นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาคำถามพ่วงประชามติ และมีมติให้ส่งคำถามพ่วงประชามติ 1 คำถาม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อถามประชาชน โดยนำข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) และข้อเสนอของคณะกรรมาธิการของ สนช.และสมาชิกที่ส่งคำถามเข้ามา ขณะนี้อยู่ระหว่างการขัดเกลาถ้อยคำในคำถาม ก่อนส่งให้ที่ประชุม สนช.ในวันที่ 7 เมษายนนี้ เห็นชอบ และส่งให้ กกต.ในวันเดียวกัน โดยเป็นคำถามที่จะให้ประชาชนตัดสินใจในกลไกสำคัญที่จะต้องมีหรือไม่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และควรมีระยะเวลานานเท่าใด ซึ่งเป็นคำถามในหลักการที่ให้รัฐสภามีอำนาจในการกำหนดกลไกบางอย่างในช่วงเปลี่ยนผ่านหรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมวิป สนช.ยังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการฯ และจะนำกลับเข้าพิจารณาในวาระ 2-3 ในวันที่ 7 เมษายนนี้ เช่นกัน โดยปรับแก้ในหลายประเด็น โดยเฉพาะบทลงโทษที่กำหนดทั้งจำ ทั้งปรับ สำหรับผู้ที่จูงใจก่อให้เกิดความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือต่อต้าน แยกเป็นความผิดเป็นแบบคนเดียวและความผิดแบบเกิน 5 คน โดยหากทำผิดคนเดียว จะถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากเป็นการทำผิดเกิน 5 คน จะมีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และอาจถูกศาลตัดสินลงโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5-10 ปีด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมวิป สนช.ยังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการฯ และจะนำกลับเข้าพิจารณาในวาระ 2-3 ในวันที่ 7 เมษายนนี้ เช่นกัน โดยปรับแก้ในหลายประเด็น โดยเฉพาะบทลงโทษที่กำหนดทั้งจำ ทั้งปรับ สำหรับผู้ที่จูงใจก่อให้เกิดความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือต่อต้าน แยกเป็นความผิดเป็นแบบคนเดียวและความผิดแบบเกิน 5 คน โดยหากทำผิดคนเดียว จะถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากเป็นการทำผิดเกิน 5 คน จะมีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และอาจถูกศาลตัดสินลงโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5-10 ปีด้วย