วันนี้ (15 ก.ค.) หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กับพวกรวม 13 คน กรณีขอเพิกถอนประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ และขอให้ระงับการออกอากาศรายการ “7 สิงหาประชามติร่วมใจ” โดยศาลเห็นว่าประกาศดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำ และยกตัวอย่างวิธีการที่ กกต.เห็นว่า ประชาชนสามารถดำเนินการได้เท่านั้น ซึ่งนอกจากวิธีการดังกล่าวแล้วประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมายได้ ส่วนที่ห้ามการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ จัดเวทีสัมมนาอภิปราย การชักชวนให้ใส่เสื้อหรือติดป้ายที่แสดงสัญลักษณ์ หรือการรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม โดยข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ หรือการชุมนุมทางการเมือง หรือขัดขวางการออกเสียงนั้น ก็ไม่ได้กำหนดถึงผลหรือโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม และไม่ได้อ้างถึงบทบัญญัติที่กำหนดโทษทางอาญา การกระทำตามข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีโทษอาญา จึงเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไปหรือตัวอย่างที่อธิบาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ส่วนการจัดรายการ “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงนั้น ศาลฯเห็นว่ามีการจัดสรรเวลาให้กกต. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยอยู่ในดุลพินิจของแต่ละสถานี ดังนั้นผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา
ส่วนการจัดรายการ “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงนั้น ศาลฯเห็นว่ามีการจัดสรรเวลาให้กกต. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยอยู่ในดุลพินิจของแต่ละสถานี ดังนั้นผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา