วานนี้ (7เม.ย.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ... ที่คณะกรรมาธิการได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยสมาชิกสนช.ได้อภิปรายประเด็นใน มาตรา 7 ที่กมธ.ได้ตัดคำว่า“รณรงค์”ออกไป เหลือเพียง "บุคคลย่อมมีเสรีภาพแสดงความเห็น โดยสุจริตไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย" โดยเห็นว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน อาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสนช. กล่าวว่า อยากทราบเหตุผลว่า ทำไมต้องตัดคำดังกล่าวทิ้งไป เช่น การส่งไลน์ไปตามกลุ่ม เพื่อบอกว่าตนจะรับร่างหรือไม่รับ น่าจะถือเป็นการรณรงค์แบบหนึ่ง เป็นเสรีภาพ ควรต้องมีความชัดเจน ในการแสดงความคิดเห็น หรือหลักการรณรงค์ เพราะโทษถึงติดคุกได้ หากมีการรณรงค์ และสุจริตไม่ขัดหลักกฎหมาย ก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร
นายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการลงประชามติ คือ บุคคล ไม่ใช่องค์กร ซึ่งเป็นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ถ้าให้ความจำกัดความไม่ดี จะมีผลกระทบต่อผู้สุจริต ถามว่าการแสดงความคิดเห็น กับการรณรงค์ ต่างกันอย่างไร ใครเท่านั้นถึงจะรณรงค์ได้ ถ้าเขียนไว้อย่างนี้ มันเสียหายอะไร และน่าจะมีประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนดีกว่า และปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปแล้ว มีการรณรงค์ผ่านโซเชียล ต่างๆ และหาก กกต.และ กรธ.ขัดแย้งกัน ใครจะเป็นคนตัดสิน
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า การแสดงความเห็นทุกคนสามารถทำได้รอบด้าน ไม่ปิดกั้น แต่การรณรงค์ หมายถึงร่วมกันชักจูงออกมา ที่จะรับ หรือไม่รับ กมธ.คิดว่ามันจะนำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศอีกครั้งหนึ่ง เจตนาของพ.ร.บ.นี้ ไม่ต้องการให้เป็นประเด็นการเมือง ที่จะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาประโยชน์ และไปสู่ความขัดแย้ง ผู้ที่จะรณรงค์ได้มีเฉพาะ กกต.เท่านั้น ที่จะหาทางทำให้ประชาชนออกมาออกเสียงให้มากที่สุด ฝ่ายอื่นไม่สามารถทำได้ แม้แต่ กรธ. เวลาชี้แจงจะบอกได้เพียงสาระของร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ว่าดี ไม่ดี อย่างไร แต่การไปเผยแพร่รับไม่รับ ถือ เป็นการชี้นำ และสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิด ดังนั้น หากใส่ไว้จะเป็นมูลเหตุให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ใช้ประเด็นประชามติ มารณรงค์สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีกครั้ง
"การแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ทุกคนสามารถทำได้อย่างรอบด้าน แต่เรามองว่า การรณรงค์นั้นหมายถึงการร่วมกันชักจูงกันออกมา ที่จะไปดำเนินการว่า จะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ เราจึงคิดว่าการรณรงค์นั้น มันจะนำไปสู่ความขัดแย้งอีกครั้งหนึ่ง" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิก สนช. ยังคงติดใจในประเด็นนี้ จนในที่สุด คณะกมธ.ยอมปรับแก้ถ้อยคำ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้เวลาไปหารือ ปรับแก้ โดยเปลี่ยนเป็น " มาตรา 7 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลสามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยที่ประชุม สนช. มีมติ 181 เสียง เห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว
ส่วนมาตรา 9/1 ประเด็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรธ. ในการเผยแพร่และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ อย่างทั่วถึง ทางสมาชิก สนช. มีความเห็นว่า อาจจะเป็นช่องทางให้มีผู้ร้องว่า ทางกรธ. ดำเนินการไม่ทั่วถึง จนเกิดความวุ่นวายได้ ทางคณะกมธ. จึงได้ปรับแก้ถ้อยคำเป็น "ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบัญญัติ และสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้ แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงเพิ่มเติม ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาระสำคัญของประเด็นให้แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป"
