กรณีระบบเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ขัดข้อง ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าจอดนิ่งคารางลอยฟ้าระหว่างสถานีหัวหมากมุ่งหน้าสถานีรามคำแหง มีผู้โดยสาร 745 คนติดอยู่เป็นเวลานานนับชั่วโมง มีบางส่วนเป็นลมเพราะขาดอากาศหายใจ ก่อนผู้โดยสารจะช่วยงัดประตูลงจากรถ เดินย้อนกับมาที่สถานีหัวหมากเพื่อนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล เบื้องต้นผู้รับผิดชอบระบุเหตุจากระบบจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง รวมทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองเก่าใช้การไม่ได้ อยู่ระหว่างรออนุมัติจัดซื้อ
เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าได้แจ้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อถกถึงปัญหาในที่ประชุม ครม. ส่วนการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 29 มี.ค. เรียกประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาการจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นสอบถาม พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ทราบว่ารู้ปัญหามาตั้งแต่ปลายปี 2558 ไม่เข้าใจว่ารู้นานแล้วและมีอำนาจจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้ แต่ทำไมไม่ทำ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ในช่วงที่ตนเป็นประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติซ่อมแซมใหญ่ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับไปซ่อมเล็กๆน้อยๆ แล้วขออนุมัติกว่า 380 ล้านบาท ไม่ทราบว่าเอาเงินไปทำอะไร แบบนี้ต้องมีมาตรการลงโทษ เพราะเป็นอำนาจที่ต้องแก้ไขปรับปรุง อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยกให้ทั้งหมดตั้งแต่สมัยนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ในปี 2556
“เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมเหนื่อยมาก เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุระยะทาง 2 กม. ถามว่า พล.อ.ดรัณอยู่ไหน ได้คำตอบว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ เลยถามว่าทำไมไม่มาแก้ปัญหา เพราะเรื่องนี้เคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนที่เกิดปัญหาว่า การเป็นผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่นหรือโทรศัพท์มาสั่งการก็ได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก กรณีนี้เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงพื้นที่แก้ปัญหากลับปล่อยให้ผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ” นายออมสินกล่าว
นายออมสินยังระบุว่า สั่งการให้ฝ่ายรับผิดชอบรายงานแผนเผชิญเหตุภายในวันที่ 22 มี.ค. ว่ามีแผนเผชิญเหตุหรือไม่ ถ้ามีแล้วทำไมถึงไม่ทำ งานนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ หลังจากนี้จะไปดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อดูว่าดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ ก่อนตัดสินว่าจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบหรือไม่ จะอ้างว่าไม่มีงบฯและไม่มีอำนาจไม่ได้
