เมื่อวันที่ 29 เม.ย.59 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึง กรณีที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้ประกาศสถานะคู่ค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษว่า ในปีนี้ ยูเอสทีอาร์ ยังคงอันดับของไทยในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับบลิวแอล) ต่อเนื่องอีก 1 ปีนับจากปี 2550 ซึ่งไทยรู้ตัวมาโดยตลอด เพราะสหรัฐฯ อ้างว่า ยังเห็นสินค้าละเมิดวางขายในไทยอยู่ โดยเฉพาะในตลาด Notorious Markets 13 แห่งที่วางสินค้าละเมิดจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จะไม่กระทบต่อการค้า และการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงสหรัฐฯ จะไม่ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้กับสินค้าไทยอย่างแน่นอน
"ตั้งแต่ไทยอยู่ในกลุ่มพีดับบลิวแอลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แก้ปัญหาโดยตลอด ทั้งการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการละเมิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง จนขณะนี้สินค้าละเมิดลดลงไปมากแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ปราบปรามสินค้าปลอมที่เป็นอาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค สบู่ แชมพู ฯลฯ ด้วย เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้บริโภค ต่อจากนี้ ไทยยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาต่อเนื่อง ไม่หยุดแน่"
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้เพียงเพื่อต้องการให้ไทยหลุดจากพีดับบลิวแอลเท่านั้น แต่ยังทำเพื่อปกป้อง และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยไม่ให้ถูกต่างประเทศละเมิด และไม่ให้คนไทยละเมิดสิทธิกันเอง ที่สำคัญ ยังเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่โมเดล 4.0 หรือประเทศที่จะใช้นวัตกรรม และดิจิตอลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ส่วนในปีนี้ ยูเอสทีอาร์ ได้คงสถานะไทยในกลุ่มพีดับบลิวแอลต่ออีก 1 ปี ร่วมกับจีน อินโดนีเซีย อินเดีย อัลจีเรีย คูเวต รัสเซีย ยูเครน อาร์เจนตินา ชิลี และเวเนซุเอลา โดยระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังไม่เข้มงวด และยังแทบไม่มีความก้าวหน้าในการแก้ปัญหา ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังกังวลถึงการขาดแคลนบุคลากรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จนทำให้การพิจารณาคำขอจดทะเบียนล่าช้ามาก และยังต้องการให้ไทยมีระบบปกป้องการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการปกปิดผลการทดสอบยา และผลิตภัณฑ์ทางเคมีที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรด้วย
"ตั้งแต่ไทยอยู่ในกลุ่มพีดับบลิวแอลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แก้ปัญหาโดยตลอด ทั้งการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการละเมิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง จนขณะนี้สินค้าละเมิดลดลงไปมากแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ปราบปรามสินค้าปลอมที่เป็นอาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค สบู่ แชมพู ฯลฯ ด้วย เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้บริโภค ต่อจากนี้ ไทยยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาต่อเนื่อง ไม่หยุดแน่"
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้เพียงเพื่อต้องการให้ไทยหลุดจากพีดับบลิวแอลเท่านั้น แต่ยังทำเพื่อปกป้อง และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยไม่ให้ถูกต่างประเทศละเมิด และไม่ให้คนไทยละเมิดสิทธิกันเอง ที่สำคัญ ยังเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่โมเดล 4.0 หรือประเทศที่จะใช้นวัตกรรม และดิจิตอลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ส่วนในปีนี้ ยูเอสทีอาร์ ได้คงสถานะไทยในกลุ่มพีดับบลิวแอลต่ออีก 1 ปี ร่วมกับจีน อินโดนีเซีย อินเดีย อัลจีเรีย คูเวต รัสเซีย ยูเครน อาร์เจนตินา ชิลี และเวเนซุเอลา โดยระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังไม่เข้มงวด และยังแทบไม่มีความก้าวหน้าในการแก้ปัญหา ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังกังวลถึงการขาดแคลนบุคลากรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จนทำให้การพิจารณาคำขอจดทะเบียนล่าช้ามาก และยังต้องการให้ไทยมีระบบปกป้องการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการปกปิดผลการทดสอบยา และผลิตภัณฑ์ทางเคมีที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรด้วย