xs
xsm
sm
md
lg

คำต่อคำ : คืนความสุขให้คนในชาติ 24 มิถุนายน 2559

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน จากการเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการ ผมและคณะรัฐมนตรีก็ได้มีโอกาสสักการะศาสนสถานที่สำคัญของศาสนาพุทธ หรือที่เรียกว่าสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ได้มีโอกาสประกอบประเพณีที่สำคัญอย่างเช่นการสวดมนต์ และเจริญจิตภาวนาได้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และได้ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี และถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ด้วยบทฉันท์เฉลิมพระเกียรติ สัตตติวัสสรัชชกาล วรทานคาถา

ทั้งนี้ ภายหลังประกอบพิธีสำคัญดังกล่าวก็มีฝนโปรยปลายลงมาสร้างความชุ่มฉ่ำปลาบปลื้ม และประหลาดใจในคราวเดียวกัน เนื่องจากทราบมาว่าบริเวณนั้นไม่มีผลตกมานานหลายเดือนแล้ว

สำหรับบทฉันท์เฉลิมพระเกียรติดังกล่าวนั้น มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบในทุกวัด และพุทธศาสนิกชนไทยทั้งในประเทศ และทั่วโลกได้ใช้สวดมนต์ทำวัตรเย็น หรือหลังสวดมนต์ที่บ้านประจำวัน เพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึง 30 มิถุนายน 2560 พี่น้องประชาชนสามารถดาวน์โหลดบทฉันท์เฉลิมพระเกียรติพร้อมคำแปลได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายละเอียดตามด่านล่างของจอนี้ครับ

โดยปัจจุบันนั้นรัฐบาลได้ให้สำนักพระพุทธศาสนาร่วมกับหน่วยราชการ รัฐบาล ร่วมกันจัดถวายในวัดต่างๆ มีการถ่ายทอดวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราวนะครับ

อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่หน้าชื่นชมเป็นตัวอย่างของเด็กรุ่นใหม่นะครับกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องของความรักชาติ ที่เรากล่าวแล้วรักได้ทุกวัน ไม่นิ่งดูดายนะครับ ก็คือ ด.ช.ประทีป ช่วงชู นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม อ.เมือง จ.อ่างทอง ที่เดินฟ่าสายฝนไม่กลัวเปียก เพื่อมาเก็บธงชาติที่ปลิวลมมาตกอยู่กลางถนน ยิ่งกว่านั้นคำกล่าว ของ ด.ช.ประทีป ที่น่าประทับใจก็คือ ครูสอนว่าธงชาติเป็นของสูงเพราะแสดงถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ควรอยู่ที่สูง ขอบคุณครูด้วย แต่ผมยังเป็นห่วงอุบัติเหตุ และสุขภาพของเขาเหมือนกันเขายังเด็กอยู่ ขอบคุณนายสุริยะ เจริญ นักเรียนรุ่นพี่ที่พบเห็นคนดีในสังคม และถ่ายภาพมาแชร์ในโลกออนไลน์เป็นการใช้สื่อที่สร้างสรรค์ เหตุการณ์เหล่านี้อาจถือเป็นเรื่องเล็ก แต่ผมถือว่ามันแสดงให้เห็นในเนื้อแท้ในสังคมไทยที่เรามีประวัติศาสตร์ สถาบันหลักมายาวนาน มีชนรุ่นหลังซึ่งมีคงามภาคภูมิใจ เช่น พระบรมมหาราชวังแห่งเกาะรัตนโกสินทร์ และวัดพระแก้วของเรา ผมว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความแน่นแฟ้นของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของไทยในสถานที่เดียวกัน วันนี้ได้รับความนิยมในการเข้าชมของนักท่องเที่ยว เป็นอันดับ 3 จากพระราชวังทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวเข้าชม 8 ล้านคนต่อปี

