ทั้งนายกฯคาเมรอนซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มหนุนให้อังกฤษเป็นสมาชิกอียูต่อไป และทั้งทางฝ่ายต่อต้านยุโรป ต่างออกตระเวนหาเสียงทั่วประเทศทิ้งทวน ก่อนถึงเวลาเปิดคูหาในวันพฤหัสบดี (23 มิ.ย.) ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติว่าจะ “อยู่ต่อ” หรือ “ถอนตัว” จากสหภาพยุโรป ซึ่งผู้สังเกตการณ์เห็นกันว่าจะเป็นการกำหนดอนาคตของยุโรปและโลกตะวันตก โดยที่ล่าสุดทั้งสองฝ่ายยังคงกล่าวหากันและกัน ว่าหาประโยชน์ทางการเมืองด้วยการสร้างสถานการณ์ให้ประชาชนหวาดกลัว ส่วนทางด้านนักธุรกิจชั้นนำกว่าพันคนร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเตือนว่า “เบร็กซิต” จะทำให้เศรษฐกิจอังกฤษย่ำแย่ตกอยู่ในภาวะ “ช็อก”
นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ซึ่งนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับวันพุธ (22) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการรณรงค์หาเสียง เพื่อส่งข้อความให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน โหวตให้อังกฤษเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ต่อไปในการทำประชามติที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันพฤหัสบดี(23) เวลา 6.00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 13.00 น. ตามเวลาไทย)
“ไม่มีใครรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น แต่ผมเชื่อว่า คงได้ผลชี้ขาดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะอังกฤษคงไม่ต้องการกลับมาที่จุดนี้อีก”
“วอตช์ ยูเค ติงค์ส” ซึ่งนำเอาผลโพลของสำนักต่างๆ มาประมวลอีกทีหนึ่ง ระบุว่า คะแนนเฉลี่ยจากผลสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า ฝ่าย “อยู่ต่อ” นำเฉียดฉิว 51 ต่อ 49 ขณะที่วาณิชธนกิจ “ซิตี้” ประเมินว่า มีโอกาส 60% ที่คนอังกฤษจะโหวต “อยู่ต่อ” กระนั้น หากฝ่ายอยู่ต่อชนะแค่ผิวเผิน ก็ยังอาจบ่อนทำลายเสถียรภาพการเมืองทั้งของอังกฤษเองและของอียู
ผู้นำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามาของอเมริกา, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี ต่างเรียกร้องให้อังกฤษคงอยู่กับอียู และบางคนเตือนถึงข้อเสียจากการโดดเดี่ยวตัวเอง
วันพุธ ทั้งฝ่าย “อยู่ต่อ และฝ่าย “ถอนตัว” ต่างตระเวนโน้มน้าวผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่ยังไม่ได้ตัดสินใจโดยมีการขึ้นเวทีหาเสียงในสถานที่หลายแห่งในลอนดอน และจะจบลงด้วยการดีเบตออกทีวีที่สถานีแชนเนล 4 ระหว่างไนเจล ฟาราจ หัวหน้าพรรคยูเค อินดิเพนเดนซ์ ปาร์ตี้ที่เป็นฝ่ายต่อต้านอียู กับอเล็กซ์ ซาลมอนด์ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีจากสก็อตแลนด์ซึ่งเป็นฝ่าย “อยู่ต่อ”
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เตือนอังกฤษอย่า “ทำร้ายตัวเอง” ซึ่งจะพลอยทำลายทุกสิ่งที่ชาติยุโรปร่วมกันสร้างสมขึ้นมา
ขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจเกือบ 1,300 คนที่ว่าจ้างพนักงานรวมกันกว่า 1.75 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้บริหารจากบริษัท 51 แห่งในบริษัทจดทะเบียนที่ถูกนำไปคำนวณในดัชนี FTSE 100 รวมทั้งริชาร์ด แบรนสัน ประธานกลุ่มเวอร์จิน และไมเคิล บลูมเบิร์ก เจ้าอาณาจักรสื่อจากอเมริกา ร่วมกันเผยแพร่คำเตือนผ่านหนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ ว่า เบร็กซิตจะทำให้ “เศรษฐกิจช็อก”
