รัฐสภาเวียดนามลงมติด้วยเสียงท่วมท้นในวันพฤหัสบดี (7 เม.ย.) รับรอง เหวียนซวนฟุก ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สืบแทนเหวียนเติ๋นหยุง ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า ฟุกคงไม่มีบทบาทโดดเด่นเท่าหยุง ทั้งภายในประเทศและเวทีโลก หลายคนยังกังขาความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลชุดเก่าทิ้งไว้ให้ ทั้งหนี้สาธารณะ การขาดดุลงบประมาณ และการทุจริต
ฟุกเลื่อนจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอันดับ 1 ขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาล โดยจะต้องมุ่งมั่นยกเครื่องรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหา และปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางครอบคลุม เพื่อให้เป็นไปตามกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีขนาดมหึมาที่มีอเมริกาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และเวียดนามเข้าร่วมด้วย
ขณะเดียวกัน ภารกิจท้าทายใหญ่หลวงอีกส่วนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีใหม่วัย 61 ปีผู้นี้ต้องเผชิญ ได้แก่การสืบทอดผลงานของหยุง นายกรัฐมนตรีคนเก่าซึ่งเป็นนักปฏิรูปที่วาจาแข็งกร้าวและมีความเด็ดขาด ทั้งนี้หยุงได้รับการสนับสนุนอย่างมากรวมทั้งจากโลกตะวันตก แต่ขณะเดียวกัน เขาก็มัวหมองอื้อฉาวในเรื่องพัวพันทุจริตคอร์รัปชั่น และแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจไร้ประสิทธิภาพไม่ได้ รวมทั้งกลุ่มอนุรักษนิยมก็กังวลว่าเขามีอำนาจมากเกินไป
เมอร์เรย์ ไฮเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์ศึกษาและการระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน เชื่อว่า ฟุกจะไม่แสดงบทบาทอย่างโดดเด่นเท่าหยุง และจะปฏิบัติหน้าที่ภายในฉันทามติของคณะกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ตามรายงานของสื่อทางการ สมาชิกรัฐสภาเวียดนามจำนวน 490 คน ที่เข้าร่วมการประชุมในวันพฤหัสบดี (7) ได้โหวตลงมติโดยวิธีลงคะแนนลับ ว่าจะเลือก ฟุก เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่หรือไม่ ปรากฏว่ามี 446 คน หรือ 90.28% รับรอง อีก 44 คน หรือ 8.91% โหวตไม่รับรอง หลังประกาศผลการลงคะแนนแล้ว ฟุกก็เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในทันที
ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากมีปฏิกิริยาต่อการเลือกฟุกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเฉยชา เช่น พลเอกเหวียนจ่องวิง ที่มองว่า ฟุกไม่มีความโดดเด่น ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญใดๆ เกิดขึ้น
ด้านเจิ่นต่วนฮุง อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์วัย 76 ปี ไม่คาดหวังว่า ฟุกจะสามารถฝ่าฟันปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลของหยุงทิ้งไว้ ทั้งหนี้สาธารณะ การขาดดุลงบประมาณ และการทุจริต
ฟุกเลื่อนจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอันดับ 1 ขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาล โดยจะต้องมุ่งมั่นยกเครื่องรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหา และปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางครอบคลุม เพื่อให้เป็นไปตามกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีขนาดมหึมาที่มีอเมริกาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และเวียดนามเข้าร่วมด้วย
ขณะเดียวกัน ภารกิจท้าทายใหญ่หลวงอีกส่วนหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีใหม่วัย 61 ปีผู้นี้ต้องเผชิญ ได้แก่การสืบทอดผลงานของหยุง นายกรัฐมนตรีคนเก่าซึ่งเป็นนักปฏิรูปที่วาจาแข็งกร้าวและมีความเด็ดขาด ทั้งนี้หยุงได้รับการสนับสนุนอย่างมากรวมทั้งจากโลกตะวันตก แต่ขณะเดียวกัน เขาก็มัวหมองอื้อฉาวในเรื่องพัวพันทุจริตคอร์รัปชั่น และแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจไร้ประสิทธิภาพไม่ได้ รวมทั้งกลุ่มอนุรักษนิยมก็กังวลว่าเขามีอำนาจมากเกินไป
เมอร์เรย์ ไฮเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์ศึกษาและการระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน เชื่อว่า ฟุกจะไม่แสดงบทบาทอย่างโดดเด่นเท่าหยุง และจะปฏิบัติหน้าที่ภายในฉันทามติของคณะกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ตามรายงานของสื่อทางการ สมาชิกรัฐสภาเวียดนามจำนวน 490 คน ที่เข้าร่วมการประชุมในวันพฤหัสบดี (7) ได้โหวตลงมติโดยวิธีลงคะแนนลับ ว่าจะเลือก ฟุก เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่หรือไม่ ปรากฏว่ามี 446 คน หรือ 90.28% รับรอง อีก 44 คน หรือ 8.91% โหวตไม่รับรอง หลังประกาศผลการลงคะแนนแล้ว ฟุกก็เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในทันที
ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากมีปฏิกิริยาต่อการเลือกฟุกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเฉยชา เช่น พลเอกเหวียนจ่องวิง ที่มองว่า ฟุกไม่มีความโดดเด่น ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญใดๆ เกิดขึ้น
ด้านเจิ่นต่วนฮุง อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์วัย 76 ปี ไม่คาดหวังว่า ฟุกจะสามารถฝ่าฟันปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลของหยุงทิ้งไว้ ทั้งหนี้สาธารณะ การขาดดุลงบประมาณ และการทุจริต