นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยถึงการที่มีโฆษณาขายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊กชื่อ เซอร์เมจ ลีฟติ่ง สติ๊ก “Cirmage Lifting Stick ซึ่งเป็นสติ๊กลบรอยเหี่ยวย่น แท่งโบท๊อกสติ๊ก” อวดสรรพคุณว่า สามารถลดริ้วรอย ยกกระชับผิวหน้าเรียวเด้งใน 1 นาที และพบว่ามีการขายในเฟซบุ๊ก “Cosme-up.com เครื่องสำอางแบรนด์เนม”
ซึ่งจากการตรวจสอบจากฐานข้อมูลเครื่องสำอาง ไม่พบการจดแจ้งเครื่องสำอางดังกล่าว และข้อ ความโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากใช้เพื่อทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครง สร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ และไม่สามารถยับยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ
ทั้งนี้ หากมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย.ได้ส่งข้อมูลการกระทำฝ่าฝืนโฆษณาทางเฟซ บุ๊กของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ แล้ว เพื่อระงับการโฆษณาต่อไป
สำหรับผู้บริโภคขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ อ่านฉลากให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ต้องมีชื่อที่ตั้งผู้ผลิต-ผู้นำเข้าแสดงชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางนำเข้าก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ของ อย. Www.fda.moph.go.th ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่
ซึ่งจากการตรวจสอบจากฐานข้อมูลเครื่องสำอาง ไม่พบการจดแจ้งเครื่องสำอางดังกล่าว และข้อ ความโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากใช้เพื่อทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครง สร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ และไม่สามารถยับยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ
ทั้งนี้ หากมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย.ได้ส่งข้อมูลการกระทำฝ่าฝืนโฆษณาทางเฟซ บุ๊กของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ แล้ว เพื่อระงับการโฆษณาต่อไป
สำหรับผู้บริโภคขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ อ่านฉลากให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ต้องมีชื่อที่ตั้งผู้ผลิต-ผู้นำเข้าแสดงชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางนำเข้าก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ของ อย. Www.fda.moph.go.th ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่