xs
xsm
sm
md
lg

ม.มหิดล ประสบความสำเร็จทำหมันยุงสำเร็จครั้งแรกของโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เเละนางปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศพาหะเเละโรคที่นำโดยพาหะ เเถลงข่าวการประชุมหารือเพื่อประสานความร่วมมือในการสนับสนุนการใช้วิธีทำหมันยุงควบคุมโรคที่นำโดยยุงลาย อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้ซิกา เเละโรคไข้เหลืองในประเทศไทย เเละกลุ่มอาเซียน ที่จัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศพาหะเเละโรคที่นำโดยพาหะ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ร่วมกับทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศเเละสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

นายแพทย์อุดม กล่าวว่า การทำหมันยุงลายเป็นวิธีการควบคุมโรคที่ควรผลักดันให้นำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม หลังทดลองทำหมันยุงใน 2 ขั้นตอน คือ ฉีดเชื้อเเบคทีเรียร่วมอาศัย สกุลโวบาเกีย 2 สายพันธุ์ เเละฉายรังสีปริมาณอ่อน เพื่อทำให้ยุงลายตัวผู้เป็นหมันก่อนปล่อยไป ซึ่งถือเป็นการทดลองครั้งเเรกของโลก เเล้วพบว่าช่วยลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะได้ร้อยละ 100 ซึ่งหากนำวิธีไปใช้ จะช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดจำนวนผู้ป่วยที่อาจมีจำนวนมากในช่วงหน้าฝนที่กำลังจะมาถึง เเละลดค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย

นางปัทมาภรณ์ กล่าวว่า เริ่มทดลองทำหมันจากยุงลายบ้าน เพราะเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลต่อชีวิต โดยวิธีการ นำพ่อพันธุ์ เเม่พันธุ์มาเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง โดยเลือกตัวผู้ ซึ่งบริโภคน้ำหวาน เเต่หากติดยุงลายตัวเมียที่บริโภคเลือดมาก็ไม่ส่งผล เพราะไม่สามารถเเพร่เชื้อสู่คนได้ เเละเมื่อยุงลายบ้านที่ผ่านขบวนการทำหมัน 2 ขั้นตอน เมื่อไปผสมพันธุ์กับตัวเมีย ก็จะทำให้ตัวเมียเป็นหมัน ลดจำนวนยุงลายบ้านได้อย่างรวดเร็ว

การทำหมัน 2 ขั้นตอนเพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มียุงลายบ้านที่จะเเพร่เชื้อได้อย่างเเน่นอน ทั้งไม่ส่งผลกับระบบนิเวศน์ เพราะยุงลายสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้จะตายภายใน 2-3 สัปดาห์ ไม่เเพร่พันธุ์ เเละต้านเชื้อไข้เลือดออกได้ โดยจะนำไปทดลองนำร่องเพื่อลดจำนวนยุงลายบ้านในธรรมชาติ ที่ ต.หัวสำโรง อ.เเปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เพราะเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมได้ง่าย ภายในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะปล่อยประมาณ 50-100 ตัวต่อ 1 หลังคาเรือน ต่อ 1 เดือน ปล่อย 4 ครั้ง คาดไม่เกิน 6 เดือนจะรู้ผลว่าปริมาณยุงลดลงหรือไม่ ก่อนจะขยายผลไปในพื้นที่อื่นต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น