นอกจากนี้ วัฒนธรรมไทยที่มีน้ำใจมีจิตสาธารณะมีรอยยิ้มให้กัน ก็เป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของชาติ ที่เราควรภาคภูมิใด้วย อีกหนึ่งคนตัวอย่างที่ผมขอเป็นตัวแทนพี่น้องชาวไทยในการแสดงความยินดีคือ คุณมณเฑียร บุญตัน ที่พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิด ในที่ประชุมประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ สมัยที่ 9 ได้มีมติมอบให้ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติอีก 1 สมัย วาระ 4 ปี 2560-2563 ด้วยคะแนนเสียงถึง 102 คะแนน จาก 160 ประเทศ ได้เป็นอันดับที่ 4 จากผู้สมัครเลือกตั้ง 18 คน แสดงให้เห็นว่าในประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ประจักษ์ในศักยภาพผลงานและความมุ่งมั่นในการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิคนพิการของคุณมณเฑียรในประเทศไทย แม้ว่าร่างกายจะไม่สมบูรณ์เกิดในครอบครัวชาวนา แต่ก็ไม่ยอมแพ้ชะตาชีวิต ปัจจุบันก็เป็นนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมาชิกสภาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปัจจุบัน ผมก็ขอให้คุณมณเฑียร ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อผู้พิการของไทย และของโลกในเวลาเดียวกันด้วย ด้วยความภูมิใจในหน้าที่ตั้งแต่ที่รับมอบ รัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนบทบาทของนายมณเฑียร ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ต่อไป ที่ผ่านมานั้นในส่วนของรัฐบาลได้มีการผลักดันมาตรการต่างๆ และมีการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ที่สำคัญได้แก่ การเข้าถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป เช่น การลงประชามติ 7 สิงหาคมนี้ ก็มีวิธีการพิเศษเฉพาะสำหรับคนพิการ

ต่อไปก็คือการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การคมนาคมขนส่ง ข้อมูลข่าวสาร การบริการสาธารณะ เช่น ชุมชนต้นแบบ อารยสถาปัตย์ เกาะเกร็ด และรถเมล์ชานต่ำ ซึ่งจะต้องอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ และเด็ก เป็น

ต่อไปก็คือการยอมรับความเท่าเทียมทางกกฎหมาย ด้านศึกษา ด้านสุขภาพและการทำงาน เช่น มีศูนย์บริการนักศึกษาพิการ การกำหนดสัดส่วนการจ้างงานคนพิการร้อยละ 1 การรักษาพยาบาลฟรี และตู้คีออสแปลภาษามือตามสถานที่ราชการ โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้า สำหรับให้บริการผู้พิการทางการได้ยินและการพูดเหล่านี้เป็นต้น

อีกประการหนึ่งคือ การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ทั้งนี้ผมขอยืนยันว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าที่สุดของประเทศชาติ หากได้รับการส่งเสริมในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว จะเป็นพลัง ไม่ใช่เป็นภาระของสังคม สิ่งหนึ่งที่จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ คือ การศึกษา ในวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นได้มีการพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการผู้นำ เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ConnectED เป็นการขับเคลื่อนด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ผ่านข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน หรือที่เรียกว่า คณะทำงานประชารัฐ นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตของชาติ ด้วยการสนับสนุนในทุกมิติ สำหรับการวางรากฐานด้านการศึกษาของประเทศ เพราะชาติไทยนั้นเป็นของทุกคน เกือบ 70 ล้านคน จะต้องดูแลในเรื่องการศึกษาให้ดีที่สุด เพราะว่าการศึกษาไม่ใช่ถือว่าเป็นภาระหน้าที่แต่เพียงครู ผู้ปกครอง รัฐเท่านั้น ภาคเอกชนก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นทั้งตลาดแรงงาน ภาคการผลิตของประเทศก็ควรจะมีส่วนรับผิดชอบด้วย วันนี้ท่านรู้ไหมครับว่า ประเทศไทยขาดแคลนวิศวกร เพื่อป้อนตลาดแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

สำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทย หรือการไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ขาดจำนวนมาก ดังนั้นทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการยกระดับมาตรฐาน และคุณภาพการศึกษาไทยสู่สากลด้วย ที่ผ่านมาบริษัท ผู้ประกอบการ ได้ใช้งบประมาณ CSR ซื้อของให้สถานที่ศึกษา แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ แต่ไม่มีโอกาสใช้ศักยภาพของภาคเอกชนในการช่วยพัฒนาภาคการศึกษาของประเทศ วันนี้ผมยินดีขอบคุณที่โรงเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ได้รับการดูแลตามแนวทางของประชารัฐอย่างเป็นรูปธรรม ภาคเอกชนจะเข้ามาเสริมเติมเต็มภาครัฐในส่วนที่ขาดตกบกพร่องไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะเอกชน 12 รายเท่านั้นนะครับ ก็ขอเชิญชวนเอกชนรายอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์เพื่อชาติเข้ามาร่วมโครงการได้ตลอดเวลา หลักการที่สำคัญในการทำงานร่วมกันก็คือ การน้อมนำยุทธศาสตร์การพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยภาคเอกชนจะมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนหลักในการให้คำปรึกษา งบประมาณ บุคลากรในองค์กรที่สมัครใจเป็นผู้นำรุ่นใหม่ ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ทำงานร่วมกับผู้สนับสนุนบริหารสถานศึกษา ที่ร่วมเป็นเจ้าบ้าน เป็นผู้แทนโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง ผู้เรียน ที่ต้องระเบิดจากข้างในก็คือ รู้ศักยภาพและความต้องการท้องถิ่นของตนเอง เป้าหมายของโครงการแรกๆในปีนี้ 3,342 โรงเรียน ระยะต่อมาภายใน 3 ปี จะขยายให้ครบ 7,424 โรงเรียน ในทุกตำบลทั่วประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 10 ด้าน มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิตัล และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของสถานศึกษาตามหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ดึงศักยภาพของเด็กในการคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าศึกษาด้วยตัวเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาผู้บริหารศึกษาและผู้สอนให้มีทักษะและกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศ การยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยการศึกษาตรงจากเจ้าของภาษา สอดแทรกในวิชาต่างๆ การจัดตั้งกองทุนโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษา และพัฒนาโรงเรียน เป็นต้น

ก้าวต่อไปคือการยกระดับสถานศึกษาของไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น ไบโอเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี และหุ่นยนต์ เป็นต้น เพื่อจะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมก็คือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ มีความรู้คู่กับคุณธรรม ถ้าหากทุกคนช่วยกันเป็นแบบนี้ การพัฒนาวัตถุจะสมดุลกับการพัฒนาทางจิตใจ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับการพัฒนาศักยภาพจากสิ่งที่เรามีอยู่ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจมหภาพ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค เช่นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย โดยได้มีการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพท่าอากาศยานอู่ตะเภา ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร กระทรวงคมนาคม เสนอมา ซึ่งจากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปได้ว่า พื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภามีศักยภาพในการพัฒนา เป็นศูนย์อุตสาหกรรมอากาศยานครบวงจร ซึ่งจะประกอบไปด้วย กิจกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ของท่าอากาศยาน ไม่ต้องเสียเวลา และงบประมาณในการส่งเครื่องบินไปซ่อมในต่างประเทศ เพราะเราพร้อม ทั้งเรื่องการร่วมทุน และมีนักลงทุนของไทยอยู่แล้ว ก็จะขยายการซ่อมเครื่องบินไปทุกสายการบินด้วย 2.คือกิจกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งจะต้องอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออก ซึ่งมีอยู่หลายที่ด้วยกันและที่สำคัญที่สุดคือการยกระดับท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของประเทศ นอกเหนือจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุด ตอบสนองจากภารกิจ 2 ด้านอย่างสมดุล ภายใต้แนวคิด One Airport to Missions ทั้งภารกิจด้านความมั่นคง และในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้เพื่อให้รองรับโดยการใช้งานให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศ และภูมิภาค ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นได้ทุกวัน อีกทั้งจะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว ฝั่งทะเลตะวันออก โดยการพัฒนาบูรณาการการท่องเที่ยวหาดทราย ชายทะเล สู่การท่องเที่ยวสีเขียว เชื่อมโยงกันไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีแผนการดำเนินงาน 3 ระยะ 13 ปี ประกอบไปด้วยการพัฒนาโรงซ่อมอากาศยาน โรงซ่อมเครื่องยนต์ การเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารเป็น 3 ล้านคนต่อปีภายในปี 2561 และ 5 ล้านคนต่อปีภายในปี 2563 เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า เราต้องดำเนินการให้ได้ตามมาตรฐานสากล เช่น ของไอซีโอด้วย เราจะปล่อยปละละเลยจนเป็นปัญหาเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว

นอกจากนั้นเราต้องคิดให้ครบวงจร ทำคู่ขนานกันไป อย่างน้อยอีก 2 เรื่อง ได้แก่การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วปานกลางถึงสูง ให้รองรับการสัญจรของประชาชน นักท่องเที่ยวและสินค้าอนาคตด้วย ผมให้พิจารณาเพิ่มไปถึงแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ว่าทำยังไงจะเชื่อมโยงทั้ง 3 สนามบินได้ มันจะได้มีการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยว หรือชาวต่างประเทศ หรือคนไทยก็ตามในการเดินทางทั้งภาคตะวันออก มาภาคกลาง หรือเชื่อมโยงไปยังภาคใต้ หรืออื่นๆอีกต่อไปในอนาคต

ในส่วนสุดท้ายคือการพัฒนาหลักสูตรและศูนย์ฝึกอบรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอากาศยาน ในการลงพื้นที่เพื่อตรวจราชการใน จ.ระยอง ในวันพุธที่ผ่านมา เป็นจังหวัดที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ จีดีพีต่อหัวเป็นอันดับที่ 1 ประมาณ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี นอกจากนั้นก็ไปติดตามความคืบหน้าการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ที่ได้กล่าวไปแล้ว จากนั้นผมได้เดินทางไปพบปะและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ อ.บ้านฉาง ได้ชมนิทรรศการ ความร่วมมือของสมาคม บริษัท ห้างร้าน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยราชการ ตามแนวทางประชารัฐ และการช่วยเหลือสังคมตามแนวคิดวิสาหกิจชุมชน และลักษณะสมาคมเพื่อนชุมชน เพื่อสนับสนุนชาวบ้านในพื้นที่ให้มีอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน เช่น ธรรมศาสตร์โมเดล จะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ของชาวเกาะกก รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ โดยได้มีการลงไปทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อจะต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ผมก็ได้แนะนำให้สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการให้มีการออกแบบแพคเกจให้สวยงาม ทันสมัย ให้น่าสนใจ ทุกอย่าง มีรสชาติอร่อยเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เพิ่มด้วยการสร้างเรื่องราวให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เช่น ที่เราเรียกว่าสร้าง story เช่น อาหารไทย ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของโลก ผัดไทย ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ส้มตำ ถ้าเราสามารถสร้างเรื่องราว สร้างความน่าสนใจในเรื่องสูตรอาหารที่มีมาตรฐาน เครื่องเทศ เครื่องปรุง ผลประโยชน์ทางสุขภาพ ทั้งที่มาและวิธีการ เราก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ร้านค้า วัตถุดิบในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

อีกโครงการที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญก็คือโครงการปลูกปะการังเขากวางบนแปลงท่อพีวีซี ซึ่งจะใช้เป็นฐานยึดกิ่งปะการัง เลียนแบบลักษณะธรรมชาติ ทั้งนี้ เพื่อจะฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลที่ถูกทำลายด้วยการทำประมงแบบผิดกฎหมาย ทั้งระเบิดปลา ใช้เครื่องมือหาปลาที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งการฟอกขาวของปะการังจากภาวะโลกร้อน เป็นต้น

ผมได้รับรายงานว่า มีผลงานวิจัยอื่นๆ อีกอย่างน้อย 2 ผลงาน ที่น่าจะนำมาขยายผลให้ทุกคนทราบ ก็คือการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และการขยายพันธุ์ปะการังเขากวางแบบย้ายปลูก หรืออุปกรณ์เรือนแหวน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาในการประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ปี 2558 โดย สสวท. ก็ขอให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณานำไปขยายผลด้วย

