ความเคลื่อนไหวกรณีสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ยังคงให้นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ บจก.ไร่ส้ม เป็นพิธีกรดำเนินรายการต่อไป หลังศาลอาญาพิพากษาจำคุก 13 ปี 4 เดือนข้อหาทุจริตค่าโฆษณาในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ อสมท กว่า 138 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่รัฐสภา แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปท.)แถลงว่า คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน กับคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวบรวมรายชื่อสมาชิก สปท.บางส่วน เพื่อเสนอญัตติต่อร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.โดยมีหัวข้ออภิปรายเรื่อง การปฏิรูปจริยธรรมของสื่อมวลชน และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณีศาลคำตัดสินจำคุกนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถ้าที่ประชุมวิป สปท.เห็นด้วยจะบรรจุเข้าวาระการประชุม เพื่อเปิดอภิปรายในวันที่ 7 มีนาคม
“ญัตติดังกล่าวไม่เป็นการกดดันนายสรยุทธ เพราะเชื่อว่าไม่มีใครกดดันใครได้ เรื่องนี้อยู่ที่สามัญสำนึกของแต่ละบุคคล”พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์กล่าว และว่า ถ้านายสรยุทธเชิญไปออกรายการก็จะไม่ไป เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวกับนายสรยุทธหรือช่อง 3 เพราะปัญหาขณะนี้คือ วิกฤตคุณธรรม คนมีการศึกษากำลังเถรตรง เอากฎหมายมาจับ เดิมทีต้องเรียกหาใบเสร็จก็ถือว่าแย่แล้ว แต่กรณีนี้เห็นความจริงชัด ซึ่งในหน้าที่เราเห็นว่าไม่ควรรออีกต่อไป และไม่เห็นด้วยกับกระบวนการนินทาซุบซิบ คนดีต้องลุกขึ้นมาพูด แต่ต้องพูดโดยไม่มีอารมณ์ เพราะ ความจริง 4 ข้อเรื่องนี้แทบไม่ต้องแสวงหาก็คือ
1.มีการปลอมแปลงเอกสารโดยใช้ลิควิดลบในเอกสารหลักฐาน เพื่อให้ข้อมูลตรงกับเอกสารทางราชการ 2.มีการจ่ายเช็คตรงให้ทางราชการในลักษณะไม่ใช้ตัวเลขกลมๆ ซึ่งจะสามารถหาได้ว่า เป็นการจ่ายโดยเสน่หาหรือจ่ายเปอร์เซ็นต์ 3.อสมท ตรวจสอบและต้องเรียกจ่ายเงิน 138 ล้านบาทถือเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือไม่ และ4. ป.ป.ช.ตรวจสอบและลงโทษผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว จนนำไปสู่ข้อที่ 5 คือ ศาลชั้นต้นมีคำตัดสินว่ามีความผิดจริง
วันเดียวกัน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอความร่วมมือรักษาบรรษัทภิบาลในกรณีสรยุทธ์-ช่อง3 เพื่อยกมาตรฐานจริยธรรมสังคม สืบเนื่องจากกรณีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ยังคงบทบาทและดำเนินรายการในฐานะพิธีกรรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง3 แม้จะถูกศาลอาญาตัดสินจำคุก คดีทุจริตค่าโฆษณา 138 ล้านบาทของบริษัทไร่ส้ม มีเนื้อหาโดยสรุปว่า หลังศาลมีคำพิพากษา เราคาดหวังจะเห็นจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและการเคารพคำตัดสินด้วยการยุติบทบาทชั่วคราว แต่ผู้บริหารช่อง 3 มีมติสนับสนุนนายสรยุทธให้ดำเนินรายการต่อ ด้วยเหตุผลว่า เป็นเรื่องเกิดก่อนร่วมงานกันและคดียังไม่สิ้นสุด รวมทั้งมีการทำงานเป็นลักษณะครอบครัวเดียวกัน
“กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นวิกฤตจริยธรรมของสังคมไทยอย่างน่าเป็นห่วง การที่สื่อมวลชน หนึ่งในฐานันดร 4 ปฏิเสธแสดงความรับผิดชอบในวิชาชีพ ด้วยการยุติบทบาทชั่วคราวจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ และการที่องค์กรธุรกิจระดับประเทศที่ควรเป็นต้นแบบบรรษัทภิบาล ปฏิเสธแสดงจุดยืนต้านคอร์รัปชั่น แต่กลับสนับสนุนให้ผู้ที่ได้รับการกำหนดโทษโดยกฎหมาย ให้ทำหน้าที่ต่อเหมือนไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น เป็นสิ่งสะเทือนความเชื่อมั่นในความถูกต้อง ลดทอนศรัทธาภาคธุรกิจทั้งในสายตาคนไทยและนานาประเทศ สังคมไทยไม่ควรยอมรับและปล่อยให้ผ่านเลย เพราะคือจุดเริ่มต้นและตอกย้ำ ความล้มเหลวของมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณ”แถลงการณ์ระบุ
และว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันขอความร่วมมือแสดงจุดยืนด้านบรรษัทภิบาล เอาผลประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง ผู้เกี่ยวเนื่องนับจากนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง บริษัทและองค์กรผู้ลงโฆษณา สามารถแสดงบทบาทความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ด้วยการไม่สนับสนุนหรือให้โอกาสแก่การทุจริตคดโกง อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นเพียงอีกหนึ่งข่าวที่เล่าสู่ แต่ต้องให้เป็นกรณีศึกษาถึงความเข้มแข็งของพลังสังคม ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง คนไทยจะไม่ยอมให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม ธุรกิจไทยจะไม่สนับสนุนคนโกง
