นางธนวดี ท่าจีน ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง เรียกร้องให้ชายไทยไม่สูบบุหรี่ภายในบ้าน เพื่อเป็นของขวัญ ในโอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม ลดการได้รับควันบุหรี่มือสองในหญิงไทย โดยแม้หญิงไทยร้อยละ 98 จะไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่ในบ้านระดับที่สูงมาก ผลสำรวจทั่วประเทศ ปี 2554 พบว่า มีประชากรหญิงและชายอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ไม่สูบบุหรี่ 11.6 ล้านคน ได้รับควันบุหรี่ในบ้าน ในจำนวนนี้ 8.4 ล้านคนเป็นเพศหญิง โดยหญิงภาคใต้ได้รับควันบุหรี่ในบ้านสูงสุดร้อยละ 43.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 29 ภาคเหนือ ร้อยละ 25.9 ภาคกลางร้อยละ 27.6 และต่ำสุดใน กทม. ร้อยละ 13.2
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง 70 ชนิด สารพิษ 250 ชนิด จึงเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดในบ้าน และสารพิษจะลอยวนเวียนอยู่นานนับชั่วโมงภายหลังที่มีการสูบบุหรี่ และสามารถจะวัดสารพิษได้ แม้จะไม่มีกลิ่นบุหรี่แล้วก็ตาม การได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ หรือควันบุหรี่มือสองทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ทั้งการเป็นมะเร็งปอด โรคเส้นเลือดหัวใจและสมอง เกิดอาการหืดจับ และการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก ทั้งนี้ การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองปีละหกแสนคน ในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 25 เป็นผู้ชาย และร้อยละ 28 เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง 70 ชนิด สารพิษ 250 ชนิด จึงเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดในบ้าน และสารพิษจะลอยวนเวียนอยู่นานนับชั่วโมงภายหลังที่มีการสูบบุหรี่ และสามารถจะวัดสารพิษได้ แม้จะไม่มีกลิ่นบุหรี่แล้วก็ตาม การได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ หรือควันบุหรี่มือสองทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ทั้งการเป็นมะเร็งปอด โรคเส้นเลือดหัวใจและสมอง เกิดอาการหืดจับ และการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก ทั้งนี้ การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองปีละหกแสนคน ในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 25 เป็นผู้ชาย และร้อยละ 28 เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี