รายงานข่าวจาก รพ.พระมงกุฎเกล้าแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 8 มิ.ย.2559 พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต หรือ "เสธ.ไอซ์" อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เตรียมทหารรุ่น 10 ได้เสียชีวิตอย่างสงบ ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง โดยได้จากไปเมื่อเวลา 07.00 น. หลังจากเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.พระมงกุฎฯ ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา รวมอายุ 67 ปี โดยมีกำหนดรดน้ำศพ วันศุกร์ที่ 10 มิ.ย.59 เวลา 15.00 น. ณ ศาลา 9 วัดโสมนัสฯ กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ วันที่ 10-16 มิ.ย.59
ที่ผ่านมาเสธ.ไอซ์ ซึ่งมีความสนิทสนมกับนายทักษิณ ชินวัตร อย่างเหนียวแน่น ถูกโยงเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนายทักษิณอยู่เสมอ เพราะเสธ.ไอซ์ เคยถูกกระแสข่าวเล่นงานอย่างหนักว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับการสังหารนายกรเทพ วิริยะ (ชิปปิ้งหมู) พยานปากเอกในคดีการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2546 กรณีการเลี่ยงภาษีนำเข้าของบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ของตระกูลชินวัตร แม้กระทั่งเหตุการณ์การวางระเบิดและความรุนแรงในหลายจุด ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อปี 2553 ชื่อของเสธ.ไอซ์ ก็ยังถูกโยงว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
พล.อ.ไตรรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2492 เป็นบุตรคนที่สี่ ของ พ.ต.โผน อินทรทัต อดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทยและผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 และ ม.ล.กันยกา สุทัศน์ ณ อยุธยา มีพี่น้อง 3 คน คือ นายพิสิทธิ์ อินทรทัต (แอ็ด), พล.ต.ผ่านโผน อินทรทัต (โอ็ด) และนายโลดโผน อินทรทัต (เอิร์ธ) เป็นหลานปู่-ย่าของ พันเอกพระยาพิชัยภูเบนทร์ และคุณหญิงน้อมเป็นหลานตา-ยายของ พล.ท.ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ และคุณหญิง กระแส วิชิตวงศ์วุฒิไกร สมรสกับ ผศ.ดร.มานวิภา ปานิสวัสดิ์ มีบุตรสาว น.ส.ปิยะวิภา อินทรทัต (อุ๊บอิ๊บ)
ด้านการศึกษา พล.อ.ไตรรงค์จบการศึกษาจากโรงเรียนเหมินทร์วิทยา (ประถมศึกษา), โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (มัธยมศึกษาตอนต้น), โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร และโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหารในรุ่นที่ 10 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ นายทักษิณ ชินวัตร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 21 เหล่าทหารม้า
สำหรับการดำรงตำแหน่งราชการ หลังจากที่จบการศึกษา แม้ว่า เสธ.ไอซ์ จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งใหญ่ ๆ ทางด้านการทหารเลย แต่ในยุคที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ไตรรงค์ก็รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ด้านงานมวลชนสัมพันธ์
ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ที่เสธ.ไอซ์เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ ได้แก่ ผู้ชำนาญการกองบัญชาการทหารสูงสุด (2543), ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการทหารสูงสุด (2543), หัวหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (2546), ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (2547), ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (2548) และหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (2548)
ที่ผ่านมาเสธ.ไอซ์ ซึ่งมีความสนิทสนมกับนายทักษิณ ชินวัตร อย่างเหนียวแน่น ถูกโยงเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนายทักษิณอยู่เสมอ เพราะเสธ.ไอซ์ เคยถูกกระแสข่าวเล่นงานอย่างหนักว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับการสังหารนายกรเทพ วิริยะ (ชิปปิ้งหมู) พยานปากเอกในคดีการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2546 กรณีการเลี่ยงภาษีนำเข้าของบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ของตระกูลชินวัตร แม้กระทั่งเหตุการณ์การวางระเบิดและความรุนแรงในหลายจุด ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อปี 2553 ชื่อของเสธ.ไอซ์ ก็ยังถูกโยงว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
พล.อ.ไตรรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2492 เป็นบุตรคนที่สี่ ของ พ.ต.โผน อินทรทัต อดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทยและผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 และ ม.ล.กันยกา สุทัศน์ ณ อยุธยา มีพี่น้อง 3 คน คือ นายพิสิทธิ์ อินทรทัต (แอ็ด), พล.ต.ผ่านโผน อินทรทัต (โอ็ด) และนายโลดโผน อินทรทัต (เอิร์ธ) เป็นหลานปู่-ย่าของ พันเอกพระยาพิชัยภูเบนทร์ และคุณหญิงน้อมเป็นหลานตา-ยายของ พล.ท.ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ และคุณหญิง กระแส วิชิตวงศ์วุฒิไกร สมรสกับ ผศ.ดร.มานวิภา ปานิสวัสดิ์ มีบุตรสาว น.ส.ปิยะวิภา อินทรทัต (อุ๊บอิ๊บ)
ด้านการศึกษา พล.อ.ไตรรงค์จบการศึกษาจากโรงเรียนเหมินทร์วิทยา (ประถมศึกษา), โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (มัธยมศึกษาตอนต้น), โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร และโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหารในรุ่นที่ 10 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ นายทักษิณ ชินวัตร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 21 เหล่าทหารม้า
สำหรับการดำรงตำแหน่งราชการ หลังจากที่จบการศึกษา แม้ว่า เสธ.ไอซ์ จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งใหญ่ ๆ ทางด้านการทหารเลย แต่ในยุคที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ไตรรงค์ก็รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ด้านงานมวลชนสัมพันธ์
ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ที่เสธ.ไอซ์เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ ได้แก่ ผู้ชำนาญการกองบัญชาการทหารสูงสุด (2543), ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการทหารสูงสุด (2543), หัวหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (2546), ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (2547), ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (2548) และหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (2548)