สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (25 เม.ย.) หลังจากนักวิเคราะห์ได้ออกมาแสดงมุมมองในด้านลบต่อแนวโน้มราคาน้ำมัน นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง ปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 1.09 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 42.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 63 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 44.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจนากธนาคารบาร์เคลย์ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า ทางธนาคารยังไม่เชื่อมั่นว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไป หรือจะปรับตัวขึ้นอีก ท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงอ่อนแอ
"สต็อกน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง, การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการส่งออกน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก ล้วนเป็นปัจจัยที่จะกดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า" รายงานระบุ
ขณะเดียวกัน มอร์แกน สแตนลีย์ ออกรายงานระบุว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในระยะนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากคำสั่งซื้อของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งการทะยานขึ้นของราคาดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยพื้นฐาน
"หากเฮดจ์ฟันด์ระบายโพสิชั่นออกมา สิ่งนี้ก็จะทำให้เกิดคำสั่งขายล็อตใหญ่ออกมาในตลาด" รายงานระบุ
รายงานของมอร์แกน สแตนลีย์ยังระบุว่า การผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไป ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งในตลาดเกิดใหม่ จะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของ Genscape ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลด้านตลาดน้ำมัน ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ พุ่งขึ้นกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 22 เม.ย.
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 1.09 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 42.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 63 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 44.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจนากธนาคารบาร์เคลย์ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า ทางธนาคารยังไม่เชื่อมั่นว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไป หรือจะปรับตัวขึ้นอีก ท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงอ่อนแอ
"สต็อกน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง, การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการส่งออกน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก ล้วนเป็นปัจจัยที่จะกดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า" รายงานระบุ
ขณะเดียวกัน มอร์แกน สแตนลีย์ ออกรายงานระบุว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในระยะนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากคำสั่งซื้อของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งการทะยานขึ้นของราคาดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยพื้นฐาน
"หากเฮดจ์ฟันด์ระบายโพสิชั่นออกมา สิ่งนี้ก็จะทำให้เกิดคำสั่งขายล็อตใหญ่ออกมาในตลาด" รายงานระบุ
รายงานของมอร์แกน สแตนลีย์ยังระบุว่า การผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไป ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งในตลาดเกิดใหม่ จะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของ Genscape ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลด้านตลาดน้ำมัน ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ พุ่งขึ้นกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 22 เม.ย.