นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) มีความต้องการบริโภคอาหารทะเลใน ปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะปลากระป๋อง ซึ่งมี อัตราการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี แหล่งนำเข้าที่สำคัญอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยสินค้าที่ไทยผลิตได้มีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของปลาทูน่ากระป๋องทั้งหมดที่จำหน่ายทั่วโลก โดยดูไบเป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของผู้นำเข้า ที่เป็นผู้สั่งซื้อปลากระป๋อง โดยมีปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้ายอดนิยม รองลงมาคือปลาซาร์ดีนกระป๋อง แล้วส่งออกต่อ ไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น โซมาเลีย ซีเรีย เอริเทรีย ลิเบีย โอมาน อัฟกานิสถาน ศรีลังกา และออสเตรเลีย ซึ่งสินค้ากว่าร้อยละ 70 นำเข้าผ่าน ผู้นำเข้าในดูไบ เขตอุตสาหกรรมพิเศษจีเบลอาลี จึงไม่มีการประมวลสถิติปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมให้ปรากฏ แต่คาดว่าการนำเข้าปลากระป๋องจะสูงขึ้นกว่า 2-3 เท่าตัวในแต่ละปี
โดยไทยส่งออกปลากระป๋องไปยูเออี ปี 2555-2557 เฉลี่ยปีละ 63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 การบริโภคอาหารทะเลของยูเออี เฉลี่ยอยู่ที่ 24 กิโลกรัมต่อคนต่อปี จึงคาดยูเออี จะมีการบริโภคอาหารทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนตัน ภายในปี 2573 ขณะที่การทำประมงภายในยูเออี ทำได้เพียง 75,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของการทำประมงในภูมิภาคนี้ ดังนั้นแนวโน้มตลาด จึงมีการเติบโตได้สูงมาก เนื่องจากอาหารกระป๋องเป็นที่ต้องการในการดำเนินชีวิตปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ และผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบาย
โดยไทยส่งออกปลากระป๋องไปยูเออี ปี 2555-2557 เฉลี่ยปีละ 63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 การบริโภคอาหารทะเลของยูเออี เฉลี่ยอยู่ที่ 24 กิโลกรัมต่อคนต่อปี จึงคาดยูเออี จะมีการบริโภคอาหารทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนตัน ภายในปี 2573 ขณะที่การทำประมงภายในยูเออี ทำได้เพียง 75,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของการทำประมงในภูมิภาคนี้ ดังนั้นแนวโน้มตลาด จึงมีการเติบโตได้สูงมาก เนื่องจากอาหารกระป๋องเป็นที่ต้องการในการดำเนินชีวิตปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ และผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบาย