ผู้นำเยอรมนี ฝรั่งเศสและอิตาลี เปิดเผยหลังหารือในวันจันทร์(27มิ.ย.) ประกาศว่าภาวะซวนเซจาก Brexit คือแรงกระตุ้นใหม่สำหรับอียู และบอกฝากไปยังอังกฤษว่าจะไม่มีข้อตกลงใดๆก่อนที่ลอนดอนจะแจ้งต่อบรัสเซลส์อย่างเป็นทางการว่าจะถอนตัวออกจากกลุ่ม ขณะที่ผู้นำแดนน้ำหอมไล่ส่งระบุทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์หากกระบวนการแยกตัวดำเนินการอย่างรวดเร็ว
คำเตือนจาก 3 ประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดของอียูเป็นการส่งสัญญาณว่าลำดับแรกอังกฤษต้องใช้อำนาจตามมาตรา 50 แจ้งเจตนารมณ์ในการออกจากสหภาพก่อน แล้วถึงจะสามารถเจรจาอนาคตทางการค้าและความสัมพันธ์อื่นๆกับทางกลุ่ม
นางอังเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ที่มีประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศสและมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีเข้าร่วม ระบุว่า "เราเห็นพ้องกันในเรื่องนี้ จะไม่มีการหารือกันทั้งอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการต่อการออกจากอียูของอังกฤษ จนกว่าจะมีการยื่นคำร้องออกจากสหภาพยุโรป"
จอร์จ ออสบอน รัฐมนตรีคลังของอังกฤษบอกก่อนหน้านี้ว่าประเทศของเขาควรใช้อำนาจตามมาตรา 50 ก็ต่อเมื่อมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างอังกฤษกับอียูเสียก่อน
ด้านนายออลลองด์ พูดจากขวานผ่าซากกว่านางแมร์โคิล โดยเร่งเร้าอังกฤษอย่ามัวเสียเวลาเหนี่ยวไกปืนในกระบวนการถอนตัวออกจากอียู ระบุทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์หากกระบวนการแยกตัวดำเนินการอย่างรวดเร็ว
คำเตือนจาก 3 ประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดของอียูเป็นการส่งสัญญาณว่าลำดับแรกอังกฤษต้องใช้อำนาจตามมาตรา 50 แจ้งเจตนารมณ์ในการออกจากสหภาพก่อน แล้วถึงจะสามารถเจรจาอนาคตทางการค้าและความสัมพันธ์อื่นๆกับทางกลุ่ม
นางอังเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ที่มีประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศสและมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีเข้าร่วม ระบุว่า "เราเห็นพ้องกันในเรื่องนี้ จะไม่มีการหารือกันทั้งอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการต่อการออกจากอียูของอังกฤษ จนกว่าจะมีการยื่นคำร้องออกจากสหภาพยุโรป"
จอร์จ ออสบอน รัฐมนตรีคลังของอังกฤษบอกก่อนหน้านี้ว่าประเทศของเขาควรใช้อำนาจตามมาตรา 50 ก็ต่อเมื่อมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างอังกฤษกับอียูเสียก่อน
ด้านนายออลลองด์ พูดจากขวานผ่าซากกว่านางแมร์โคิล โดยเร่งเร้าอังกฤษอย่ามัวเสียเวลาเหนี่ยวไกปืนในกระบวนการถอนตัวออกจากอียู ระบุทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์หากกระบวนการแยกตัวดำเนินการอย่างรวดเร็ว