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่รัฐสภา แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปท.)แถลงว่า คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน กับคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวบรวมรายชื่อสมาชิก สปท.บางส่วน เพื่อเสนอญัตติต่อร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.โดยมีหัวข้ออภิปรายเรื่อง การปฏิรูปจริยธรรมของสื่อมวลชน และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณีศาลคำตัดสินจำคุกนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถ้าที่ประชุมวิป สปท.เห็นด้วยจะบรรจุเข้าวาระการประชุม เพื่อเปิดอภิปรายในวันที่ 7 มีนาคม
“ญัตติดังกล่าวไม่เป็นการกดดันนายสรยุทธ เพราะเชื่อว่าไม่มีใครกดดันใครได้ เรื่องนี้อยู่ที่สามัญสำนึกของแต่ละบุคคล”พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์กล่าว และว่า ถ้านายสรยุทธเชิญไปออกรายการก็จะไม่ไป เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวกับนายสรยุทธหรือช่อง 3 เพราะปัญหาขณะนี้คือ วิกฤตคุณธรรม คนมีการศึกษากำลังเถรตรง เอากฎหมายมาจับ เดิมทีต้องเรียกหาใบเสร็จก็ถือว่าแย่แล้ว แต่กรณีนี้เห็นความจริงชัด ซึ่งในหน้าที่เราเห็นว่าไม่ควรรออีกต่อไป และไม่เห็นด้วยกับกระบวนการนินทาซุบซิบ คนดีต้องลุกขึ้นมาพูด แต่ต้องพูดโดยไม่มีอารมณ์ เพราะ ความจริง 4 ข้อเรื่องนี้แทบไม่ต้องแสวงหาก็คือ
1.มีการปลอมแปลงเอกสารโดยใช้ลิควิดลบในเอกสารหลักฐาน เพื่อให้ข้อมูลตรงกับเอกสารทางราชการ 2.มีการจ่ายเช็คตรงให้ทางราชการในลักษณะไม่ใช้ตัวเลขกลมๆ ซึ่งจะสามารถหาได้ว่า เป็นการจ่ายโดยเสน่หาหรือจ่ายเปอร์เซ็นต์ 3.อสมท ตรวจสอบและต้องเรียกจ่ายเงิน 138 ล้านบาทถือเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือไม่ และ4. ป.ป.ช.ตรวจสอบและลงโทษผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว จนนำไปสู่ข้อที่ 5 คือ ศาลชั้นต้นมีคำตัดสินว่ามีความผิดจริง
วันเดียวกัน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอความร่วมมือรักษาบรรษัทภิบาลในกรณีสรยุทธ์-ช่อง3 เพื่อยกมาตรฐานจริยธรรมสังคม สืบเนื่องจากกรณีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ยังคงบทบาทและดำเนินรายการในฐานะพิธีกรรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง3 แม้จะถูกศาลอาญาตัดสินจำคุก คดีทุจริตค่าโฆษณา 138 ล้านบาทของบริษัทไร่ส้ม มีเนื้อหาโดยสรุปว่า หลังศาลมีคำพิพากษา เราคาดหวังจะเห็นจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและการเคารพคำตัดสินด้วยการยุติบทบาทชั่วคราว แต่ผู้บริหารช่อง 3 มีมติสนับสนุนนายสรยุทธให้ดำเนินรายการต่อ ด้วยเหตุผลว่า เป็นเรื่องเกิดก่อนร่วมงานกันและคดียังไม่สิ้นสุด รวมทั้งมีการทำงานเป็นลักษณะครอบครัวเดียวกัน
“กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นวิกฤตจริยธรรมของสังคมไทยอย่างน่าเป็นห่วง การที่สื่อมวลชน หนึ่งในฐานันดร 4 ปฏิเสธแสดงความรับผิดชอบในวิชาชีพ ด้วยการยุติบทบาทชั่วคราวจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ และการที่องค์กรธุรกิจระดับประเทศที่ควรเป็นต้นแบบบรรษัทภิบาล ปฏิเสธแสดงจุดยืนต้านคอร์รัปชั่น แต่กลับสนับสนุนให้ผู้ที่ได้รับการกำหนดโทษโดยกฎหมาย ให้ทำหน้าที่ต่อเหมือนไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น เป็นสิ่งสะเทือนความเชื่อมั่นในความถูกต้อง ลดทอนศรัทธาภาคธุรกิจทั้งในสายตาคนไทยและนานาประเทศ สังคมไทยไม่ควรยอมรับและปล่อยให้ผ่านเลย เพราะคือจุดเริ่มต้นและตอกย้ำ ความล้มเหลวของมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณ”แถลงการณ์ระบุ
และว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันขอความร่วมมือแสดงจุดยืนด้านบรรษัทภิบาล เอาผลประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง ผู้เกี่ยวเนื่องนับจากนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง บริษัทและองค์กรผู้ลงโฆษณา สามารถแสดงบทบาทความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ด้วยการไม่สนับสนุนหรือให้โอกาสแก่การทุจริตคดโกง อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นเพียงอีกหนึ่งข่าวที่เล่าสู่ แต่ต้องให้เป็นกรณีศึกษาถึงความเข้มแข็งของพลังสังคม ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง คนไทยจะไม่ยอมให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม ธุรกิจไทยจะไม่สนับสนุนคนโกง