นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีสื่อออนไลน์มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกากรณี ลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก หรือเกษียณก่อนกำหนด (เออร์ลี่รีไทร์) จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพราะเหตุการเลิกจ้างไม่ ใช่เป็นการลาออกนั้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีก่อน ซึ่งช่วงนั้นมี นายปั้น วรรณพินิจ เป็นเลขาธิการ สปส. และตนเป็นผอ.กองนิติการ ซึ่งภายในมีความเห็นไม่ตรงกัน ระหว่างหน่วยงานของ สปส. โดยกองนิติการเห็นว่ากรณีลูกจ้างเข้าโครงการสมัครใจ ลาออกหรือเกษียณก่อนกำหนดควรถือเป็นการเลิกจ้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติมองว่าเป็นการลาออกเอง ดังนั้น กองนิติการจึงยื่นเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเพื่อให้ประเด็นนี้ได้ ข้อยุติและปฏิบัติให้ตรงกัน
เลขาธิการสปส. กล่าวอีกว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยออกมาว่า กรณีลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลาออกหรือเกษียณก่อนกำหนดให้ถือเป็นการเลิกจ้าง เพราะไม่ใช่เป็นลาออกเองของลูกจ้างตามปกติ แต่เป็นโครงการที่สถานประกอบการจัดขึ้นโดยมีการจ่ายเงินชดเชยตามอายุงาน ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และอำนาจการตัดสินใจให้ลูกจ้างเข้าร่วมโครงการอยู่ที่สถานประกอบการไม่ได้ อยู่ที่ตัวลูกจ้าง ทำให้ประเด็นนี้ได้ข้อยุติโดยทุกฝ่ายทั้งสปส. นายจ้างและลูกจ้างต่างยอมรับและเข้าใจตรงกัน
นายโกวิท กล่าวด้วยว่า นับแต่นั้นมาทุกหน่วยงานของสปส.ได้ยึดตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นแนวปฏิบัติมาโดยตลอด จะจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลา ออกหรือเกษียณก่อนกำหนดให้ถือเป็นกรณีเลิกจ้างโดยได้รับร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งกรณีของลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทรค) ของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าร่วมโครงการจากกันด้วยใจก็เช่นกัน ขณะที่กรณีลูกจ้างลาออกเองนั้นได้รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างเข้าข่ายกรณีเลิกจ้างได้รับเงินกรณีว่างงานไม่ถูกต้องก็สามารถ ร้องเรียนได้ที่สปส.
เลขาธิการสปส. กล่าวอีกว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยออกมาว่า กรณีลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลาออกหรือเกษียณก่อนกำหนดให้ถือเป็นการเลิกจ้าง เพราะไม่ใช่เป็นลาออกเองของลูกจ้างตามปกติ แต่เป็นโครงการที่สถานประกอบการจัดขึ้นโดยมีการจ่ายเงินชดเชยตามอายุงาน ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และอำนาจการตัดสินใจให้ลูกจ้างเข้าร่วมโครงการอยู่ที่สถานประกอบการไม่ได้ อยู่ที่ตัวลูกจ้าง ทำให้ประเด็นนี้ได้ข้อยุติโดยทุกฝ่ายทั้งสปส. นายจ้างและลูกจ้างต่างยอมรับและเข้าใจตรงกัน
นายโกวิท กล่าวด้วยว่า นับแต่นั้นมาทุกหน่วยงานของสปส.ได้ยึดตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นแนวปฏิบัติมาโดยตลอด จะจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลา ออกหรือเกษียณก่อนกำหนดให้ถือเป็นกรณีเลิกจ้างโดยได้รับร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งกรณีของลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทรค) ของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าร่วมโครงการจากกันด้วยใจก็เช่นกัน ขณะที่กรณีลูกจ้างลาออกเองนั้นได้รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างเข้าข่ายกรณีเลิกจ้างได้รับเงินกรณีว่างงานไม่ถูกต้องก็สามารถ ร้องเรียนได้ที่สปส.