“การที่อังกฤษถอนตัวจากอียูหมายถึงความไม่แน่นอนสำหรับบริษัทของเรา การค้ากับยุโรปน้อยลง และตำแหน่งงานลดลง
“ในทางกลับกัน หากอังกฤษยังคงอยู่ในอียูจะหมายความว่า มีความแน่นอนมากขึ้น การค้าและตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กและพนักงานมีความเสี่ยงมากที่สุด หากอังกฤษออกจากอียู”
นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ซึ่งนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับวันพุธ (22) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการรณรงค์หาเสียง เพื่อส่งข้อความให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน โหวตให้อังกฤษเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ต่อไปในการทำประชามติที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันพฤหัสบดี(23) เวลา 6.00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตรงกับ 13.00 น. ตามเวลาไทย)
“ไม่มีใครรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น แต่ผมเชื่อว่า คงได้ผลชี้ขาดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะอังกฤษคงไม่ต้องการกลับมาที่จุดนี้อีก”
“วอตช์ ยูเค ติงค์ส” ซึ่งนำเอาผลโพลของสำนักต่างๆ มาประมวลอีกทีหนึ่ง ระบุว่า คะแนนเฉลี่ยจากผลสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า ฝ่าย “อยู่ต่อ” นำเฉียดฉิว 51 ต่อ 49 ขณะที่วาณิชธนกิจ “ซิตี้” ประเมินว่า มีโอกาส 60% ที่คนอังกฤษจะโหวต “อยู่ต่อ” กระนั้น หากฝ่ายอยู่ต่อชนะแค่ผิวเผิน ก็ยังอาจบ่อนทำลายเสถียรภาพการเมืองทั้งของอังกฤษเองและของอียู
ผู้นำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามาของอเมริกา, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี ต่างเรียกร้องให้อังกฤษคงอยู่กับอียู และบางคนเตือนถึงข้อเสียจากการโดดเดี่ยวตัวเอง
วันพุธ ทั้งฝ่าย “อยู่ต่อ และฝ่าย “ถอนตัว” ต่างตระเวนโน้มน้าวผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่ยังไม่ได้ตัดสินใจโดยมีการขึ้นเวทีหาเสียงในสถานที่หลายแห่งในลอนดอน และจะจบลงด้วยการดีเบตออกทีวีที่สถานีแชนเนล 4 ระหว่างไนเจล ฟาราจ หัวหน้าพรรคยูเค อินดิเพนเดนซ์ ปาร์ตี้ที่เป็นฝ่ายต่อต้านอียู กับอเล็กซ์ ซาลมอนด์ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีจากสก็อตแลนด์ซึ่งเป็นฝ่าย “อยู่ต่อ”
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เตือนอังกฤษอย่า “ทำร้ายตัวเอง” ซึ่งจะพลอยทำลายทุกสิ่งที่ชาติยุโรปร่วมกันสร้างสมขึ้นมา
ขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจเกือบ 1,300 คนที่ว่าจ้างพนักงานรวมกันกว่า 1.75 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้บริหารจากบริษัท 51 แห่งในบริษัทจดทะเบียนที่ถูกนำไปคำนวณในดัชนี FTSE 100 รวมทั้งริชาร์ด แบรนสัน ประธานกลุ่มเวอร์จิน และไมเคิล บลูมเบิร์ก เจ้าอาณาจักรสื่อจากอเมริกา ร่วมกันเผยแพร่คำเตือนผ่านหนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ ว่า เบร็กซิตจะทำให้ “เศรษฐกิจช็อก”
“การที่อังกฤษถอนตัวจากอียูหมายถึงความไม่แน่นอนสำหรับบริษัทของเรา การค้ากับยุโรปน้อยลง และตำแหน่งงานลดลง
“ในทางกลับกัน หากอังกฤษยังคงอยู่ในอียูจะหมายความว่า มีความแน่นอนมากขึ้น การค้าและตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กและพนักงานมีความเสี่ยงมากที่สุด หากอังกฤษออกจากอียู”