สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สื่อในประเทศเยอรมนีได้รับเอกสารลับจำนวนกว่า 11 ล้านฉบับของบริษัทกฎหมายในปานามา ชื่อ 'มอสแซค ฟอนเซกา' โดยเอกสารแสดงให้เห็นวิธีการที่บริษัทนี้ ใช้ในการช่วยเหลือลูกค้าซึ่งรวมไปถึงอดีตผู้นำของประเทศต่างๆ 72 คน ฟอกเงิน และซ่อนทรัพย์สิน
หนังสือพิมพ์ ซุดดอยช์ ไซตุง ของเยอรมนีได้รับเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีการเปิดเผยที่มา ก่อนจะส่งข้อมูลให้แก่สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ (ICIJ) และองค์กรสื่ออีก 107 แห่ง ใน 78 ประเทศ ร่วมวิเคราะห์ด้วย ซึ่งนายเจอราร์ด ไรล์ ผู้อำนวยการของ ICIJ กล่าวว่า เอกสารลับนี้ครอบคลุมข้อมูลธุรกิจของ มอสแซค ฟอนเซกา แบบวันต่อวันตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอกสารลับเปิดเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทต่างประเทศกับครอบครัวและผู้ช่วยของนายฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีอียิปต์, โมอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย และนายบาชาร์ อัล-อัสซาด นอกจากนี้ยังเปิดเผยเครือข่ายต้องสงสัยว่าฟอกเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ บริหารโดย 'แบงก์ รอสซิยา' ธนาคารในรัสเซีย ที่ถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรด้วย
เอกสารลับยังเปิดเผยวิธีการบริหารของ แบงก์ รอสซิยา เป็นครั้งแรก โดยธนาคารนี้โยกย้ายเงินผ่านบริษัทต่างประเทศหลายแห่ง และ 2 แห่งในนี้เป็นของ เซอร์เก โรลดูกิน หนึ่งในเพื่อนสนิทของประธานาธิบดีปูติน รวมทั้งเป็นพ่อทูนหัวของ มาเรีย ลูกสาวของนายปูตินด้วย ซึ่งในเอกสารระบุว่า นายโรลดูกินทำกำไรมูลค่าหลายล้านดอลลาร์จากข้อตกลงที่น่าสงสัย
ไม่เพียงเท่านั้น เอกสารของ มอสแซค ฟอนเซกา ยังแสดงกล่าวหา นายกรัฐมนตรี ซิกมุนตูร์ กุนลอคสัน แห่งไอซ์แลนด์ ว่า ซุกซ่อนเงินลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในธนาคารในไอซ์แลนด์ไว้ในบริษัทนอกประเทศแห่งหนึ่ง ขณะที่เขาและภรรยาซื้อบริษัทต่างประเทศที่ชื่อ 'วินทริส' เอาไว้ตั้งแต่ปี 2007 และไม่มีการเปิดเผยทรัพย์สินของบริษัทในช่วงที่เขารับตำแหน่งนายกฯ ในปี 2009 จากนั้น 8 เดือนต่อมา เขาจึงขายหุ้นของวินทริส 50% ให้แก่ภรรยาในราคาเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้เขากำลังเผชิญเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง แม้เขาจะยืนยันว่าเขาไม่ได้ทำผิดกฎข้อใด และภรรยาของเขาไม่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากการตัดสินใจของเขา
ข้อมูลเปิดเผยกรณีที่ มอสแซค ฟอนเซกา จัดหาตัวแทนแสร้งทำเป็นว่าเป็นเจ้าของเงินจำนวน 1.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้เจ้าของตัวจริงสามารถถอนเงินออกจากธนาคารโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนด้วย
ด้านบริษัท มอสแซค ฟอนเซกา ออกมายืนยันว่า บริษัทปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศมาโดยตลอด เพื่อรับประกันว่าบริษัทจะไม่ถูกใช้เพื่อการเลี่ยงภาษี, ฟอกเงิน, แหล่งเงินทุนแก่ผู้ก่อการร้าย และการกระทำผิดอื่นๆ "ตลอด 40 ปี มอสแซค ฟอนเซกา ดำเนินกิจการโดยไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในประเทศบ้านเกิดและสาขาอื่นๆ บริษัทของเราไม่เคยถูกกล่าวหา หรือถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม"
"หากเราตรวจพบกิจกรรมต้องสงสัยหรือการกระทำผิด เราจะแจ้งไปยังทางการโดยเร็ว เช่นกัน เมื่อเจ้าหน้าที่แสดงหลักฐานว่าอาจเกิดการกระทำผิด เราก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เสมอ" มอสแซค ฟอนเซกา ระบุ.
