประชาชนคาดหวัง คือนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจควมคิดเห็นของสถาบันอื่นๆ ในห้วงเวลาเดียวกัน และ 2.2) รัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทมากกว่าที่ประชาชนคาดหวัง อาทิ นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
3) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ระหว่าง 5.01-6.50 จำแนกเป็น 3.1)รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทน้อยกว่าที่ประชาชนคาดหวังนาง อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ 3.2) รัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้อง และไม่มีบทบาทเด่นชัดนักในภารกิจด้านนี้ อาทิ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร, พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
4) กลุ่มที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 5.00 ลงมา จำแนกเป็น 4.1) รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีบทบาทน้อยกว่าที่คาดหวัง อาทิ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ และ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพณิชย์ และ 4.2) กลุ่มรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องและมีบทบาทน้อยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ส่วนปัญหาที่ประชาชนคิดเห็นว่าส่งผลกระทบต่อความกินดีอยู่ดี และต้องการให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มการค้า/การลงทุน, ความมั่นคง/ความขัดแย้งทางการเมือง และประสิทธิภาพ/การคอร์รัปชั่นภาครัฐ เป็นสำคัญ