นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยในงาน CCO - MOF สัญจร ที่จ.อุดรธานี ว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งเมืองการค้าปลอดภาษี (Border Town) ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน
เบื้องต้นจะเสนอให้มีการตั้งให้ครบในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สงขลา, จ.หนองคาย, จ.สระแก้ว และ จ.ตาก โดยจะเปิดกว้างให้เอกชนทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้ามาค้าขายในเขตปลอดภาษีได้อย่างเสรี
นอกจากนี้ จะเปิดให้ผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการซื้อสินค้า สามารถมาสั่งซื้อสินค้าในเขตปลอดภาษีได้ โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลา และจะได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติด้วย
ขณะเดียวกัน จะเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าไปซื้อสินค้าในเขตปลอดภาษี โดยจะมีการกำหนดให้สามารถซื้อได้รายละไม่เกิน 2 หมื่นบาท โดยจะต้องซื้อบัตรแสดงตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้เปิดกว้างเหมือนที่ผู้ประกอบการมาซื้อสินค้าเพื่อไปขาย ซึ่งส่วนนี้จะทำให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวได้เร็วขึ้น
"เขตปลอดภาษีตรงนี้ ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าสินค้าของกรมสรรพสามิต รวมถึงจะพิจารณาลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาค้าขายในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เช่น อาจจะลดภาษีให้ 0% เป็นเวลา 8 ปีเหมือนบีโอไอก็ได้ ตรงนี้ต้องไปดูก่อน เพราะหากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า ก็พร้อมจะดำเนินการ" นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังได้เสนอมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติมให้ ครม.พิจารณา โดยเฉพาะการดูแลคนรายได้น้อย การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ ที่จะเสนอให้มีการใช้มาตรา 44 เอาผิดอย่างรุนแรง โดยการจำคุกกับเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยเกิน 15% พร้อมทั้งจะมีการเปิดให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาลงทะเบียนเพื่อปล่อยกู้ในระบบผ่านตามโครงการพิโคไฟแนนซ์ ที่จะให้ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี
นอกจากนี้ ยังเตรียมมาตรการเพื่อดูแลผู้สูงอายุ โดยจะเสนอให้มีการตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติ (กบช.) และเสนอให้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเอกชนที่จ้างผู้สูงอายุเกิน 60 ปีทำงาน รวมถึงมาตรการแปลงบ้านเป็นสินเชื่อ (รีเวิร์สมอร์เกท) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
เบื้องต้นจะเสนอให้มีการตั้งให้ครบในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สงขลา, จ.หนองคาย, จ.สระแก้ว และ จ.ตาก โดยจะเปิดกว้างให้เอกชนทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้ามาค้าขายในเขตปลอดภาษีได้อย่างเสรี
นอกจากนี้ จะเปิดให้ผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการซื้อสินค้า สามารถมาสั่งซื้อสินค้าในเขตปลอดภาษีได้ โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลา และจะได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติด้วย
ขณะเดียวกัน จะเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าไปซื้อสินค้าในเขตปลอดภาษี โดยจะมีการกำหนดให้สามารถซื้อได้รายละไม่เกิน 2 หมื่นบาท โดยจะต้องซื้อบัตรแสดงตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้เปิดกว้างเหมือนที่ผู้ประกอบการมาซื้อสินค้าเพื่อไปขาย ซึ่งส่วนนี้จะทำให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวได้เร็วขึ้น
"เขตปลอดภาษีตรงนี้ ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าสินค้าของกรมสรรพสามิต รวมถึงจะพิจารณาลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาค้าขายในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เช่น อาจจะลดภาษีให้ 0% เป็นเวลา 8 ปีเหมือนบีโอไอก็ได้ ตรงนี้ต้องไปดูก่อน เพราะหากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า ก็พร้อมจะดำเนินการ" นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังได้เสนอมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติมให้ ครม.พิจารณา โดยเฉพาะการดูแลคนรายได้น้อย การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ ที่จะเสนอให้มีการใช้มาตรา 44 เอาผิดอย่างรุนแรง โดยการจำคุกกับเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยเกิน 15% พร้อมทั้งจะมีการเปิดให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาลงทะเบียนเพื่อปล่อยกู้ในระบบผ่านตามโครงการพิโคไฟแนนซ์ ที่จะให้ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี
นอกจากนี้ ยังเตรียมมาตรการเพื่อดูแลผู้สูงอายุ โดยจะเสนอให้มีการตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติ (กบช.) และเสนอให้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเอกชนที่จ้างผู้สูงอายุเกิน 60 ปีทำงาน รวมถึงมาตรการแปลงบ้านเป็นสินเชื่อ (รีเวิร์สมอร์เกท) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน