นางวสี อุทัยมงคล ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตรัง กล่าวว่า พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงบทบาทและภารกิจหลักของ กกต.ไว้ว่า ต้องวางตัวเป็นกลาง จัดการออกเสียงประชามติ จัดพิมพ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และหากฝ่ายใดมีความเห็นแย้งไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว เมื่อส่งเรื่องไปทาง กกต.มีหน้าที่พิมพ์ประเด็นที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงลงประชามติ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติดังกล่าว มีการกำหนดโทษรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นเครื่องมือ ลุแก่อำนาจทำในสิ่งมิชอบตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติในมาตรา 9/1 ให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ช่วยสนับสนุน กรธ.ได้ในช่วงออกเสียงประชามติ ให้ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น เวลาที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญไปทำความเข้าในจังหวัด อาจขอความร่วมมือกับทางจังหวัดให้ช่วยในขณะลงพื้นที่ เช่น เรื่องสถานที่ ดูแลความปลอดภัย แต่ไม่สามารถไปชี้นำประชาชนให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ ที่ กมธ.วิสามัญฯ ชุดดังกล่าวพิจารณา ได้ปรับแก้กลางที่ประชุม สนช. เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา อาทิ มาตรา 7 ได้แก้ไขเป็น บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย ขอบเขต คือ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่การแสดงความคิดเห็นนั้นได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย จะไปรณรงค์ให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือแนะโหวตโนไม่ได้ทั้งสิ้น ฝ่ายที่จะรณรงค์ได้มีเพียง กกต.เท่านั้น
ขณะที่บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงลงประชามติ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติดังกล่าว มีการกำหนดโทษรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นเครื่องมือ ลุแก่อำนาจทำในสิ่งมิชอบตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติในมาตรา 9/1 ให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ช่วยสนับสนุน กรธ.ได้ในช่วงออกเสียงประชามติ ให้ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น เวลาที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญไปทำความเข้าในจังหวัด อาจขอความร่วมมือกับทางจังหวัดให้ช่วยในขณะลงพื้นที่ เช่น เรื่องสถานที่ ดูแลความปลอดภัย แต่ไม่สามารถไปชี้นำประชาชนให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ ที่ กมธ.วิสามัญฯ ชุดดังกล่าวพิจารณา ได้ปรับแก้กลางที่ประชุม สนช. เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา อาทิ มาตรา 7 ได้แก้ไขเป็น บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย ขอบเขต คือ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่การแสดงความคิดเห็นนั้นได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย จะไปรณรงค์ให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือแนะโหวตโนไม่ได้ทั้งสิ้น ฝ่ายที่จะรณรงค์ได้มีเพียง กกต.เท่านั้น