พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 18 จังหวัด รวม 68 อำเภอ 306 ตำบล เพื่อบริหารจัดการน้ำต้นทุนทั้งหมดที่เรามีให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง จึงวางแผนบริหารจัดการน้ำและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้เน้นย้ำให้การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง (กปน.) วางมาตรการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่จะนำมาผลิตน้ำประปาให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีระบบประปาหมู่บ้านที่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันมีประปาหมู่บ้านเกือบทั่วประเทศแล้ว
ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการจัดสรรน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงเป็นอันดับแรก และการใช้ประโยชน์จากน้ำทุกแหล่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้งบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง แยกเป็น 2 ส่วน คือ งบประมาณที่ใช้ในการยับยั้งหรือป้องกันภัยพิบัติ วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินได้โดยไม่ต้องประกาศเขตฯ และงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วงเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด เพิ่มอีกจังหวัดละ 30 ล้านบาท รวมกับของเดิม 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวอีกว่า สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้แจกจ่ายน้ำแก่ผู้ประสบภัยแล้ง แยกเป็นสนับสนุนการผลิตน้ำประปา 6,117,472,000 ลิตร น้ำเพื่อการเกษตร 1,602,572 ลูกบาศก์เมตร น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 113,968,000 ลิตร และน้ำดื่มสะอาดแจกจ่ายแก่ประชาชน 1,104,000 ลิตร ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จำนวน 1,173 บ่อ ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ จำนวน 2,224 โครงการ โดยขุดลอกคูคลองปรับปรุงสภาพแหล่งน้ำเดิมและ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ สร้างแก้มลิง-ฝายประชารัฐ รวมทั้งดำเนินมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เช่น มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างราย ปัจจุบันดำเนินการแล้วใน 28 จังหวัด วงเงินงบประมาณ 125,270,264 บาท แยกเป็นจ้างแรงงาน จำนวน 165,749 คน เป่าล้างบ่อบาดาล จำนวน 3,675 บ่อ ฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 12,502 ครัวเรือน ซ่อมแซมระบบประปา จำนวน 212 แห่ง
ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการจัดสรรน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงเป็นอันดับแรก และการใช้ประโยชน์จากน้ำทุกแหล่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้งบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง แยกเป็น 2 ส่วน คือ งบประมาณที่ใช้ในการยับยั้งหรือป้องกันภัยพิบัติ วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินได้โดยไม่ต้องประกาศเขตฯ และงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วงเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด เพิ่มอีกจังหวัดละ 30 ล้านบาท รวมกับของเดิม 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวอีกว่า สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้แจกจ่ายน้ำแก่ผู้ประสบภัยแล้ง แยกเป็นสนับสนุนการผลิตน้ำประปา 6,117,472,000 ลิตร น้ำเพื่อการเกษตร 1,602,572 ลูกบาศก์เมตร น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 113,968,000 ลิตร และน้ำดื่มสะอาดแจกจ่ายแก่ประชาชน 1,104,000 ลิตร ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จำนวน 1,173 บ่อ ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ จำนวน 2,224 โครงการ โดยขุดลอกคูคลองปรับปรุงสภาพแหล่งน้ำเดิมและ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ สร้างแก้มลิง-ฝายประชารัฐ รวมทั้งดำเนินมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เช่น มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างราย ปัจจุบันดำเนินการแล้วใน 28 จังหวัด วงเงินงบประมาณ 125,270,264 บาท แยกเป็นจ้างแรงงาน จำนวน 165,749 คน เป่าล้างบ่อบาดาล จำนวน 3,675 บ่อ ฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 12,502 ครัวเรือน ซ่อมแซมระบบประปา จำนวน 212 แห่ง