รายงานข่าวจากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการรุณย์ เปิดเผยว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เมื่อเวลา 04.42 น. ของวันที่ 23 เมษายน 2559 ด้วยอาการสงบในวัย 83 ปี หลังเข้ารับการรักษาตัวเนื่องจากอาการภูมิแพ้ หอบหืด กำเริบ ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา โดยจะมีการเคลื่อนศพไปยังศาลา 14 วัดเทพศิรินทร์ และในเวลา 17.00 น.จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
ทั้งนี้ นพ.ประสิทธิ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จะเป็นผู้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อไป
นายบรรหาร ศิลปะอาชา เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊ เกิดเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2475 เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี บุตรของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ จบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง ภายใต้ชื่อ บริษัท สหะศรีชัยก่อสร้าง จำกัด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2496 และก่อตั้งบริษัท บี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขายเคมีภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2513 เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย
และในปี 2523 ครอบครัวนายบรรหารได้ก่อตั้ง บริษัท สหศรีชัยเคมิคอลส์ จำกัด เพื่อขายเคมีภัณฑ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท คอสติกไทย จำกัด ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้น คือ บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ของนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับนายบรรหาร ได้รับว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากหน่วยงานรัฐมานานหลายปี ในจำนวนนี้เป็นโครงการรับเหมาในกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลายโครงการ รวมทั้งโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ
ต่อมานายบรรหาร เข้าสู่วงการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 2516 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2518 และเมื่อได้รับการชักชวนจากนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อปี 2517 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี 2519 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง รวม 11 สมัย
นายบรรหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ในปี 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก คือ รมช.อุตสาหกรรม ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเดิมอีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
ต่อมานายบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคชาติไทย ในปี 2523 ถูกนายพินิจ จันทรสุรินทร์ ส.ส. ลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยกคำร้อง
นายบรรหารดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.คมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กระทั่งในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายบรรหารได้เป็น รมว.อุตสาหกรรม รมว.มหาดไทย รมว.คลัง กระทั่งมีการรัฐประหารที่นำโดย พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายบรรหารยังได้รับตำแหน่ง รมว.คมนาคม
เมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2529 ศึกษาต่อปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนี้ ยังได้รับปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา และในปี 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์อีกด้วย
ต่อมาในปี 2537 นายบรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย กระทั่งในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2538 พรรคชาติไทยมี ส.ส. ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นายบรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รมว.มหาดไทย
แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี 134 วัน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจโจมตีว่าการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน กดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง จึงตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2539 และการเลือกตั้งในครั้งต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 22
ในการเลือกตั้งปี 2548 พรรคชาติไทยได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว กระทั่งในช่วงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายทักษิณประกาศยุบสภา พรรคชาติไทยร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งปี 2550 นายบรรหารไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน จัดตั้งรัฐบาล กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง 5 ปี เนื่องจากพรรคชาติไทยถูกยุบเพราะกรรมการบริหารพรรคซื้อเสียงเลือกตั้ง ได้มีการตั้งพรรคใหม่ ชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนารองรับ และร่วมงานกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
นายบรรหาร สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (นามสกุลเดิม เลขวัต) มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา หรือ ท็อป อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี สมรสกับ สุวรรณา ไรวินท์ และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา หรือ หนูนา อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา หรือ ยุ้ย ประกอบธุรกิจส่วนตัว
โดยครอบครัวศิลปอาชามีทรัพย์สินรวมกันกว่า 3,500 ล้านบาท สะสมที่ดิน 201 แปลง เกือบ 2 พันไร่ มีบ้าน 3 หลัง ได้แก่ ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด มูลค่า 50 ล้านบาท, ย่านถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ มูลค่า 20 ล้านบาท และบ้านพักที่ จ.สุพรรณบุรี มูลค่า 3 ล้านบาท
สำหรับ นายบรรหาร มีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า "มังกรสุพรรณ" หรือ "มังกรการเมือง" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย "เติ้งเสี่ยวผิง" อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกนายบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร"
สำหรับหมายกำหนดการงานศพนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ที่ศาลา 14 (สุวรรณวณิชกิจ) วัดเทพศิรินทร์ มีดังนี้
วันที่ 23 เมษายน 2559
เวลา 17.00 น. พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
เวลา 19.00 น. พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 3 คืน (23-25 เมษายน)
หลังจากนั้น สวดพระอภิธรรม อีก 7 คืน (26 เมษายน-2 พฤษภาคม) ในเวลา 19.00 น.