สำหรับต่อไปก็คือการเยี่ยมชมโครงการก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งจะเป็นแนวกำแพงดินคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณหาดพะยูน และหาดน้ำริน เพื่อช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยแก้ไขปัญหาและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา ลดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว แหล่งประมงพื้นบ้าน อันจะเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ดังนั้น เมื่อชุมชนขอรับการสนับสนุนในประเภทเหล่านี้ รัฐบาลก็จำเป็นต้องสนับสนุนให้ อยากให้ทุกอย่างเป็นการระเบิดจากภายใน จากข้างในตัวตนของตัวเอง ของท้องถิ่น ทั้งนี้ เราจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด สนับสนุนได้ตรงอย่างที่เขาต้องการ มันจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง

โครงการลักษณะเช่นนี้รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณไปแล้วตั้งแต่ปี 2557 แล้ววันนี้ก็สำเร็จแล้วในระยะที่ 1 ก็มี 2-3 พื้นที่ จริงๆ แล้วก็มีทั้งประเทศ หลายพื้นที่ ที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก รัฐบาลนี้ให้ความสนใจนะครับ ก็จำเป็นต้องวางแผนงาน ให้เป็นไปตามห้วงระยะเวลา งบประมาณ ซึ่งอาจต้องใช้งบประมาณมากพอสมควร

สุดท้ายนี้ อีกความสำเร็จหนึ่งของประเทศ ก็คืออยากจะถ่ายทอดให้พี่น้องประชาชนได้ภาคภูมิใจร่วมกัน เพราะเป็นงานที่เกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่าย โดยองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศที่สำคัญ 4 องค์กร ได้แก่ องค์การอนามัยโลก (WHO) โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุข ได้มาพบผมเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ประเทศไทยของเราได้รับมอบเกียรติบัตรจากองค์การอนามัยโลก ในการบรรลุเป้าหมายองค์การอนามัยโลกในเรื่องของการยุติการถ่ายทอดเชื้อ HIV และซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก ลงต่ำกว่าร้อยละ 2 เป็นประเทศแรกของเอเชีย เป็นประเทศที่ 2 ของโลก โดยเฉพาะพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ต่อแม่และเด็กที่ติดเชื้อ HIV กองทุนที่ถูกจัดตั้งยังคงดำเนินการถึงปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือทั้งคนไทยและต่างชาติ ทั้งนี้ ไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาองค์ความรู้และการพัฒนาเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง เพื่อจะแลกเปลี่ยนทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการดำเนินการด้านเอดส์ในวิธีการต่างๆ ด้วย

กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 โดยไทยจะต้องเป็นต้นแบบในความสำเร็จในงานด้านสาธารณสุข ซึ่งจำเป็นต้องรับฟัง ร่วมมือ การสนับสนุน ทั้งด้านเทคนิค วิชาการ จากองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะให้ไทยบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเรื่องเอดส์ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ และลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ อันเนื่องมาจากสถานะการติดเชื้อ HIV รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน ที่จะกำหนดงานด้านสาธารณสุข การอนามัย และการควบคุมโรค ถูกบรรจุไว้ในกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้แนวทางการแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมและรอบด้าน ตั้งแต่การแก้ปัญหาจากต้นเหตุ กลางทาง และปลายทาง ที่มีการบังคับใช้กฎหมายและการสร้างจิตสำนึกในสังคมด้วย

ทั้งนี้ จิตสำนึกนั้นมีความสำคัญ จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะฉะนั้นอยู่ที่ตัวทุกคนอยู่แล้ว อย่าลืม มันสร้างกันไม่ได้ง่ายๆ แต่มันมีอยู่ในตัวคนทุกคน นำมาใช้เถอะครับ มันจะเป็นรากฐานในทุกเรื่อง และเราจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้สำเร็จ ก็จะเป็นเพียงการพัฒนาทางกายภาพ ทางวัตถุ ถ้าเราไม่สามารถพัฒนาด้านจิตใจ ปลุกจิตสำนึก ให้สำเร็จควบคู่ไปด้วยกันแล้ว การพัฒนาต่างๆ ก็จะไม่มีความยั่งยืน ก็ฝากกันดูแล สร้างตั้งแต่เด็กเล็กด้วย ให้ทุกคนมีคุณธรรม มีจิตสำนึก มีการเผื่อแผ่แบ่งปัน มีความกตัญญู เคารพในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจำเป็นต้องมีในเวลานี้ และต่อๆ ไปในอนาคต อย่างยั่งยืน ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น