เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ประชุมนัดพิเศษ และมีคำสั่งถอดถอนอธิการบดี โดยนายสมจินต์ สันถวรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดเผยว่า การประชุมสภามสธ. ที่มีของนายองค์การ อินทรัมพรรย์ นายกสภามสธ.เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ถอดถอน นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย อธิการบดีมสธ.ออกจากตำแหน่ง ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 9 ต่อ 2
สำหรับเหตุผลของการถอดถอนครั้งนี้ เนื่องจากบุคลากรของมสธ. ได้ร้องเรียนว่า อธิการบดี ทำงานไม่เต็มที่ และไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสภาก็ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง แล้วพบว่า มีหลักฐานตามที่ร้องเรียน โดยเฉพาะการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ นพ.ชัยเลิศ ยังไม่สามารถทำงานร่วมกับสภามสธ. ซึ่งถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยได้ ทั้งนี้มติดังกล่าว ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดนพ.ชัยเลิศ ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งจากนี้สภามสธ. จะเร่งสรรหาอธิการบดีมสธ.คนใหม่ เพื่อให้การบริหารงานเกิดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแม้นพ.ชัยเลิศ จะถูกถอนถอนออกจากตำแหน่งอธิการบดีมสธ. ก็ไม่ถือว่า เดือดร้อน เพราะมสธ. ยืมตัวนพ.ชัยเลิศ มาจากมหาวิทยาลัยมหิดล (มม. ดังนั้นนพ.ชัยเลิศ จึงยังสามารถกลับไปทำงานยังต้นสังกัดเดิมได้
ส่วนกรณีที่ นพ.ชัยเลิศ ทำหนังสือด่วนถึง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร้องเรียนพฤติการณ์ของนายองค์การ อินทรัมพรรย์ นายกสภา มสธ. และสภามสธ.เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการของมหาวิทยาลัย มีส่วนในการพิจารณาถอดถอนนพ.ชัยเลิศหรือไม่นั้น นายสมจินต์ กล่าวว่า นพ.ชัยเลิศ ร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. เมื่อรู้ตัวว่า จะถูกถอดถอน และเรื่องที่ร้องเรียน ก็พูดขึ้นมาลอย ๆ ไม่มีหลักฐาน
ด้านรศ.ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย เปิดเผยว่า ตนไม่ทราบสาเหตุของการปลดจากตำแหน่ง และเหตุถอดถอนตนก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตนไม่ได้มีพฤติกรรมทุจริต ไม่ได้ผิดวินัยร้ายแรง ทั้งการตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงนั้น ตนก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงอย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นมติสภาตนก็เคารพ และเมื่อคำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งทางปกครอง ตนก็จะฟ้องศาลปกครอง เพื่อปกป้องสิทธิ
นอกจากนี้ในช่วงเวลา 1 ปีครึ่ง ที่รศ.ดร.องค์การ เป็นนายกสภาฯ ตนมีเรื่องขัดแย้งกันกับนายกสภาฯมาโดยตลอด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนก็ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้ตรวจสอบการดำเนินงานของนายกสภามสธ. และสภามสธ. รวมทั้งฝ่ายบริหาร มสธ. ซึ่งรวมถึงตนด้วย เพื่อให้โปร่งใสยุติธรรมกับทุกฝ่าย
สำหรับเหตุผลของการถอดถอนครั้งนี้ เนื่องจากบุคลากรของมสธ. ได้ร้องเรียนว่า อธิการบดี ทำงานไม่เต็มที่ และไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสภาก็ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง แล้วพบว่า มีหลักฐานตามที่ร้องเรียน โดยเฉพาะการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ นพ.ชัยเลิศ ยังไม่สามารถทำงานร่วมกับสภามสธ. ซึ่งถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยได้ ทั้งนี้มติดังกล่าว ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดนพ.ชัยเลิศ ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งจากนี้สภามสธ. จะเร่งสรรหาอธิการบดีมสธ.คนใหม่ เพื่อให้การบริหารงานเกิดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแม้นพ.ชัยเลิศ จะถูกถอนถอนออกจากตำแหน่งอธิการบดีมสธ. ก็ไม่ถือว่า เดือดร้อน เพราะมสธ. ยืมตัวนพ.ชัยเลิศ มาจากมหาวิทยาลัยมหิดล (มม. ดังนั้นนพ.ชัยเลิศ จึงยังสามารถกลับไปทำงานยังต้นสังกัดเดิมได้
ส่วนกรณีที่ นพ.ชัยเลิศ ทำหนังสือด่วนถึง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร้องเรียนพฤติการณ์ของนายองค์การ อินทรัมพรรย์ นายกสภา มสธ. และสภามสธ.เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการของมหาวิทยาลัย มีส่วนในการพิจารณาถอดถอนนพ.ชัยเลิศหรือไม่นั้น นายสมจินต์ กล่าวว่า นพ.ชัยเลิศ ร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. เมื่อรู้ตัวว่า จะถูกถอดถอน และเรื่องที่ร้องเรียน ก็พูดขึ้นมาลอย ๆ ไม่มีหลักฐาน
ด้านรศ.ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย เปิดเผยว่า ตนไม่ทราบสาเหตุของการปลดจากตำแหน่ง และเหตุถอดถอนตนก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตนไม่ได้มีพฤติกรรมทุจริต ไม่ได้ผิดวินัยร้ายแรง ทั้งการตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงนั้น ตนก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงอย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นมติสภาตนก็เคารพ และเมื่อคำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งทางปกครอง ตนก็จะฟ้องศาลปกครอง เพื่อปกป้องสิทธิ
นอกจากนี้ในช่วงเวลา 1 ปีครึ่ง ที่รศ.ดร.องค์การ เป็นนายกสภาฯ ตนมีเรื่องขัดแย้งกันกับนายกสภาฯมาโดยตลอด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนก็ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้ตรวจสอบการดำเนินงานของนายกสภามสธ. และสภามสธ. รวมทั้งฝ่ายบริหาร มสธ. ซึ่งรวมถึงตนด้วย เพื่อให้โปร่งใสยุติธรรมกับทุกฝ่าย