สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปิดบวก 26 เซนต์ หรือ 0.8% แตะที่ 34.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ที่ตลาดลอนดอน ปิดบวก 12 เซนต์ หรือ 0.3% แตะที่ 36.93 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของ EIA ที่ระบุว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวลดลง 25,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.077 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า ซาอุดิอาระเบียได้ปรับเพิ่มราคาน้ำมันสำหรับส่งออกให้กับประเทศในเอเชียและยุโรป โดยเอเชียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มอ่าวอาหรับ
อย่างไรก็ตาม แรงบวกในตลาดได้ถูกสกัดลงในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานสต็อกน้ำมันของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยรายงานของ EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 10.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 518 ล้านบาร์เรล โดยทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.6 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล
ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปิดบวก 26 เซนต์ หรือ 0.8% แตะที่ 34.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ที่ตลาดลอนดอน ปิดบวก 12 เซนต์ หรือ 0.3% แตะที่ 36.93 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของ EIA ที่ระบุว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวลดลง 25,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.077 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า ซาอุดิอาระเบียได้ปรับเพิ่มราคาน้ำมันสำหรับส่งออกให้กับประเทศในเอเชียและยุโรป โดยเอเชียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มอ่าวอาหรับ
อย่างไรก็ตาม แรงบวกในตลาดได้ถูกสกัดลงในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานสต็อกน้ำมันของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยรายงานของ EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 10.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 518 ล้านบาร์เรล โดยทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.6 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล
ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล