ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้เป็นวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน และประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนประเทศในซีกโลกใต้นับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง สำหรับประเทศไทยในวันที่ 20 มีนาคม 2559 กรุงเทพมหานครดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.29 น. ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา หลังจากนี้ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่เฉียงไปทางเหนือเรื่อยๆ และหยุดที่จุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิถุนายน หลังจากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนที่เฉียงลงมาทางใต้อีกครั้งหนึ่ง
ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ทำให้ในรอบหนึ่งปี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงที่ใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ช่วงที่ไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร) แต่การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้างนั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของใกล้ไกล ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมากจึงไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศา เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนต่างๆ ของโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่างๆ ขึ้น
ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ทำให้ในรอบหนึ่งปี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงที่ใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ช่วงที่ไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร) แต่การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้างนั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของใกล้ไกล ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมากจึงไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศา เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนต่างๆ ของโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่างๆ ขึ้น