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตรวจสอบแล้วแอร์พอร์ตลิงก์เส้นนี้มีปัญหามานานแล้วและไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ ประเด็นสำคัญคือจำนวนขบวนรถ ไม่ได้เตรียมการในเรื่องระบบต่างๆทดแทน เหตุที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหลักเสีย นอกจากนี้ ยังพบระบบไฟฟ้าสำรองเสียมาหลายเดือนแล้ว อยู่ระหว่างสอบสวน หากทุกคนทำงานเอาใจใส่ก็จบ ที่ผ่านมาอยากบอกว่ามันไม่ใช่ใครที่ต้องไปแถลงตรงโน้นตรงนี้ รมว.คมนาคมได้ให้ รมช.เป็นผู้ชี้แจง ใครอยู่ใกล้ก็ไปก่อนแค่นั้นเองและคนที่ไปช้าต้องตอบให้ได้ว่าทำไมไปช้าเพราะมันเป็นหน้าที่ ในระดับนโยบาย ตนและรัฐมนตรี ส่วนระดับอื่นมีผู้ปฏิบัติอยู่แล้วต้องไปลงโทษผู้ปฏิบัติ ไปหามาตรการไม่ให้เกิดซ้ำอีก การลงโทษมีทั้งเบาไปหาหนัก ไม่ใช่เอาไปฆ่าทิ้ง ต้องแก้ให้ถูกจุด
“สั่งการให้หาทางซ่อมแซมก่อน รถที่ใช้ตอนนี้แน่นเกินไปเพราะเป็นที่นั่งแบบบิสซิเนสหมด อาจต้องเอา 4 ขบวนมาปรับปรุงให้เสร็จภายใน 4 เดือน จะทำให้ได้ที่นั่ง ที่ยืนมากขึ้น สามารถขนคนได้มากขึ้น ส่วนการซื้อใหม่ยังไม่ซื้อ จะซื้อใหม่ตอนที่แก้ปัญหาเสร็จ ทุกคนมุ่งแต่จะซื้อใหม่หมด ผมยังไม่ให้ทั้งหมดหรอก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นอกจากนี้ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า สั่งการ ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทำแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติมส่งกลับมาใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค. เพราะแผนที่ส่งมาไม่มีรายละเอียดชัดเจน อาทิ แผนช่วยเหลือ แผนงบประมาณซ่อมแซม และผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ยังสั่งการให้ประชุมบอร์ดในวันที่ 24 มี.ค. เรื่องขออนุมัติจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า 7 ชุด วงเงิน 32,114,000 บาท ก่อนเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบอร์ดรถไฟวันที่ 29 มี.ค. หากดำเนินการตามขั้นตอนปัญหาที่เกิดขึ้นจะหมดไป ส่วนเรื่องรายละเอียดที่บอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์นำงบประมาณกว่า 85 ล้านบาท ไปซ่อมรถบางส่วนก่อน ทั้งที่บอร์ดรถไฟอนุมัติงบกว่า 385.94 ล้านบาท เพื่อซ่อมใหญ่ แต่กลับเลือกซ่อมบางส่วน มองว่าทำไมต้องปรับลดรายการซ่อมจาก 17 รายการเหลือ 13 รายการ ต้องรายงานข้อเท็จจริงกลับมาภายในวันที่ 25 มี.ค. รวมถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าได้แจ้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อถกถึงปัญหาในที่ประชุม ครม. ส่วนการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 29 มี.ค. เรียกประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาการจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าใหม่ด้วยวิธีพิเศษ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นสอบถาม พล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ทราบว่ารู้ปัญหามาตั้งแต่ปลายปี 2558 ไม่เข้าใจว่ารู้นานแล้วและมีอำนาจจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในวงเงิน 25 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.มอบอำนาจให้ แต่ทำไมไม่ทำ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ในช่วงที่ตนเป็นประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติซ่อมแซมใหญ่ทั้ง 9 ขบวน แต่กลับไปซ่อมเล็กๆน้อยๆ แล้วขออนุมัติกว่า 380 ล้านบาท ไม่ทราบว่าเอาเงินไปทำอะไร แบบนี้ต้องมีมาตรการลงโทษ เพราะเป็นอำนาจที่ต้องแก้ไขปรับปรุง อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยกให้ทั้งหมดตั้งแต่สมัยนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ในปี 2556
“เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผมเหนื่อยมาก เดินไปจนถึงตัวรถที่เกิดเหตุระยะทาง 2 กม. ถามว่า พล.อ.ดรัณอยู่ไหน ได้คำตอบว่ารออยู่ที่ออฟฟิศ เลยถามว่าทำไมไม่มาแก้ปัญหา เพราะเรื่องนี้เคยพูดกับนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด ตอนที่เกิดปัญหาว่า การเป็นผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบองค์กร เมื่อเกิดปัญหาต้องมาถึงที่เกิดเหตุก่อนคนอื่นหรือโทรศัพท์มาสั่งการก็ได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้ผู้โดยสารลำบาก กรณีนี้เช่นเดียวกัน แทนที่จะลงพื้นที่แก้ปัญหากลับปล่อยให้ผู้โดยสารทนไม่ได้ ต้องเดินออกมาท่ามกลางอากาศร้อนๆ” นายออมสินกล่าว
นายออมสินยังระบุว่า สั่งการให้ฝ่ายรับผิดชอบรายงานแผนเผชิญเหตุภายในวันที่ 22 มี.ค. ว่ามีแผนเผชิญเหตุหรือไม่ ถ้ามีแล้วทำไมถึงไม่ทำ งานนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ หลังจากนี้จะไปดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อดูว่าดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ ก่อนตัดสินว่าจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบหรือไม่ จะอ้างว่าไม่มีงบฯและไม่มีอำนาจไม่ได้
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตรวจสอบแล้วแอร์พอร์ตลิงก์เส้นนี้มีปัญหามานานแล้วและไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ ประเด็นสำคัญคือจำนวนขบวนรถ ไม่ได้เตรียมการในเรื่องระบบต่างๆทดแทน เหตุที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหลักเสีย นอกจากนี้ ยังพบระบบไฟฟ้าสำรองเสียมาหลายเดือนแล้ว อยู่ระหว่างสอบสวน หากทุกคนทำงานเอาใจใส่ก็จบ ที่ผ่านมาอยากบอกว่ามันไม่ใช่ใครที่ต้องไปแถลงตรงโน้นตรงนี้ รมว.คมนาคมได้ให้ รมช.เป็นผู้ชี้แจง ใครอยู่ใกล้ก็ไปก่อนแค่นั้นเองและคนที่ไปช้าต้องตอบให้ได้ว่าทำไมไปช้าเพราะมันเป็นหน้าที่ ในระดับนโยบาย ตนและรัฐมนตรี ส่วนระดับอื่นมีผู้ปฏิบัติอยู่แล้วต้องไปลงโทษผู้ปฏิบัติ ไปหามาตรการไม่ให้เกิดซ้ำอีก การลงโทษมีทั้งเบาไปหาหนัก ไม่ใช่เอาไปฆ่าทิ้ง ต้องแก้ให้ถูกจุด
“สั่งการให้หาทางซ่อมแซมก่อน รถที่ใช้ตอนนี้แน่นเกินไปเพราะเป็นที่นั่งแบบบิสซิเนสหมด อาจต้องเอา 4 ขบวนมาปรับปรุงให้เสร็จภายใน 4 เดือน จะทำให้ได้ที่นั่ง ที่ยืนมากขึ้น สามารถขนคนได้มากขึ้น ส่วนการซื้อใหม่ยังไม่ซื้อ จะซื้อใหม่ตอนที่แก้ปัญหาเสร็จ ทุกคนมุ่งแต่จะซื้อใหม่หมด ผมยังไม่ให้ทั้งหมดหรอก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นอกจากนี้ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า สั่งการ ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ทำแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติมส่งกลับมาใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค. เพราะแผนที่ส่งมาไม่มีรายละเอียดชัดเจน อาทิ แผนช่วยเหลือ แผนงบประมาณซ่อมแซม และผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ยังสั่งการให้ประชุมบอร์ดในวันที่ 24 มี.ค. เรื่องขออนุมัติจัดซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า 7 ชุด วงเงิน 32,114,000 บาท ก่อนเสนอขออนุมัติคณะกรรมการบอร์ดรถไฟวันที่ 29 มี.ค. หากดำเนินการตามขั้นตอนปัญหาที่เกิดขึ้นจะหมดไป ส่วนเรื่องรายละเอียดที่บอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์นำงบประมาณกว่า 85 ล้านบาท ไปซ่อมรถบางส่วนก่อน ทั้งที่บอร์ดรถไฟอนุมัติงบกว่า 385.94 ล้านบาท เพื่อซ่อมใหญ่ แต่กลับเลือกซ่อมบางส่วน มองว่าทำไมต้องปรับลดรายการซ่อมจาก 17 รายการเหลือ 13 รายการ ต้องรายงานข้อเท็จจริงกลับมาภายในวันที่ 25 มี.ค. รวมถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นและผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต