นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ คือโครงข่ายถนนที่ไม่มีความสมบูรณ์ ทำให้การเดินทางของประชาชนขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า กรุงเทพฯ ควรมีจำนวนถนนเพื่อเป็นโครงข่ายการเดินทางที่เหมาะสมประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ แต่ขณะนี้ กรุงเทพฯ กลับมีจำนวนถนนเพื่อการเดินทางเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก
ดังนั้น กทม.จึงต้องวางแนวทางเพิ่มจำนวนถนน สร้างโครงการการเดินทางให้เป็นรูปแบบวงแหวนที่สมบูรณ์ สำหรับถนนที่ต้องเร่งดำเนินการ คือถนน ง3 และ ช2 ซึ่งจะช่วยในการเชื่อมต่อวงแหวนอุตสาหกรรมให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
นายจุมพล กล่าวต่อว่า โครงการถนน ง3 เป็นการเชื่อมต่อถนนตากสิน-เพชรเกษม ยาวกว่า 21 กิโลเมตร ช่วยทำให้วงแหวนชั้นกลางของกรุงเทพฯ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่วนถนน ช2 จะเป็นการก่อสร้างเชื่อมต่อจากถนนเกษตรนวมินทร์ ยาวจนถนนเฉลิมพระเกียติ ยาวกว่า 20 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางสมบูรณ์ ช่วยเชื่อมการเดินทางฝั่งตะวันออก ให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ กทม.ได้นำเสนอโครงการเวนคืนพื้นที่ เพื่ออนุมัติการดำเนินการก่อสร้างถนนดังกล่าว ไปยังคณะรัฐมนตรี และออกเป็นกฎหมายเวนคืนพื้นที่แล้ว ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ กทม.จะพิจารณาดำเนินการก่อสร้างต่อไป
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว ที่มีประชาชนบางส่วนคัดค้านนั้น กทม.ก็เห็นใจและพร้อมทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งหากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างถนน กทม.จะมีส่วนที่ต้องชดเชยให้แก่ประชาชนตามกฎหมาย
ดังนั้น กทม.จึงต้องวางแนวทางเพิ่มจำนวนถนน สร้างโครงการการเดินทางให้เป็นรูปแบบวงแหวนที่สมบูรณ์ สำหรับถนนที่ต้องเร่งดำเนินการ คือถนน ง3 และ ช2 ซึ่งจะช่วยในการเชื่อมต่อวงแหวนอุตสาหกรรมให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
นายจุมพล กล่าวต่อว่า โครงการถนน ง3 เป็นการเชื่อมต่อถนนตากสิน-เพชรเกษม ยาวกว่า 21 กิโลเมตร ช่วยทำให้วงแหวนชั้นกลางของกรุงเทพฯ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่วนถนน ช2 จะเป็นการก่อสร้างเชื่อมต่อจากถนนเกษตรนวมินทร์ ยาวจนถนนเฉลิมพระเกียติ ยาวกว่า 20 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางสมบูรณ์ ช่วยเชื่อมการเดินทางฝั่งตะวันออก ให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ กทม.ได้นำเสนอโครงการเวนคืนพื้นที่ เพื่ออนุมัติการดำเนินการก่อสร้างถนนดังกล่าว ไปยังคณะรัฐมนตรี และออกเป็นกฎหมายเวนคืนพื้นที่แล้ว ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ กทม.จะพิจารณาดำเนินการก่อสร้างต่อไป
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว ที่มีประชาชนบางส่วนคัดค้านนั้น กทม.ก็เห็นใจและพร้อมทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งหากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างถนน กทม.จะมีส่วนที่ต้องชดเชยให้แก่ประชาชนตามกฎหมาย