รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้(13 เม.ย.) นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด ได้เสียชีวิตแล้วอย่างสงบ ด้วยวัย 67 ปี ที่ โรงพยาบาลศิริราช หลังเข้ารับการรักษาตัวจากอาการป่วยโรคมะเร็ง โดยเบื้องต้นทางครอบครัวได้นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดเทพศิรินทราวาส ศาลาสุวรรณวนิชกิจ (ศาลา14) และจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 16 เม.ย. เวลา 17.00 น.
สำหรับประวัตินายหัสวุฒินั้น เกิดเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2491 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และที่ มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย เคยดำรงตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมทั้งเป็นกรรมการร่วมยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาทางปกครอง
จากนั้นในปี 2543 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด และเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2551 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม คดีปัญหาที่ดินทำกิน และกฎหมายเกี่ยวกับคดีการบริหารงานบุคคล โดยที่ผ่านมานายหัสวุฒิ ร่วมเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญอาทิ คดีเขาพระวิหาร คดีมาบตาพุด และคืนสัญชาติชาวอ.แม่อาย จ.เชียงราย
ทั้งนี้ในช่วงที่นายหัสวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานศาลปกครอง มีปัญหาเรื่องจดหมายน้อย เกี่ยวกับ พิจารณาตำแหน่งตำรวจ ก่อนจะถูก คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือ (ก.ศป.) ให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อปี 2558
สำหรับประวัตินายหัสวุฒินั้น เกิดเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2491 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และที่ มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย เคยดำรงตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมทั้งเป็นกรรมการร่วมยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาทางปกครอง
จากนั้นในปี 2543 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด และเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2551 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม คดีปัญหาที่ดินทำกิน และกฎหมายเกี่ยวกับคดีการบริหารงานบุคคล โดยที่ผ่านมานายหัสวุฒิ ร่วมเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญอาทิ คดีเขาพระวิหาร คดีมาบตาพุด และคืนสัญชาติชาวอ.แม่อาย จ.เชียงราย
ทั้งนี้ในช่วงที่นายหัสวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานศาลปกครอง มีปัญหาเรื่องจดหมายน้อย เกี่ยวกับ พิจารณาตำแหน่งตำรวจ ก่อนจะถูก คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือ (ก.ศป.) ให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อปี 2558