หนังสือพิมพ์ ซุดดอยช์ ไซตุง ของเยอรมนีได้รับเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีการเปิดเผยที่มา ก่อนจะส่งข้อมูลให้แก่สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ (ICIJ) และองค์กรสื่ออีก 107 แห่ง ใน 78 ประเทศ ร่วมวิเคราะห์ด้วย ซึ่งนายเจอราร์ด ไรล์ ผู้อำนวยการของ ICIJ กล่าวว่า เอกสารลับนี้ครอบคลุมข้อมูลธุรกิจของ มอสแซค ฟอนเซกา แบบวันต่อวันตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอกสารลับเปิดเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทต่างประเทศกับครอบครัวและผู้ช่วยของนายฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีอียิปต์, โมอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย และนายบาชาร์ อัล-อัสซาด นอกจากนี้ยังเปิดเผยเครือข่ายต้องสงสัยว่าฟอกเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ บริหารโดย 'แบงก์ รอสซิยา' ธนาคารในรัสเซีย ที่ถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรด้วย
เอกสารลับยังเปิดเผยวิธีการบริหารของ แบงก์ รอสซิยา เป็นครั้งแรก โดยธนาคารนี้โยกย้ายเงินผ่านบริษัทต่างประเทศหลายแห่ง และ 2 แห่งในนี้เป็นของ เซอร์เก โรลดูกิน หนึ่งในเพื่อนสนิทของประธานาธิบดีปูติน รวมทั้งเป็นพ่อทูนหัวของ มาเรีย ลูกสาวของนายปูตินด้วย ซึ่งในเอกสารระบุว่า นายโรลดูกินทำกำไรมูลค่าหลายล้านดอลลาร์จากข้อตกลงที่น่าสงสัย
ไม่เพียงเท่านั้น เอกสารของ มอสแซค ฟอนเซกา ยังแสดงกล่าวหา นายกรัฐมนตรี ซิกมุนตูร์ กุนลอคสัน แห่งไอซ์แลนด์ ว่า ซุกซ่อนเงินลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในธนาคารในไอซ์แลนด์ไว้ในบริษัทนอกประเทศแห่งหนึ่ง ขณะที่เขาและภรรยาซื้อบริษัทต่างประเทศที่ชื่อ 'วินทริส' เอาไว้ตั้งแต่ปี 2007 และไม่มีการเปิดเผยทรัพย์สินของบริษัทในช่วงที่เขารับตำแหน่งนายกฯ ในปี 2009 จากนั้น 8 เดือนต่อมา เขาจึงขายหุ้นของวินทริส 50% ให้แก่ภรรยาในราคาเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้เขากำลังเผชิญเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง แม้เขาจะยืนยันว่าเขาไม่ได้ทำผิดกฎข้อใด และภรรยาของเขาไม่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากการตัดสินใจของเขา
ข้อมูลเปิดเผยกรณีที่ มอสแซค ฟอนเซกา จัดหาตัวแทนแสร้งทำเป็นว่าเป็นเจ้าของเงินจำนวน 1.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้เจ้าของตัวจริงสามารถถอนเงินออกจากธนาคารโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนด้วย
ด้านบริษัท มอสแซค ฟอนเซกา ออกมายืนยันว่า บริษัทปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศมาโดยตลอด เพื่อรับประกันว่าบริษัทจะไม่ถูกใช้เพื่อการเลี่ยงภาษี, ฟอกเงิน, แหล่งเงินทุนแก่ผู้ก่อการร้าย และการกระทำผิดอื่นๆ "ตลอด 40 ปี มอสแซค ฟอนเซกา ดำเนินกิจการโดยไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในประเทศบ้านเกิดและสาขาอื่นๆ บริษัทของเราไม่เคยถูกกล่าวหา หรือถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม"
"หากเราตรวจพบกิจกรรมต้องสงสัยหรือการกระทำผิด เราจะแจ้งไปยังทางการโดยเร็ว เช่นกัน เมื่อเจ้าหน้าที่แสดงหลักฐานว่าอาจเกิดการกระทำผิด เราก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เสมอ" มอสแซค ฟอนเซกา ระบุ.