นายรัตนชัย นามวงศ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โครงการที่ กฟผ.ประมูลสร้าง 2 โรงไฟฟ้าทดแทนพระนครใต้และบางปะกง ขณะนี้มีข่าวดีต้นทุนต่ำกว่าประมาณการเดิม ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ จังหวัดกระบี่ รอกระบวนการไตรภาคีและคาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนพระนครใต้ เฟส 1 จังหวัดสมุทรปราการ กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ทางกิจการค้าร่วมระหว่างซีเมนส์ และมารูเบนิเป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคาก่อสร้าง 18,405 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าบางปะกงทดแทนเครื่องที่ 1-2 จังหวัดฉะเชิงเทราว่า กำลังผลิต 1,234 เมกะวัตต์ มีกิจการค้าร่วมระหว่างซูมิโตโม, แบล็ค แอนด์ วิชซ์ (ประเทศไทย) และอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคา 21,882 ล้านบาท โดยจากราคาน้ำมันและเหล็กที่ลดลง ส่งผลค่าจัดซื้อและจ้างก่อสร้างของทั้ง 2 โครงการนี้รวมกันต่ำกว่าราคากลางที่ประเมินไว้ถึงร้อยละ 31.05 หรือประมาณ 18,142 ล้านบาท ส่งผลต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่สูงกว่าระดับที่เหมาะสม โดยประเมินว่าค่าไฟฟ้าจากทั้ง 2 โครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 บาทกว่าต่อหน่วย กำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ภายในเดือนเมษายน 2562
สำหรับการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาด้านเทคนิคและราคา (Bidding Documents)โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา เฟส 1 ได้รับความสนใจอย่างมาก เปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาในส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าวันที่ 19 พฤษภาคม – 21 กรกฎาคม ปรากฎว่าถึงวันที่ 13 กรกฎาคม มีผู้ซื้อเอกสารไปแแล้ว 8 ราย กำหนดยื่นซองประกวดราคาวันที่ 19 ตุลาคม ส่วนการก่อสร้างท่าเรือและระบบสายพานลำเลียงถ่านหินเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม – 25 กรกฎาคม และเมื่อถึงวันที่ 13 กรกฎาคม มีผู้ซื้อไปแล้ว 12 ราย กำหนดยื่นซองวันที่ 26 ตุลาคม
นายรัตนชัย กล่าวอีกว่า ผู้ซื้อซองประกวดราคามีทั้งผู้เล่นหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่น่าสนใจ คือ มีบริษัทจีน 2-3 ราย แสดงว่าจีนต้องการเข้ามาเปิดตลาดในภูมิภาคนี้มากขึ้น ซึ่งการประมูลครั้งนี้คู่ขนานกับขั้นตอนรอการพิจารณารายงานผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) เพื่อให้โครงการเดินหน้าอย่างรวดเร็วและจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ทันกำหนดในปี 2564
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนพระนครใต้ เฟส 1 จังหวัดสมุทรปราการ กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ทางกิจการค้าร่วมระหว่างซีเมนส์ และมารูเบนิเป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคาก่อสร้าง 18,405 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าบางปะกงทดแทนเครื่องที่ 1-2 จังหวัดฉะเชิงเทราว่า กำลังผลิต 1,234 เมกะวัตต์ มีกิจการค้าร่วมระหว่างซูมิโตโม, แบล็ค แอนด์ วิชซ์ (ประเทศไทย) และอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคา 21,882 ล้านบาท โดยจากราคาน้ำมันและเหล็กที่ลดลง ส่งผลค่าจัดซื้อและจ้างก่อสร้างของทั้ง 2 โครงการนี้รวมกันต่ำกว่าราคากลางที่ประเมินไว้ถึงร้อยละ 31.05 หรือประมาณ 18,142 ล้านบาท ส่งผลต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่สูงกว่าระดับที่เหมาะสม โดยประเมินว่าค่าไฟฟ้าจากทั้ง 2 โครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 บาทกว่าต่อหน่วย กำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ภายในเดือนเมษายน 2562
สำหรับการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาด้านเทคนิคและราคา (Bidding Documents)โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา เฟส 1 ได้รับความสนใจอย่างมาก เปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาในส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าวันที่ 19 พฤษภาคม – 21 กรกฎาคม ปรากฎว่าถึงวันที่ 13 กรกฎาคม มีผู้ซื้อเอกสารไปแแล้ว 8 ราย กำหนดยื่นซองประกวดราคาวันที่ 19 ตุลาคม ส่วนการก่อสร้างท่าเรือและระบบสายพานลำเลียงถ่านหินเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม – 25 กรกฎาคม และเมื่อถึงวันที่ 13 กรกฎาคม มีผู้ซื้อไปแล้ว 12 ราย กำหนดยื่นซองวันที่ 26 ตุลาคม
นายรัตนชัย กล่าวอีกว่า ผู้ซื้อซองประกวดราคามีทั้งผู้เล่นหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่น่าสนใจ คือ มีบริษัทจีน 2-3 ราย แสดงว่าจีนต้องการเข้ามาเปิดตลาดในภูมิภาคนี้มากขึ้น ซึ่งการประมูลครั้งนี้คู่ขนานกับขั้นตอนรอการพิจารณารายงานผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) เพื่อให้โครงการเดินหน้าอย่างรวดเร็วและจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ทันกำหนดในปี 2564