เมื่อวานนี้(26 ส.ค.) พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋ง กระทำผิดเงื่อนไขคุมประพฤติระหว่างพักการลงโทษว่า ได้รับรายงานจาก นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่ามีคนมาร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของ นายเฉลิมชัย ที่ผิดระเบียบข้อบังคับของกรมคุมประพฤติ จึงได้ประสานตำรวจเรียกตัวกลับมาสอบสวน และนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ รวมทั้งมีการพิจารณาเรียบร้อยแล้วว่ามีมูลความผิดจริง ต้องได้รับโทษเท่าเดิมเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน และปรับเป็นนักโทษชั้นเลว
"กรมคุมประพฤติได้ให้โอกาสแล้ว แต่กลับไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ในเมื่อผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวแล้ว สังคมจะเป็นผู้คอยจับตามองผู้ที่ได้รับโอกาส ว่าจะกลับมากระทำความผิดซ้ำหรือไม่ รวมทั้งสังคมก็ต้องมองว่ากรมคุมประพฤติมีวิธีการและระบบควบคุมผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษอย่างไรเมื่อออกไปแล้วจะไม่สร้างปัญหาวุ่นวายอีก อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังสามารถเรียกร้องขอความเป็นธรรมได้แต่ต้องอธิบายมาด้วยว่ามีเหตุผลเหมาะสมหรือไม่ ที่ผ่านมามีผู้ถูกคุมประพฤติหลบหนีไม่มารายงานหลายตัว นับหมื่นรายต่อปี โดยจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติมากขึ้น" พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนกรณีผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษเป็นผู้มีอิทธิพลมาก่อนมีเงื่อนไขการพิจารณาหรือไม่ ตนไม่ยอมให้ผู้ต้องขังที่เคยสร้างความเจ็บปวดต่อสังคม ได้รับสิทธิเท่าเทียมเหมือนกับบุคคลอื่นและต้องพิจารณาความประพฤติมากกว่า โดยหน่วยงานกระทรวงยุติธรรมต้องเข้มงวดกับบุคคลกลุ่มนี้ซึ่งในปี 2559 ได้กลั่นกรองรอบคอบมากขึ้นเพราะฟังเสียงของสังคมมากยิ่งขึ้น
"กรมคุมประพฤติได้ให้โอกาสแล้ว แต่กลับไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ในเมื่อผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวแล้ว สังคมจะเป็นผู้คอยจับตามองผู้ที่ได้รับโอกาส ว่าจะกลับมากระทำความผิดซ้ำหรือไม่ รวมทั้งสังคมก็ต้องมองว่ากรมคุมประพฤติมีวิธีการและระบบควบคุมผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษอย่างไรเมื่อออกไปแล้วจะไม่สร้างปัญหาวุ่นวายอีก อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังสามารถเรียกร้องขอความเป็นธรรมได้แต่ต้องอธิบายมาด้วยว่ามีเหตุผลเหมาะสมหรือไม่ ที่ผ่านมามีผู้ถูกคุมประพฤติหลบหนีไม่มารายงานหลายตัว นับหมื่นรายต่อปี โดยจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติมากขึ้น" พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว
ส่วนกรณีผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษเป็นผู้มีอิทธิพลมาก่อนมีเงื่อนไขการพิจารณาหรือไม่ ตนไม่ยอมให้ผู้ต้องขังที่เคยสร้างความเจ็บปวดต่อสังคม ได้รับสิทธิเท่าเทียมเหมือนกับบุคคลอื่นและต้องพิจารณาความประพฤติมากกว่า โดยหน่วยงานกระทรวงยุติธรรมต้องเข้มงวดกับบุคคลกลุ่มนี้ซึ่งในปี 2559 ได้กลั่นกรองรอบคอบมากขึ้นเพราะฟังเสียงของสังคมมากยิ่งขึ้น