นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การดำเนินงานโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน มียอดการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการต่าง ๆ เป็นจำนวนเงิน 15,736.85 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ได้รับอนุมัติโครงการจากสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่แล้วจำนวน 121,527 โครงการ เป็นเงิน 36,254.78 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 11,946.32 ล้านบาท ซึ่งมีหลายจังหวัดที่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดนราธิวาส เบิกจ่ายแล้วร้อยละ 91.01 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 385 ล้านบาท จังหวัดสกลนคร เบิกจ่ายแล้วร้อยละ 82.45 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 625 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดติดตามการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการดังกล่าว รวมทั้งกำชับให้ทุกจังหวัด กำกับดูแลและตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส
นายชยพล กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้การดำเนินงานล่าช้า เช่น การขออนุญาตใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการ ปัญหาเรื่องการกำหนดราคากลาง ปัญหาเรื่องการรับจ้างงานกรณีผู้รับจ้างในระดับอำเภอมีจำนวนจำกัด แต่มีปริมาณงานจ้างเป็นจำนวนมาก ปัญหาความไม่เสถียรของระบบอินเทอร์เน็ต ส่งผลทำให้การรับส่งข้อมูลในการดำเนินงานมีความล่าช้า ปัญหาการตรวจรับงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจรับงานโครงการก่อสร้างที่มีเนื้องานคอนกรีต ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ระยะเวลาในการบ่มคอนกรีตอายุ 28 วัน ส่งผลทำให้การเบิกจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากผู้ตรวจรับงานรอระยะเวลาการบ่มคอนกรีตตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตลอดจนปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่องอำนาจในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงโครงการ เป็นต้น
ทั้งนี้ ระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่เหลือ ทุกจังหวัดจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้ทันตามกำหนดระยะเวลา จึงเกรงว่าระบบอาจจะรองรับไม่ทัน ดังนั้น เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายจึงจำเป็นจะต้องทำการก่อหนี้ผูกพันโดยการจองเงินในระบบ (พีโอ) ไว้ก่อนในทุกๆโครงการ ภายใน 31 มีนาคม 2559 นี้ โดยรมว.มหาดไทยได้มอบเป็นนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในแต่ละพื้นที่ลงไปกำกับติดตาม ตรวจสอบดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
นายชยพล กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้การดำเนินงานล่าช้า เช่น การขออนุญาตใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการ ปัญหาเรื่องการกำหนดราคากลาง ปัญหาเรื่องการรับจ้างงานกรณีผู้รับจ้างในระดับอำเภอมีจำนวนจำกัด แต่มีปริมาณงานจ้างเป็นจำนวนมาก ปัญหาความไม่เสถียรของระบบอินเทอร์เน็ต ส่งผลทำให้การรับส่งข้อมูลในการดำเนินงานมีความล่าช้า ปัญหาการตรวจรับงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจรับงานโครงการก่อสร้างที่มีเนื้องานคอนกรีต ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ระยะเวลาในการบ่มคอนกรีตอายุ 28 วัน ส่งผลทำให้การเบิกจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากผู้ตรวจรับงานรอระยะเวลาการบ่มคอนกรีตตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตลอดจนปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่องอำนาจในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงโครงการ เป็นต้น
ทั้งนี้ ระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่เหลือ ทุกจังหวัดจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้ทันตามกำหนดระยะเวลา จึงเกรงว่าระบบอาจจะรองรับไม่ทัน ดังนั้น เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายจึงจำเป็นจะต้องทำการก่อหนี้ผูกพันโดยการจองเงินในระบบ (พีโอ) ไว้ก่อนในทุกๆโครงการ ภายใน 31 มีนาคม 2559 นี้ โดยรมว.มหาดไทยได้มอบเป็นนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในแต่ละพื้นที่ลงไปกำกับติดตาม ตรวจสอบดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด