องค์การอนามัยโลก(WHO) จะจัดประชุมฉุกเฉินในวันพฤหัสบดี(19พ.ค.) เกี่ยวกับการแพร่ระบาดอย่างหนักหน่วงของไข้เหลืองในแองโกลา แต่เสี่ยงที่จะแผ่ลามไปไกลกว่านั้นหากไม่ยกระดับการเข้าถึงวัคซีน
การประชุมของหน่วยงานสหประชาชาติลักษณะนี้ บ่อยครั้งถูกจัดขึ้นก่อนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก และการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา ในทวีปอเมริกา
มาริค จาซาเรวิค โฆษกขององค์การอนามัยโลกบอกกับเอเอฟพีว่าการเรียกประชุมครั้งนี้ย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไข้เหลือง และเน้นอีกรอบให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีวัคซีนจำนวนมากเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้
จนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม แองโกลา พบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไข้เหลือง 2,267 ราย ในนั้นเสียชีวิตแล้ว 293 คน ในการแพร่ระบาดที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม และพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดคือกรุงลูอันดา เมืองหลวงของประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ 44 ราย จากทั้งการแพร่ระบาดในท้องถิ่นและจากคนไข้ที่นำไวรัสเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างแองโกลา เช่นเดียวกับยูกันดา ที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อหลายคน
การประชุมของหน่วยงานสหประชาชาติลักษณะนี้ บ่อยครั้งถูกจัดขึ้นก่อนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก และการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา ในทวีปอเมริกา
มาริค จาซาเรวิค โฆษกขององค์การอนามัยโลกบอกกับเอเอฟพีว่าการเรียกประชุมครั้งนี้ย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไข้เหลือง และเน้นอีกรอบให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีวัคซีนจำนวนมากเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้
จนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม แองโกลา พบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไข้เหลือง 2,267 ราย ในนั้นเสียชีวิตแล้ว 293 คน ในการแพร่ระบาดที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม และพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดคือกรุงลูอันดา เมืองหลวงของประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ 44 ราย จากทั้งการแพร่ระบาดในท้องถิ่นและจากคนไข้ที่นำไวรัสเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างแองโกลา เช่นเดียวกับยูกันดา ที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อหลายคน