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขให้ประเด็นให้ประชาชนร้องคัดค้านผลการประชามติ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 คน เป็น 50 คน เพื่อป้องกันความวุ่นวายและกลั่นแกล้ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากลงมติตามรายมาตราแล้ว ที่ประชุมได้มี มติ 171 ต่อ 1 คะแนน เห็นชอบในวาระ 3 เพื่อรอประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
นายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการลงประชามติ คือ บุคคล ไม่ใช่องค์กร ซึ่งเป็นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ถ้าให้ความจำกัดความไม่ดี จะมีผลกระทบต่อผู้สุจริต ถามว่าการแสดงความคิดเห็น กับการรณรงค์ ต่างกันอย่างไร ใครเท่านั้นถึงจะรณรงค์ได้ ถ้าเขียนไว้อย่างนี้ มันเสียหายอะไร และน่าจะมีประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนดีกว่า และปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปแล้ว มีการรณรงค์ผ่านโซเชียล ต่างๆ และหาก กกต.และ กรธ.ขัดแย้งกัน ใครจะเป็นคนตัดสิน
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า การแสดงความเห็นทุกคนสามารถทำได้รอบด้าน ไม่ปิดกั้น แต่การรณรงค์ หมายถึงร่วมกันชักจูงออกมา ที่จะรับ หรือไม่รับ กมธ.คิดว่ามันจะนำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศอีกครั้งหนึ่ง เจตนาของพ.ร.บ.นี้ ไม่ต้องการให้เป็นประเด็นการเมือง ที่จะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาประโยชน์ และไปสู่ความขัดแย้ง ผู้ที่จะรณรงค์ได้มีเฉพาะ กกต.เท่านั้น ที่จะหาทางทำให้ประชาชนออกมาออกเสียงให้มากที่สุด ฝ่ายอื่นไม่สามารถทำได้ แม้แต่ กรธ. เวลาชี้แจงจะบอกได้เพียงสาระของร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ว่าดี ไม่ดี อย่างไร แต่การไปเผยแพร่รับไม่รับ ถือ เป็นการชี้นำ และสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิด ดังนั้น หากใส่ไว้จะเป็นมูลเหตุให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ใช้ประเด็นประชามติ มารณรงค์สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีกครั้ง
"การแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ทุกคนสามารถทำได้อย่างรอบด้าน แต่เรามองว่า การรณรงค์นั้นหมายถึงการร่วมกันชักจูงกันออกมา ที่จะไปดำเนินการว่า จะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ เราจึงคิดว่าการรณรงค์นั้น มันจะนำไปสู่ความขัดแย้งอีกครั้งหนึ่ง" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิก สนช. ยังคงติดใจในประเด็นนี้ จนในที่สุด คณะกมธ.ยอมปรับแก้ถ้อยคำ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้เวลาไปหารือ ปรับแก้ โดยเปลี่ยนเป็น " มาตรา 7 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลสามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยที่ประชุม สนช. มีมติ 181 เสียง เห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว
ส่วนมาตรา 9/1 ประเด็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรธ. ในการเผยแพร่และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ อย่างทั่วถึง ทางสมาชิก สนช. มีความเห็นว่า อาจจะเป็นช่องทางให้มีผู้ร้องว่า ทางกรธ. ดำเนินการไม่ทั่วถึง จนเกิดความวุ่นวายได้ ทางคณะกมธ. จึงได้ปรับแก้ถ้อยคำเป็น "ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบัญญัติ และสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้ แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงเพิ่มเติม ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาระสำคัญของประเด็นให้แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป"
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขให้ประเด็นให้ประชาชนร้องคัดค้านผลการประชามติ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 คน เป็น 50 คน เพื่อป้องกันความวุ่นวายและกลั่นแกล้ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากลงมติตามรายมาตราแล้ว ที่ประชุมได้มี มติ 171 ต่อ 1 คะแนน เห็นชอบในวาระ 3 เพื่อรอประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป