พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงการใช้งบประมาณในโครงการต่างๆ ที่ไม่โปร่งใสของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่ากระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแล จะต้องมีการสอบสวน ซึ่งต้องรอขั้นตอนการสอบสวนก่อน จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป ทุกอย่างมีกฎหมายรองรับ เมื่อมีการร้องทุกข์ก็จะมีการสอบสวนหาที่มา
ส่วนกรณีมีความจำเป็นต้องให้ศูนย์อำนวยต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เข้าไปตรวจสอบหรือไม่ นายกฯตอบว่า ยังก่อน รอให้มีกระบวนการสอบสวนก่อน เพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องของหน่วยงานที่จะต้องสอบสวนข้อเท็จจริง หากเห็นว่ามีมูลความผิดก็จะเข้าสู่กระบวนการ ทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอิสระ และขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราวเข้ามาดำเนินการ
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีสอบสวนข้อเท็จจริงตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบทุจริตโครงการค่าใช้จ่ายประดับตกแต่งไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของกทม.ว่า ทาง สตง.แจ้งมาที่กระทรวงมหาดไทย 2-3 ประการด้วยกันคือ ให้มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งทางกระทรวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงแล้ว สตง.ยังแจ้งมาด้วยว่าให้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และให้ตั้งกรรมการสอบวินัยเจ้าหน้าที่ กทม. หากพบมีความผิดให้แจ้งความฟ้องแพ่งผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามที่ สตง.แจ้งมาแล้ว
สำหรับการพิจารณาปลดหรือจะพักงานผู้ว่าฯ กทม.ได้หรือไม่นั้น จะต้องรอให้คดีถึงสิ้นสุดก่อนใช่หรือไม่ รมว.มหาดไทยตอบว่า คงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะต้องให้คณะกรรมการสรุปข้อเท็จจริงก่อน แล้วดูตามระเบียบตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้
ขณะที่ นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พล.อ.อนุพงษ์แจ้งให้ตนทำตามกฎหมาย ก็ได้ดำเนินการตามนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งหมด ในส่วนปลัดกระทรวงมหาดไทย จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย จะเป็นคดีทางแพ่ง วินัย และอาญา แล้วตามขั้นตอนถนนทุกสายจะต้องมุ่งไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เช่น ทางอาญา ต้องไปแจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีเวลา 30 วัน ในการรวบรวมหลักฐานเบื้องต้น แล้วส่งไป ป.ป.ช.เพื่อตั้งคณะกรรมการไต่สวนขึ้นมา เรื่องนี้อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ
“ในเรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่กำกับดูแล กทม. มันจะต่างกันกับจังหวัดอื่นๆ หากเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วไปมีการทำผิด ผมสามารถดำเนินการได้เลย ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา แต่นี่เป็นผู้ว่าฯ กทม. เรามีหน้าที่เพียงไปกำกับดูแล ส่วนหนังสือด่วนที่สุดที่ส่งถึงผู้ว่าราชการ กทม. ทาง กทม.จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แต่ถ้าหาก กทม.ไม่ดำเนินการตามหนังสือที่ส่งไป ก็จะต้องมาพิจารณาสิ่งที่เขาไม่ดำเนินการมีเหตุผลหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุผล แล้วเกิดความเสียหาย ความผิดก็จะหนักขึ้น จากเดิมผิดแค่บุคคลเดียว ถ้าผู้รับเรื่องไม่เสนอขึ้นไปให้นาย จะถือว่ามีความผิดด้วย เบี้ยวไม่ได้หรอกงานนี้” ปลัด มท.กล่าว
ส่วนกรณีมีความจำเป็นต้องให้ศูนย์อำนวยต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เข้าไปตรวจสอบหรือไม่ นายกฯตอบว่า ยังก่อน รอให้มีกระบวนการสอบสวนก่อน เพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องของหน่วยงานที่จะต้องสอบสวนข้อเท็จจริง หากเห็นว่ามีมูลความผิดก็จะเข้าสู่กระบวนการ ทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอิสระ และขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราวเข้ามาดำเนินการ
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีสอบสวนข้อเท็จจริงตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบทุจริตโครงการค่าใช้จ่ายประดับตกแต่งไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของกทม.ว่า ทาง สตง.แจ้งมาที่กระทรวงมหาดไทย 2-3 ประการด้วยกันคือ ให้มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งทางกระทรวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงแล้ว สตง.ยังแจ้งมาด้วยว่าให้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และให้ตั้งกรรมการสอบวินัยเจ้าหน้าที่ กทม. หากพบมีความผิดให้แจ้งความฟ้องแพ่งผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามที่ สตง.แจ้งมาแล้ว
สำหรับการพิจารณาปลดหรือจะพักงานผู้ว่าฯ กทม.ได้หรือไม่นั้น จะต้องรอให้คดีถึงสิ้นสุดก่อนใช่หรือไม่ รมว.มหาดไทยตอบว่า คงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะต้องให้คณะกรรมการสรุปข้อเท็จจริงก่อน แล้วดูตามระเบียบตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้
ขณะที่ นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พล.อ.อนุพงษ์แจ้งให้ตนทำตามกฎหมาย ก็ได้ดำเนินการตามนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งหมด ในส่วนปลัดกระทรวงมหาดไทย จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย จะเป็นคดีทางแพ่ง วินัย และอาญา แล้วตามขั้นตอนถนนทุกสายจะต้องมุ่งไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เช่น ทางอาญา ต้องไปแจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีเวลา 30 วัน ในการรวบรวมหลักฐานเบื้องต้น แล้วส่งไป ป.ป.ช.เพื่อตั้งคณะกรรมการไต่สวนขึ้นมา เรื่องนี้อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ
“ในเรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่กำกับดูแล กทม. มันจะต่างกันกับจังหวัดอื่นๆ หากเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วไปมีการทำผิด ผมสามารถดำเนินการได้เลย ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา แต่นี่เป็นผู้ว่าฯ กทม. เรามีหน้าที่เพียงไปกำกับดูแล ส่วนหนังสือด่วนที่สุดที่ส่งถึงผู้ว่าราชการ กทม. ทาง กทม.จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แต่ถ้าหาก กทม.ไม่ดำเนินการตามหนังสือที่ส่งไป ก็จะต้องมาพิจารณาสิ่งที่เขาไม่ดำเนินการมีเหตุผลหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุผล แล้วเกิดความเสียหาย ความผิดก็จะหนักขึ้น จากเดิมผิดแค่บุคคลเดียว ถ้าผู้รับเรื่องไม่เสนอขึ้นไปให้นาย จะถือว่ามีความผิดด้วย เบี้ยวไม่ได้หรอกงานนี้” ปลัด มท.กล่าว