พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติดครั้งที่ 7 โดยมีผู้แทนจากประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ และผู้แทนจากประเทศคู่เจรจา พร้อมด้วยสำนักเลขาธิการอาเซียน สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หน่วยงานกลางด้านปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามผลการดำเนินการด้านยาเสพติดและพิจารณาและรับรองแผนปฏิบัติการอาเซียนฉบับใหม่ 2559-2568 ภายใต้เป้าหมายพัฒนาความร่วมมือแก้ปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนและและประเทศกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเพื่อนำไปสู่การรับรองแผนปฏิบัติการระยะ 10 ปี โดยจะมุ่งไปในทิศทางที่ไม่ใช่การทำให้ยาเสพติดหมดไป แต่ต้องให้ทำให้ยาเสพติดไม่ใช่ปัญหาของประเทศ ซึ่งจะนำผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (UNGASS) ที่สนับสนุนทิศทางเรื่องการดูแลสุขภาพ สาธารณสุข การดูแลอาชีพ และการแก้โทษ การใช้กฎหมายให้เหมาะสม ต่างชาติจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับมติที่เป็นสากล แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไทยยังไม่ยอมรับเช่น การยกเลิกโทษประหาร การทำยาเสพติดให้เป็นสิ่งถูกต้อง ไทยยังไม่สามารถทำได้ทันที แต่ทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ก็เป็นความพยายามทำให้สอดรับกับมติสหประชาชาติ
สำหรับประเด็นที่พยายามผลักดันให้มีการบรรจุในแผนปฏิบัติการ 10 ปี คือ การจัดการกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่ไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประเทศพม่า หรือลาวเท่านั้น ต้องถือเป็นปัญหาร่วมกัน ที่ต้องผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งใน 2 ประเทศ เพราะสามเหลี่ยมทองคำเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดมากถึง 1 ใน 3 โดย 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตเมตแอมเฟตามีน นอกจากนี้ ยังต้องพยายามรณรงค์เรื่องสารตั้งต้นที่นำไปผลิตยาเสพติดที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเมตแอมเฟตามีนไม่ได้สกัดมาจากพืช แต่เป็นผลผลิตสารเคมีที่มาจากประเทศร่ำรวย หรือประเทศอุตสาหกรรม ดังนั้น ต้องรณรงค์ทุกประเทศตระหนักถึงปัญหา ไม่ใช่เพียงการไล่จับยาเสพติดหลังการผลิต
สำหรับประเทศในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยเฉพาะพม่า ต้องเข้าใจว่าปัญหาชนกลุ่มน้อยและการไม่มีเอกภาพยังเป็นจุดที่ทำให้การแก้ไขไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ อย่างไรก็ตาม เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องภายในของแต่ละประเทศที่จะมีวิธีแก้ไขตามความพร้อมของตัวเอง
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของมาตรการด้านสาธารณสุขขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดการเต็มรูปแบบ โดยมีการประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มีการตั้งกรรมการเพื่อทำงานด้านการคัดแยกผู้เสพ ผู้ป่วย ซึ่งมีโครงการให้สาธารณสุข ตำรวจ ศาลยุติธรรม และอัยการ ไปศึกษาดูงานในประเทศที่ทำสำเร็จแล้วกลับมาปรับปรุงระบบงานและเครื่องมือให้เหมาะสมกับลักษณะแผนงานในระยะยาว ที่จะให้ความสำคัญกับการใช้ระบบสุขภาพเข้าแก้ยาเสพติดเหมือนที่หลายประเทศประสบความสำเร็จ ไปจนถึงขั้นให้หมอเป็นผู้จ่ายยาให้ผู้เสพที่คัดกรองแล้วว่าเป็นผู้ป่วย แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนดังกล่าวระบบสาธารณสุขต้องมีความพร้อม ต้องควบคุม ต้องสามารถทำทะเบียนบุคคลได้
ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมเกิดความมั่นใจ ซึ่งจะสอดรับกับนโยบายประชารัฐที่ทำการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนและหมู่บ้านกว่า 80,000 แห่ง ที่กระทรวงมหาดไทยรับเป็นเจ้าภาพในการให้ท้องถิ่นช่วยคัดแยกผู้เสพเพื่อลงทะเบียนและทำการควบคุมให้ได้ก่อน ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมายังมีบุคคลที่ถูกปิดบัง เมื่อทำการคัดแยกได้ชัดเจนแล้วสังคมก็ต้องให้โอกาสและเข้าใจ ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลา แต่ยืนยันว่ากำลังเดินหน้าไปตามขั้นตอน
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเพื่อนำไปสู่การรับรองแผนปฏิบัติการระยะ 10 ปี โดยจะมุ่งไปในทิศทางที่ไม่ใช่การทำให้ยาเสพติดหมดไป แต่ต้องให้ทำให้ยาเสพติดไม่ใช่ปัญหาของประเทศ ซึ่งจะนำผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (UNGASS) ที่สนับสนุนทิศทางเรื่องการดูแลสุขภาพ สาธารณสุข การดูแลอาชีพ และการแก้โทษ การใช้กฎหมายให้เหมาะสม ต่างชาติจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับมติที่เป็นสากล แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไทยยังไม่ยอมรับเช่น การยกเลิกโทษประหาร การทำยาเสพติดให้เป็นสิ่งถูกต้อง ไทยยังไม่สามารถทำได้ทันที แต่ทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ก็เป็นความพยายามทำให้สอดรับกับมติสหประชาชาติ
สำหรับประเด็นที่พยายามผลักดันให้มีการบรรจุในแผนปฏิบัติการ 10 ปี คือ การจัดการกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่ไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประเทศพม่า หรือลาวเท่านั้น ต้องถือเป็นปัญหาร่วมกัน ที่ต้องผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งใน 2 ประเทศ เพราะสามเหลี่ยมทองคำเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดมากถึง 1 ใน 3 โดย 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตเมตแอมเฟตามีน นอกจากนี้ ยังต้องพยายามรณรงค์เรื่องสารตั้งต้นที่นำไปผลิตยาเสพติดที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเมตแอมเฟตามีนไม่ได้สกัดมาจากพืช แต่เป็นผลผลิตสารเคมีที่มาจากประเทศร่ำรวย หรือประเทศอุตสาหกรรม ดังนั้น ต้องรณรงค์ทุกประเทศตระหนักถึงปัญหา ไม่ใช่เพียงการไล่จับยาเสพติดหลังการผลิต
สำหรับประเทศในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยเฉพาะพม่า ต้องเข้าใจว่าปัญหาชนกลุ่มน้อยและการไม่มีเอกภาพยังเป็นจุดที่ทำให้การแก้ไขไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ อย่างไรก็ตาม เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องภายในของแต่ละประเทศที่จะมีวิธีแก้ไขตามความพร้อมของตัวเอง
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของมาตรการด้านสาธารณสุขขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดการเต็มรูปแบบ โดยมีการประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มีการตั้งกรรมการเพื่อทำงานด้านการคัดแยกผู้เสพ ผู้ป่วย ซึ่งมีโครงการให้สาธารณสุข ตำรวจ ศาลยุติธรรม และอัยการ ไปศึกษาดูงานในประเทศที่ทำสำเร็จแล้วกลับมาปรับปรุงระบบงานและเครื่องมือให้เหมาะสมกับลักษณะแผนงานในระยะยาว ที่จะให้ความสำคัญกับการใช้ระบบสุขภาพเข้าแก้ยาเสพติดเหมือนที่หลายประเทศประสบความสำเร็จ ไปจนถึงขั้นให้หมอเป็นผู้จ่ายยาให้ผู้เสพที่คัดกรองแล้วว่าเป็นผู้ป่วย แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนดังกล่าวระบบสาธารณสุขต้องมีความพร้อม ต้องควบคุม ต้องสามารถทำทะเบียนบุคคลได้
ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมเกิดความมั่นใจ ซึ่งจะสอดรับกับนโยบายประชารัฐที่ทำการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนและหมู่บ้านกว่า 80,000 แห่ง ที่กระทรวงมหาดไทยรับเป็นเจ้าภาพในการให้ท้องถิ่นช่วยคัดแยกผู้เสพเพื่อลงทะเบียนและทำการควบคุมให้ได้ก่อน ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมายังมีบุคคลที่ถูกปิดบัง เมื่อทำการคัดแยกได้ชัดเจนแล้วสังคมก็ต้องให้โอกาสและเข้าใจ ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลา แต่ยืนยันว่ากำลังเดินหน้าไปตามขั้นตอน