ทั้งนี้ นพ.ประสิทธิ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จะเป็นผู้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อไป
นายบรรหาร ศิลปะอาชา เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊ เกิดเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2475 เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี บุตรของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ จบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง ภายใต้ชื่อ บริษัท สหะศรีชัยก่อสร้าง จำกัด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2496 และก่อตั้งบริษัท บี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขายเคมีภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2513 เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย
และในปี 2523 ครอบครัวนายบรรหารได้ก่อตั้ง บริษัท สหศรีชัยเคมิคอลส์ จำกัด เพื่อขายเคมีภัณฑ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท คอสติกไทย จำกัด ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้น คือ บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ของนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับนายบรรหาร ได้รับว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากหน่วยงานรัฐมานานหลายปี ในจำนวนนี้เป็นโครงการรับเหมาในกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลายโครงการ รวมทั้งโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ
ต่อมานายบรรหาร เข้าสู่วงการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 2516 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2518 และเมื่อได้รับการชักชวนจากนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อปี 2517 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี 2519 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง รวม 11 สมัย
นายบรรหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ในปี 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก คือ รมช.อุตสาหกรรม ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเดิมอีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
ต่อมานายบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคชาติไทย ในปี 2523 ถูกนายพินิจ จันทรสุรินทร์ ส.ส. ลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยกคำร้อง
นายบรรหารดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.คมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กระทั่งในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายบรรหารได้เป็น รมว.อุตสาหกรรม รมว.มหาดไทย รมว.คลัง กระทั่งมีการรัฐประหารที่นำโดย พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายบรรหารยังได้รับตำแหน่ง รมว.คมนาคม
เมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2529 ศึกษาต่อปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนี้ ยังได้รับปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา และในปี 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์อีกด้วย
ต่อมาในปี 2537 นายบรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย กระทั่งในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2538 พรรคชาติไทยมี ส.ส. ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นายบรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รมว.มหาดไทย
แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี 134 วัน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจโจมตีว่าการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน กดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง จึงตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2539 และการเลือกตั้งในครั้งต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 22
ในการเลือกตั้งปี 2548 พรรคชาติไทยได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว กระทั่งในช่วงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายทักษิณประกาศยุบสภา พรรคชาติไทยร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งปี 2550 นายบรรหารไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน จัดตั้งรัฐบาล กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง 5 ปี เนื่องจากพรรคชาติไทยถูกยุบเพราะกรรมการบริหารพรรคซื้อเสียงเลือกตั้ง ได้มีการตั้งพรรคใหม่ ชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนารองรับ และร่วมงานกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
นายบรรหาร สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (นามสกุลเดิม เลขวัต) มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา หรือ ท็อป อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี สมรสกับ สุวรรณา ไรวินท์ และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา หรือ หนูนา อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา หรือ ยุ้ย ประกอบธุรกิจส่วนตัว
โดยครอบครัวศิลปอาชามีทรัพย์สินรวมกันกว่า 3,500 ล้านบาท สะสมที่ดิน 201 แปลง เกือบ 2 พันไร่ มีบ้าน 3 หลัง ได้แก่ ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด มูลค่า 50 ล้านบาท, ย่านถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ มูลค่า 20 ล้านบาท และบ้านพักที่ จ.สุพรรณบุรี มูลค่า 3 ล้านบาท
สำหรับ นายบรรหาร มีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า "มังกรสุพรรณ" หรือ "มังกรการเมือง" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย "เติ้งเสี่ยวผิง" อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกนายบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร"
สำหรับหมายกำหนดการงานศพนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ที่ศาลา 14 (สุวรรณวณิชกิจ) วัดเทพศิรินทร์ มีดังนี้
วันที่ 23 เมษายน 2559
เวลา 17.00 น. พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
เวลา 19.00 น. พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 3 คืน (23-25 เมษายน)
หลังจากนั้น สวดพระอภิธรรม อีก 7 คืน (26 เมษายน-2 พฤษภาคม) ในเวลา 19.00 น.